ฮิโรชิมารำลึก
(4)
งานค้นคว้าและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ก็ดำเนินไปอย่างแข่งกับเวลาเพราะสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่
2 ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกที
การรบขยายวงไปถึงเอเชีย
ออสเตรเลีย
และแอฟริกา
ภาพการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในปี
ค.ศ. 1941 อันเป็นผลให้สหรัฐอเมริกากระโจนเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่
2
ในปี ค.ศ. 1940 สถานการณ์สงครามในยุโรปยิ่งแผ่ขยายวงออกไป
เยอรมันแผ่ขยายกำลังรบของตนเข้ายึดประเทศใกล้เคียง
อาทิ เบลเยี่ยม
เดนมาร์ก นอร์เวย์
และที่สำคัญคือเยอรมันสามารถยึดครองฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้นำของยุโรปร่วมกับอังกฤษได้
ฯลฯ รวมทั้งอิตาลีได้กระโจนเข้าร่วมสงครามด้วยโดยยืนหยัดอยู่ฝ่ายเยอรมนี
อีกทั้งประเทศญี่ปุ่นก็ได้ลงนามในสัญญาไมตรีกับเยอรมนีและอิตาลีอันเป็นการแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่าญี่ปุ่นขอเข้ามามีส่วนร่วมกับสงครามโลกในครั้งนี้โดยยืนหยัดอยู่ฝ่ายฮิตเลอร์หรือที่เรียกว่าฝ่ายอักษะ
(Axis Coalition)
ต่อมาในปี
ค.ศ. 1941 หลังจากที่ฝรั่งเศสปราชัยต่อเยอรมนีและเยอรมนีได้อิตาลีมาเป็นพวกก็ยิ่งทำให้ฮิตเลอร์เหิมเกริม
ถึงขนาดยกทัพบุกเข้าตีรัสเซีย
แม้รัสเซียเองได้ระวังตัวอยู่ก่อนแล้วบ้างโดยสตาลิน
ผู้นำรัสเซียในขณะนั้น
ได้ทำการยกกำลังทหารเข้ายึดครองโปแลนด์
(เดิมเยอรมนีบุกเข้ายึดครองโปแลนด์
แต่ต่อมารัสเซียกันท่าเอาไว้โดยยกกำลังทหารบุกเข้าโปแลนด์เช่นกันและขอแบ่งโปแลนด์มาครอบครองครึ่งหนึ่ง)
และฟินแลนด์ซึ่งเป็นชัยภูมิที่สำคัญเพราะเป็นประเทศหน้าด่านที่จะบุกเข้าสู่รัสเซียไว้ก่อนหน้านี้แล้วแต่รัสเซียก็ยังตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบจนได้
ทำให้สถานการณ์สงครามขยายวงออกไปอีก
เท่านั้นยังไม่พอ
ในปีเดียวกันนั้นเอง
สถานการณ์ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก
คือในเขตเอเชียเริ่มตึงเครียด
เพราะญี่ปุ่นก็หาเหตุรุกรานเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน
จนประธานาธิบดีรูสเวลต์ต้องออกกฎหมายห้ามส่งออกสินค้าที่เป็นยุทธปัจจัยพื้นฐานให้เพื่อยับยั้งการก่อสงครามของญี่ปุ่น
และต่อมาก็ได้อายัดทรัพย์สินของชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
ขณะที่ทูตญี่ปุ่นกำลังดำเนินการเจรจาทางการทูตเพื่อแก้ไขปัญหากับสหรัฐอเมริกาอยู่นั้นเอง
ในยามเช้าของวันที่
7 ธันวาคม ค.ศ.
1941 กองทัพของญี่ปุ่นก็ได้บุกเข้าโจมตีฐานทัพของสหรัฐฯที่เกาะเพิร์ลฮาร์เบอร์
(Pearl Harbor) อันเป็นเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งในหมู่เกาะฮาวายอันเป็นฐานทัพใหญ่ของสหรัฐฯที่คุมกำลังด้านภาคพื้นแปซิฟิกอยู่โดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว
ขณะเดียวกันก็ยกกำลังอีกสายหนึ่งบุกประเทศในเอเชียอาคเนย์อันรวมทั้งประเทศไทยด้วย
ซึ่งก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์เพียงวันเดียว
รัฐบาลสหรัฐฯเพิ่งอนุมัติเงินก้อนใหญ่เพื่ออุดหนุนการวิจัยเรื่องพลังงานนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก
การการที่ญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการผลักให้ทั้ง
2 ชาติกระโจนเข้าสู่วังวนของสงครามโลกครั้งที่
2 อย่างเต็มตัว
|
ประธานาธิบดีรูสเวลต์ลงนาม
ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น
|
เมื่อได้ทุนอุดหนุนอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน
งานวิจัยของเฟอร์มีก็รุดหน้าได้เร็วขึ้น
และในกลางปี
ค.ศ. 1942 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติโครงการวิจัยและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ
โดยใช้ชื่อโครงการว่า
โครงการแมนแฮตตัน
(Manhatton Project) อันเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
ซึ่งต่อมาในปลายปีเดียวกัน
อังกฤษก็ได้ถอนตัวออกไปจากโครงการ
คงหลือแต่สหรัฐฯดำนินการพียงลำพัง
เมื่อทีมงานของเฟอร์มีมีมากขึ้น
สถานที่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียก็เริ่มคับแคบ
จึงได้ย้ายไปที่มหาวิทยาลัยชิคาโกเมื่อปลายปี
ค.ศ. 1942 ซึ่งขณะนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมงานกับเฟอร์มีราว
40 คน
และแล้ว ในวันที่
9 ธันวาคม ค.ศ.
