จังหวัดร้อยเอ็ด
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ระหว่างเส้นรุ่งที่ 15
องศา 24 ลิปดา ถึง 16 องศา 19
ลิปดา และเส้นแวงที่ 103
องศา 17 ลิปดา ถึง 104 องศา 22
ลิปดา
อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร
โดยทางรถยนต์ประมาณ 512
กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น
8,299.46 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ 5,187,156 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 4.9
ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จัดอยู่อันดับที่ 10
ของภาค และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ
อำเภอกมลาไสย์
อำเภอกุฉินารายณ์
อำเภอร่องคำ
จังหวัดกาฬสินธุ์
และอำเภอคำชะอี
จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดกับ
อำเภอเลิงนกทา
อำเภอกุดชุม อำเภอเมือง
และอำเภอมหาชนะชัย
จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดกับ
อำเภอชุมพลบุรี
อำเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์
และอำเภอราษีไศล
จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดกับ
อำเภอวาปีปทุม
อำเภอพยัคภูมิพิสัย
อำเภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติความเป็นมา
เมืองร้อยเอ็ด
เคยเป็นแหล่งอารยธรรมยุคประวัติศาสตร์ตามหลักฐานทางโบราณคดี
ตำนานอุรังคธาตุได้เล่าว่า
มีนครใหญ่แห่งหนึ่งชื่ออาณาจักรกุลุนฑะนคร
มีเมืองหลวงชื่อ สาเกตุ
มีเจ้าผู้ครองนครชื่อพระเจ้ากุลุนฑะ
เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น
มีเมืองขึ้น 11 เมือง
เมืองนี้มี
กุศโลบายทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากเมืองอื่น
ๆ คือ
ขุดคูน้ำคันดินเป็นกำแพงสูงรอบเมือง
ตลอดแนวตัดถนน
เจาะช่องทางเข้าเมืองเท่ากับจำนวนเมืองขึ้น
11 เมือง เป็น 11 ประตู (เดิมเขียน
10, 1 หรือ สิบหนึ่ง)
สมัยผาแดง
เกิดศึกชิงนางไอ่
จนถึงพระขอมธรรมาธิราชทำลายอาณาจักรกุลุนฑะลงได้
สาเกตุนคร จึงกลายเป็นเมืองร้าง
มีต้นกุ่มขึ้นทั่วไปในเมือง
และตามคูเมืองจนได้ชื่อเรียกว่า
เมืองกุ่มฮ้าง
ปี 2256
พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธารกูร
กษัตริย์ครองเมืองจำปาศักดิ์
ได้ให้ จารย์แก้ว
คุมไพร่พลมาครอบครองอยู่
เมืองทุ่ง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ)
และได้เป็นเจ้าเมืองต่อมาจนถึงสมัย
ท้าวธน
จึงย้ายเมืองไปตั้งที่
เมืองคงท้าวสาร
ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเมือง
สุวรรณภูมิ
สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ
ยก บ้านกุ่ม
ขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ดและโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ท้าวธน เป็น
พระยาขัติยะวงษา
เป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก
ต่อมาได้มีเมืองขึ้นหลายเมือง
เช่น เมืองเกษตรวิสัย
เมืองพนมไพรมฤค
เมืองธวัชบุรี
เมืองจตุรพักตรพิมาน
ปี 2433
มีการจัดการปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็น
4 บริเวณ
ร้อยเอ็ดเป็นบริเวณหนึ่งที่ขึ้นต่อเมืองอุบลและนครจำปาศักดิ์
ปี 2434
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้แบ่งเป็น 2 มณฑล คือ
มณฑลลาวพวน กับ
มณฑลลาวกาว ร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑล
ลาวกาว
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ
และมณฑลอีสาน ตามลำดับ
ปี 2455 มณฑลอีสาน แยกเป็น 2
มณฑล ได้แก่ มณฑลอุบล
