ช่วงนี้ เราทุกคนต่างได้ยินคำว่า "ความเป็นไทย" กันบ่อย ๆ
แต่จะมีสักกี่คน ที่เข้าใจความหมายของคำ
ๆ นี้อย่างถ่องแท้
วีระ อำพันสุข ได้ให้ความหมายของ "ความเป็นไทย" ว่า
"ความเป็นไทย หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบ 4 อย่างที่แสดงถึงลักษณะ
เด่นของไทย
คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และวัฒนธรรม"
ปัจจุบันองค์ประกอบทางด้านชาติ และพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงดีอยู่
แต่ในขณะที่ด้านศาสนาและวัฒนธรรมกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตอย่างเห็นได้ชัด
ประเทศไทยเรามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
แต่ขณะเดียวกัน เราก็เปิดโอกาสให้มีการนับถือศาสนาอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่
ทุกศาสนาในไทยล้วน ได้รับการทำนุบำรุงโดยเท่าเทียมกัน
แต่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาดั้งเดิม
จึงมี ความผูกพันและฝังลึกในจิตใจคนไทยมากกว่า
แม้ว่าศาสนาพุทธจะมีรากฐานที่แข็งแรงมั่นคง มีการแผ่กิ่งก้านสาขามาเป็น
เวลายาวนาน
แต่ก็อาจผุพังได้อย่างง่ายดายภายใต้ภาวะสังคมไทยในปัจจุบัน
เพราะศาสนาพุทธนั้นกำลังขาดความสนใจและการทำนุบำรุงจากประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อาจไม่รู้ชัดว่าพวกเขากำลังนับถือศาสนาใด
กันแน่ นอกจากนี้ยังเกิดลัทธิความเชื่อใหม่ขึ้นมามากมายในปัจจุบันซึ่งหลายอย่าง
ก็เป็นความเชื่อที่งมงาย ไม่ต่างอะไรกับลัทธินับถือภูติผีปีศาจในช่วงสมัยก่อน
พุทธกาล
ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนาพุทธก็เกิดการบ่อนทำลายภายในขึ้น เราคงได้ เห็นจากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวถึงความเหลวแหลกของพระภิกษุ
หลายรูป ทำให้ประชาชนยิ่งหมดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาลงไปทุกวัน
จำนวนพระและวัดในปัจจุบันมีอยู่มากมาย แต่จะหาที่เคร่งครัดในธรรมนั้นหาได้ยาก
แรงผุกร่อนทั้งจากภายในและภายนอก ทำให้ศาสนาพุทธอ่อนแอลงไปมาก ส่งผลให้ คุณธรรมในใจคนเสื่อมถอยลงไปเป็นลูกโซ่
และก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมศีลธรรม ต่าง ๆ ตามมานานัปการ
วัฒนธรรมเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่กำลังเสื่อมถอยลงความหมายของ
วัฒนธรรมนั้นกว้างมาก
ครอบคลุมถึง ภาษา ดนตรี ศิลปะ ประเพณี ฯลฯ จนยากที่ จะกล่าวถึงได้หมด
แต่ก็ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยนั้นมีความหลากหลาย ซับซ้อน มีความงดงามในตัวเองและสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน
เราจะเห็นว่าในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา ได้เริ่มมีการรณรงค์ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยกันมากขึ้น
มีการจัด กิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ โดยในปี
2540 ก็ถูกกำหนดให้เป็น ปีสืบสานวัฒนธรรมไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยบางอย่างก็สูญหายไป ก่อนหน้านั้นแล้ว แม้ว่าจะได้มีขุดขึ้นมาบูรณะกันใหม่
ก็ยังมีปัญหาที่สำคัญตามมา
คือ การขาดผู้สืบทอดในวัฒนธรรม
ขณะเดียวกันก็ยังเกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นใน สังคมไทย มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตก
ทั้งเป็นตะวันตกแท้ กับตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานกับ ความเป็นไทยจนเกิดเป็นวัฒนธรรมลูกครึ่งขึ้นมา
วัฒนธรรมเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างสูงและเติบโตอย่างรวดเร็ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีการรณรงค์ส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยมากขึ้น
แต่การเผยแพร่สื่อ จากตะวันตกก็ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
เหมือนกับเทน้ำใส่โอ่งที่แตกรั่ว ย่อมไม่อาจสร้างประโยชน์ อันเป็นถาวรได้เลย
ถึงตรงนี้ พวกเราคงจะเข้าใจถึงความเป็นไทยมากขึ้น เราต่างมีความเป็นไทย
อยู่ในตนเอง แต่สภาพแวดล้อมค่อย
ๆ ป้อนสิ่งที่ไม่ใช่ความเป็นไทยเข้าไป ทีละเล็กละน้อย จนเราเองก็ไม่รู้สึกตัวว่ากำลังสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไป
แต่เรา สามารถแก้ไขได้ หากเราเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองใหม่ สร้างจิตสำนึก
ความเป็นไทยให้เกิดขึ้นทั้งต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง มิฉะนั้นแล้วความเป็นไทย
ก็จะเหลือเพียงคำ ๆ หนึ่งในอดีตเท่านั้น