1942 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่สร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
โดยตัวปฏิกรณ์นั้นประกอบด้วยยูเรเนียมและกราไฟต์วางกองสลับกันเป็นกองขนาดมหึมา
ใช้ยูเรเนียมถึง
7 ตัน และใช้แท่งแคดเมียมเป็นตัวหยุดปฏิกิริยาในกรณีที่ปฏิกิริยาลูกโซ่เกิดขึ้นมากเกินไปจนอาจเป็นอันตราย
ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มหาวิทยาลัย
ชิคาโกซึ่งให้กำเนิดปฏิกิริยาลูกโซ่
ได้เป็นครั้งแรกของโลก
|
|
เมื่อสามารถสร้างและควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ได้แล้ว
ขั้นต่อไปก็คือการนำเอาความรู้เหล่านี้มาพัฒนาให้เป็นอาวุธ
รัฐบาลสหรัฐฯได้หาสถานที่สำหรับโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์โดยอยู่ที่ลอสอลาโมส
(Los Alamos) ในรัฐนิวเม็กซิโก
ใกล้เมืองซานตาเฟ
เหตุที่เลือกสถานที่นั้นเพราะแถบนั้นเป็นตอนใต้ของสหรัฐฯซึ่งในฤดูหนาวอากาศจะไม่หนาวมาก
ยังสามารถทำงานได้
รวมทั้งเป็นสถานที่ห่างไกลจากทะเลอันยากต่อการถูกต่างชาติบุกเข้าโจมตี
และห่างไกลจากผู้คน
ทำให้สามารถรักษาความลับของโครงการได้ดี
โครงการที่ลอสอลาโมสนี้มีชื่อว่า
โครงการวาย
(Project Y) โดยมี เจ. รอเบิร์ต
ออปเพนไฮเมอร์
(J. Robert Oppenheimer) เป็นผู้อำนวยการ
และเฟอร์มีเป็นที่ปรึกษาคนหนึ่ง
กล่าวได้ว่าโครงการแมนแฮตตันนั้นเป็นโครงการทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในยุคนั้น
เพราะเป็นการร่วมมือกันทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์
ฝ่ายการเมือง
และฝ่ายการทหาร
โดยทางฝ่ายวิทยาศาสตร์นั้นได้รวบรวมเอานักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นหัวกะทิเอาไว้เป็นจำนวนมาก
|
แผนที่แสดงบริเวณต่างๆใน
โครงการวาย
ที่ลอสอลาโมส
สถานที่นี้ถูกเก็บเป็นความลับสุด
ยอด ห้ามการถ่ายภาพใดๆ
นักวิทยาศาสตร์ต้องทำงานและ
พักที่นี่เป็นเวลานานนับเดือนใน
ระหว่างการวิจัยเพื่อคิดค้นอาวุธ
นิวเคลียร์
ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน
ความลับรั่วไหล
|
การจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาได้จำเป็นต้องใช้แร่ยูเรเนียม
โดยเฉพาะยูเรเนียม-235
ในขณะที่ด้านลอสอลาโมสทำการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
รัฐบาลสหรัฐฯก็ได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตยูเรเนียม-235
ที่บริสุทธิ์ขึ้นที่เมืองโอกริดจ์
(Oak Ridge) รัฐเทนเนสซี
โดยแยกออกมาจากยูเรเนียม-238
นั่นเอง ซึ่งการผลิตยูเรเนียม-235
นั้นต้องลงทุนมหาศาล
โดยใช้เงินลงทุนถึง
550 ล้านดอลลาร์
และท่อนำก๊าซซึ่งสร้างขดไปมาอันเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการแยกยูเรเนียม-235
นั้นมีความยาวถึง
300,000 ไมล์หรือ 480,000
กิโลเมตร ซึ่งยาวกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์เสียอีก
ตึกรามส่วนหนึ่งของสถานที่ตั้งโรงงานผลิตยูเรเนียมที่โอกริดจ์
|
เจ. รอเบิร์ต
ออปเพนไฮเมอร์
ผู้อำนวยการโครงการวายที่ลอสอลาโมส
|
ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก
หลังจากดำเนินการก่อสร้างและขนย้ายอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆเข้ามาในลอสอลาโมสแล้ว
ในปี ค.ศ. 1943 งานค้นคว้าและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ก็ดำเนินไปอย่างแข่งกับเวลาเพราะสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่
2 ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกที
การรบขยายวงไปถึงเอเชีย
ออสเตรเลีย
และแอฟริกา
รัสเซียซึ่งประสบความเสียหายอย่างหนักจากการรุกรานของเยอรมนีเริ่มตีโต้
ในขณะเดียวกันกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรอันมีอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเป็นแกนหลักก็ทุ่มกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมากรุกคืบเข้าสู่เยอรมนี
ภาพถ่ายหมู่ของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในลอสอลาโมสในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 ผู้ที่อยู่แถวกลางขวาสุดคือลีโอ
ซิลลาร์ด ผู้ขอให้ไอน์สไตน์เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลต์
ส่วนผู้ที่อยู่แถวหน้าคนซ้ายสุดคือเอนริโก
เฟอร์มี
(โปรดอ่านต่อในตอนที่
5)