และมณฑลร้อยเอ็ด
ปี 2475
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ยุบมณฑลต่าง ๆ
มณฑลร้อยเอ็ดจึงถูกเปลี่ยนเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
130-160 เมตร ซึ่งสภาพพื้นที่
และลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดร้อยเอ็ด
สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- บริเวณภูเขาตอนเหนือของจังหวัด
สภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขาเตี้ย
ๆ
อยู่ในพื้นที่อำเภอหนองพอก
โพธิ์ชัย โพนทอง และอำเภอเมยวดี
- บริเวณที่ราบสูง
สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลูกคลื่น
ลอนตื้น
อยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด
ในเขตท้องที่
อำเภอเสลภูมิ อาจสามารถ
เมืองสรวง
จตุรพักตรพิมาน
ธวัชบุรี
และอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
- บริเวณที่ราบลุ่ม
เป็นพื้นที่ราบริมฝั่งน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด
ครอบคลุมพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดในท้องที่
อำเภอปทุมรัตต์
เกษตรวิสัย
สุวรรณภูมิ พนมไพร
และอำเภอโพนทราย
ซึ่งเป็นที่ราบต่ำรูปแอ่งกะทะ
ที่เรียกว่า ทุ่งกุลาร้องไห้
ภูมิอากาศ
โดยทั่วไป
จังหวัดร้อยเอ็ดมีอากาศร้อนจัด
และแห้งแล้งในฤดูร้อน
และอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3
ฤดู ดังนี้ คือ
- ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ในปี 2543
จังหวัดร้อยเอ็ดมีฝนตกประมาณ
116 วัน
ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ 1,682.8
ลูกบาศก์มิลลิเมตร
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 38.7
องศาเซลเซียส
ในเดือนเมษายน
และอุณหภูมิต่ำสุด 11.3
องศาเซลเซียส ในเดือนกุมภาพันธ์
การปกครองและประชากร
การปกครอง
ในปี พ.ศ. 2543
จังหวัดร้อยเอ็ด
แบ่งเขตการปกครอง 17
อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 193 ตำบล 2,349
หมู่บ้าน โดยมีอำเภอ
ดังนี้ เมืองร้อยเอ็ด
เกษตรวิสัย
จตุรพักตรพิมาน
ธวัชบุรี ปทุมรัตต์
พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง
โพนทราย เมยวดี
เมืองสรวง สุวรรณภูมิ
เสลภูมิ หนองพอก
อาจสามารถ ศรีสมเด็จ จังหาร
กิ่งอำเภอ เชียงขวัญ
กิ่งอำเภอหนองฮี
และกิ่งอำเภอ
ทุ่งเขาหลวง
การปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาลเมือง 1 แห่ง
เทศบาลตำบล 16 แห่ง
และองค์การบริหารส่วนตำบล
186 แห่ง และสภาตำบล 6 แห่ง
ประชากร
จากสถิติกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย
เมื่อสิ้นปี 2543
จังหวัดร้อยเอ็ดมีประชากร
1,317,787 คน เป็นชาย 659,005 คน
และเป็นหญิง 658,782 คน
ประชากรอาศัยที่อยู่ในเขตเทศบาล
มีจำนวน 35,978 คน
ความหนาแน่นของประชากร
โดยเฉลี่ย 159
คนต่อพื้นที่ 1
ตารางกิโลเมตร
ประชากรและแรงงาน
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
พ.ศ. 2543
ซึ่งทำการสำรวจปีละ 4
รอบ (เดือนกุมภาพันธ์
พฤษภาคม สิงหาคม
และพฤศจิกายน)
ผลการสำรวจรอบที่ 4 พ.ศ. 2543
มีประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งสิ้น
602,356 คน หรือร้อยละ 48.1
กำลังแรงงานที่รอดูกาล
982 คน หรือร้อยละ 0.1
ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ
13 ปีขึ้นไป 351,151 คน
หรือร้อยละ 28.0
และผู้ที่อายุต่ำกว่า 13
ปี มีจำนวน 298,896 คน
หรือร้อยละ 23.8
ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ
ทรัพยากรธรรมชาติ
จังหวัดร้อยเอ็ด
มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่
ประมาณ 119,219 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 2.3 ของพื้นที่ทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของป่าไม้ลดลงอยู่ทุกปี
ทำให้ไม่เพียงพอต่อการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร
การพังทลายของดินและสภาพอากาศ
จึงเป็นผลทำให้เกิดความแห้งแล้งอยู่เสมอ
แหล่งน้ำ
ที่สำคัญตามธรรมชาติได้แก่แม่น้ำชี
แม่น้ำมูล แม่น้ำยัง
ลำน้ำเสียว
ลำน้ำพลับพลา ลำน้ำเตา
นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำชลประทานที่ได้สร้างขึ้น
เช่น
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11
แห่ง ขนาดเล็ก 225 แห่ง และฝายคอนกรีต
63 แห่ง สระ หนอง บึง
อีกจำนวน 239 แห่ง
ที่สร้างเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี
สภาพทางเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์จังหวัด
ในปี 2541 จังหวัดร้อยเอ็ด
มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด
(GPP) 28,841.2 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว
(Per Capita GPP) 23,544 บาท
เป็นอันดับที่ 9
ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และเป็นอันดับที่ 66
ของประเทศไทย
สาขาการผลิตที่สำคัญได้แก่เกษตรกรรม
มีมูลค่า 7,952.6 ล้านบาท
รองลงมาคือ
การค้าส่งและการค้าปลีก
6,235 ล้านบาท
และสาขาการบริการ 5,122
ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ
3.02
อาชีพเกษตร
เป็นอาชีพที่สำคัญของจังหวัด
โดยมีข้าวเป็นพืชเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัดโดยเฉพาะบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้
ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งปลูกข้างหอมมะลีที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ
จนได้รับสมญานามว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ดินแดนแห่งข้าวหอมมะลิ
พืชที่สำคัญรองลงมาคือ
มันสำปะหลัง ปอแก้ว
อ้อยโรงงาน ถั่งลิสง
และอาชีพที่มีความสำคัญรองลงมาคือ
การเลี้ยงไหม ผ้าไหมของจังหวัดร้อยเอ็ดถือว่าเป็นผ้าไหมที่มีคุณภาพและขึ้นชื่อของประเทศไทย
การคมนาคม
การขนส่ง และการสื่อสาร
การคมนาคมและการขนส่ง
จังหวัดร้อยเอ็ด
มีทางหลวงแผ่นดิน
และทางหลวงจังหวัดที่สามารถใช้เดินทางติดต่อภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้โดยสะดวก
ถนนสายหลัดที่สำคัญ
เช่น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
23,214,215 และหมายเลข 202
ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดมหาสารคาม
ยโสธร กาฬสินธุ์
บุรีรัมย์ สุรินทร์
และจังหวัดมุกดาหาร
นอกจากนี้ยังมีสนามบินพาณิชย์ภายในประเทศชั้น
2 หนึ่งแห่ง
ซึ่งสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ตั้งแต่เดือน มกราคม 2542
ได้เปิดสายการบินระหว่างร้อยเอ็ด-กรุงเทพมหานคร
และร้อยเอ็ด-เชียงใหม่
การสื่อสาร
ในปีงบประมาณ 2543
จังหวัดร้อยเอ็ด
มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
16 แห่ง มีชุมสายโทรศัพท์
20 ชุมสาย มีจำนวน 21,505
เลขหมาย
และเลขหมายที่มีผู้เช่าทั้งสิ้น
15,782 เลขหมาย
จังหวัดร้อยเอ็ด
มีสถานีวิทยุกระจายเสียง
จำนวน 6 สถานี ได้แก่
สถานีวิทยุกระจายเสียง
จส.3 สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพภาคที่
2
สถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจภูธร
ภาค 4
สถานีวิทยุกระจายเสียง
อสมท.
สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมประมง
และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
การสาธารณูปโภค
การประปา
ในปีงบประมาณ 2543
จังหวัดร้อยเอ็ด
ผลิตน้ำได้ทั้งสิ้น 6,292,539
ลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำที่จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้
4,496,400 ลูกบาศก์เมตร
มีผู้ใช้น้ำประปาทั้งสิ้น
19,273 ราย
การไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งสิ้น
302,674,099 ยูนิต
มีผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น
256,988 ราย
การศึกษา
การศึกษาในปี
2543 นี้ จังหวัดร้อยเอ็ด
มีโรงเรียนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษารวม
905 โรงเรียน มีห้องเรียน 10,504
ห้อง มีครู 13,124 คน
และนักเรียน 253,286 คน
คิดเป็นอัตราส่วน
นักเรียน 19 คน ต่อครู 1 คน
และนักเรียน 24 คน ต่อ 1
ห้องเรียน มีสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาขึ้นไป
14 แห่ง มีอาจารย์ 912 คน
และนักศึกษาจำนวน 15,837 คน
การสาธารณสุข
การสาธารณสุข
ในปี 2543 จังหวัดร้อยเอ็ด
มีโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
18 แห่ง จำนวน 1,473 เตียง
โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม
1 แห่ง จำนวน 60 เตียง
และมีโรงพยาบาลเอกชน 3
แห่ง จำนวน 300 เตียง
นอกจากนี้ยังมีสถานีอนามัย
230 แห่ง คลีนิคเอกชน 227
แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถาน
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดร้อยเอ็ด
ได้กระจายอยู่ตามอำเภอต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
บึงพลาญชัย
เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
มีลักษณะเป็นเกาะขนาดใหญ่
มีคลองน้ำใสล้อมรอบ
มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่
บริเวณเกาะได้ตกแต่งไว้อย่างสวยงามในน้ำบริเวณเกาะมีปลานานาชนิดอยู่จำนวนมาก
ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
และจัดงานประเพณี
มีสิ่งก่อสร้างจำลองภูพลาญชัย
น้ำตกจำลอง
สระบริสุทธิ์ สวนสุขภาพ
และสนามเด็กเล่น
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่
ลักษณะเป็นสวนเมือง
มีพันธ์ไม้นานาชนิด
เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน
พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี
เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่
ปางประทานพร
ที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สูง 101 ศอก (67.85 เมตร)
อยู่ที่วัดบูรพาภิราม
เขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ประชาชนทั่วไปเรียกว่า
พระเจ้าใหญ่วัดบูรพา
กู่กาโดน
สร้างในสมัยเดียวกับปราสาทหินพิมาย
เพราะลักษณะเป็นปรางค์กู่
สร้างด้วยศิลาแลง
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ด้านในกว้างและสูง
มีประตูเข้าด้านเดียว
ตั้งอยู่วัดธาตุ
อำเภอเกษตรวิสัย
กู่กาสิงห์
ตั้งอยู่ตำบลเมืองบัว
เป็นปรางค์สร้างด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
มีประตูเข้าออกทั้ง 4
ด้าน ทางทิศตะวันออก
สร้างเป็นขั้นบันไดด้วยศิลาแลง
อยู่ห่างจากอำเภอเกษตรวิสัย
ประมาณ 11 กิโลเมตร
กู่พระโกนา
ตั้งอยู่ตำบลสระคู
เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นสมัยขอมเรืองอำนาจ
เป็นศิลปะสวยงามมาก
สร้างขึ้นด้วยศิลาแลง
อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอสุวรรณภูมิ
ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 4
กิโลเมตร ริมถนนร้อยเอ็ด
สุรินทร์
นอกจากนั้นบริเวณป่ารอบกู่มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
บ่อพันขัน
เป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ
อยู่ในตำบลบ่อพันขัน
ทางทิศตะวันออก
ของอำเภอสุวรรณภูมิมีน้ำไหลซึมขังอยู่ตลอดเวลา
น้ำในบ่อจะจืดสนิท
อยู่ห่างจากอำเภอสุวรรณภูมิ
ประมาณ 15 กิโลเมตร
บึงเกลือ
เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่
มีเนื้อที่ 7,500 ไร่
ตั้งอยู่ในอำเภอเสลภูมิ
มีน้ำขังตลอดปี
ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาด
กว้างขวาง
สวยงามดุจหาดทรายริมทะเล
ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนโดยทั่วไป
วนอุทยานผาน้ำย้อย
ตั้งอยู่ที่ตำบลผาน้ำย้อย
อำเภอหนองพอก
เป็นหน้าผาหินขนาดใหญ่อยู่บนภูเขาเขียว
มีน้ำไหลซึมตลอดปี
พื้นที่ส่วนมากเป็นภูเขาหินปูน
มีลักษณะสูงชันสลับซับซ้อนสวยงามตามธรรมชาติ
มีพืชพันธุ์ขึ้นหนาแน่น
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีไทย
เป็นโครงการสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั้งอยู่บนภูเขาเขียวบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าดงมะอึ
ตำบลผาน้ำย้อย
ระยะทางห่างจากจังหวัด
ประมาณ 85 กิโลเมตร
จัดสร้างเป็นสวนพุทธประวัติ
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีไทย
สวนสมุนไพร
สวนมหาเวสสันดรชาดก
สวนป่าเปิดเขาเขียวและปลูกไม้มีค่า
มีสภาพภูมิประเทศสวยงามมาก
พระมหาเจดีย์ชัยบาดาล
เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
กว้าง 101 x101 เมตร สูง 101 เมตร
สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่
เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งตัวองค์พระธาตุได้ตกแต่งลวดลายงดงามวิจิตร
ด้วยศิลปยุคใหม่และยุคเก่าผสมเป็นศิลปร่วมสมัยที่หาดูได้ยาก
องค์พระธาตุแบ่งเป็น 5
ชั้น ตั้งอยู่ที่วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม
(ผาน้ำย้อย)
อำเภอหนองพอก
ทุ่งกุลาร้องไห้
ในอดีตเป็นดินแดนแห่งความแห้งแล้ง
ผืนดินแตกระแหง
แต่เมื่อมีโครงการอีสานเขียวเข้ามาพัฒนา
ปัจจุบันทุ่งกุลาร้องไห้จึงเปลี่ยนไป
กลายเป็นผืนดินที่มีความอบอุ่น
ชุ่มชื้นเข้ามาแทนที่นอกจากนี้ทุ่งกุลาร้องไห้ยังกลายเป็น
แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีและอร่อยที่สุดของประเทศไทย
ประเพณีและวัฒนธรรม
- งานบุญผะเหวดร้อยเอ็ด
คำว่า ผะเหวด
เป็นการออกเสียงตามสำเนียงอีสาน
มาจากคำว่าพระเวส
ในภาคกลางซึ่งหมายถึง
พระเวสสันดร
งานบุญผะเหวดเป็นประเพณี
1 ในประเพณี 12 เดือน
หรือ ฮีต 12
ของชาวอีสาน
โดยเป็นประเพณีที่ทำกันในเดือน
4 หรือเดือนมีนาคม
สาระสำคัญของการจัดงานบุญผะเหวดอยู่ที่การฟังเทศน์
เรื่องเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ
ซึ่งมีจำนวน 13 กัณฑ์
ให้จบภายในวันเดียวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระเวสสันดร
พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพียรอันยิ่งใหญ่ด้วยวิธีบริจาคทาน
หรือทานบารมี
เพื่อเป็นการบำเพ็ญบารมีชาติสุดท้าย
หรือมหาชาติของพระองค์
ก่อนที่จะมาเสวยชาติ
และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ความนิยมในการฟังเทศน์มหาชาติในประเทศไทยมีมาแล้วแต่โบราณ
ด้วยปรากฏหลักฐานการแต่งวรรณกรรม
เรื่องมหาชาติคำหลวงขึ้นในสมัยอยุธยา
สำหรับในภาคอีสานประเพณีดังกล่าวจะเริ่มขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ
แต่คงเป็นเวลานานมาก
ด้วยเป็นประเพณีถือสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
วันแรกจัดให้มีการประกวดแห่กัณฑ์ต่าง
ๆ ซึ่งมีทั้งหมด 13
กัณฑ์
การประกวดตัวละครในเรื่องพระเวสสันดรชาดก
การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
และการแสดงแสง สี-เสียง
วันที่ 2
จัดให้มีการแห่กัณฑ์จอบ
กัณฑ์หลอน
การเทศน์มหาชาติ
และมีการจัดเลี้ยง
ข้าวปุ้น(ขนมจีน)
แก่ผู้มาเที่ยวชมงานฟรีตลอดงาน
กินข้าวปุ้น
บุญผะเหวด
ฟังเทศน์มหาชาติ
- งานบุญข้าวจี่
เป็นงานประเพณีประจำปีของอำเภอโพธิ์ชัย
จัดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ในงานมีขบวนแห่ที่สวยงาม
มีการประกวดข้าวจี่
และประกวดนางปุณทาสี
- งานบุญคูณลาน
เป็นงานประเพณีประจำของอำเภอปทุมรัตต์
จัดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ในงานมีการสู่ขวัญข้าว
การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
การแสดงนิทรรศการ
การออกร้านของส่วนราชการ
หน่วยงานต่าง ๆ
- งานบุญบั้งไฟ
เป็นงานประเพณีที่สำคัญของภาคอีสาน
ร้อยเอ็ดก็เป็นอีกจังหวัดที่มีการจัดประเพณีนี้ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน
ไปจนถึงระดับอำเภอ
เช่น
งานประเพณีประจำอำเภอพนมไพร
หนองพอก อำเภอสุวรรณภูมิ
กำหนดจัดงานระหว่าง
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 7
ศิลปะพื้นบ้าน
- วงกลองยาว
เป็นวงมโหรีพื้นบ้านที่ใช้เป็นขบวนนำในการแห่ขบวนต่าง
ๆ มีประมาณ 50 คณะ ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอศรีสมเด็จ
- การทอผ้าไหมมัดหมี่
มีการทออยู่ทั่วไป
ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี
ได้แก่
อำเภอปทุมรัตต์
เกษตรวิสัย ธวัชบุรี
อำเภอโพธิ์ชัย
และกิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง
เป็นต้น
- การทำแคน
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของอีสาน
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า
ทำกันอย่างแพร่หลายที่บ้านสีแก้ว
ตำบลสีแก้ว
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
- การทำฟืม
ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการทอผ้าที่สำคัญชนิดหนึ่ง
มีการทำกันที่บ้านเขือง
ตำบลหมูม้น
กิ่งอำเภอเชียงขวัญ
- การทอเสื่อกก,ผือ
ซึ่งมีการทออยู่ทั่วไปสำหรับไว้ใช้ในครัวเรือน
อำเภอที่มีการทำอย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จัก
ได้แก่
อำเภอเกษตรวิสัย
อำเภอจังหาร เป็นต้น
- การปั้นหม้อ,เตาอั้งโล่
เป็นภาชนะดินเผา
ซึ่งมีความสำคัญยิ่งของคนอีสาน
มีการทำกันมากที่บ้านเทอดไทย
อำเภอธวัชบุรี
เอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ดมีสิ่งที่ดีหรืองดงาม
และมีลักษณะพิเศษ
โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในหลายด้าน
ประกอบเป็นคำขวัญของจังหวัดร้อยเอ็ด
คือ
ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน
พลาญชัยบึงงาม
เรืองนามพระสูงใหญ่
ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา
ทุ่งกุลาสดใส
งานใหญ่บุญผะเหวด
คำขวัญของจังหวัดร้อยเอ็ดดังกล่าว
ประมวลได้จากสิ่งที่มีอยู่
ทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมทั้งที่เป็นสัญลักษณ์
และที่เป็นรูปธรรม
ดังนี้
- 1.
เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ
1.1
บึงพลาญชัย เป็นสัญลักษณ์และใช้เป็นตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง
ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงมาโดยตลอด
ปัจจุบันเป็นสวนสุขภาพ
และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
มีภูมิทัศน์สวยงาม
รื่นรมย์ และเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาหลายชนิด
กล่าวกันว่าหากใครได้มาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว
มิได้มาเที่ยวชมความงามของบึงพลาญชัยเปรียบเสมือนมาไม่ถึงจังหวัดร้อยเอ็ด
ทุกคนที่มาชมแล้ว
หรือแม้แต่ชาวร้อยเอ็ดเองจะกล่าวขานถึงบึงพลาญชัยว่าสวยงามเป็นที่หนึ่ง
จึงได้นาม พลาญชัยบึงงาม
1.2
ทุ่งกุลาร้องไห้
เป็นที่ราบขนาดใหญ่
มีพื้นที่ประมาณ 2,000,000
ไร่
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่
5 จังหวัดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดบุรีรัมย์
และจังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ
700,000 ไร่ อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
บริเวณอำเภอโพนทราย
อำเภอสุวรรณภูมิ
อำเภอเกษตรวิสัย
และอำเภอปทุมรัตต์
สาเหตุที่ทุ่งแห่งนี้ได้ชื่อว่า
ทุ่งกุลาร้องไห้
มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่า
ชนเผ่ากุลา
ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ
ประเทศพม่า
มีอาชีพเดินทางค้าขายสินค้าระหว่างเมือง
นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า
เครื่องทองเหลืองต่าง
ๆ เดินทางค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้
ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน
ไม่พบหมู่บ้าน
ไม่มีน้ำดื่ม
ไม่มีต้นไม้เป็นร่มเงา
มีแต่หญ้าสูงขึ้นเต็มไปหมด
ส่วนพื้นดินก็เป็นทราย
ยากลำบากต่อการเดินทาง
เสมือนอยู่กลางทะเลทราย
ทำให้ชนเผ่ากุลาถึงกับร้องไห้
จึงให้ชื่อทุ่งแห่งนี้ว่า
ทุ่งกุลาร้องไห้
ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้งพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งมากเป็นดินทราย
ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี
ใต้พื้นดินลงไปก็จะเป็นน้ำเค็ม
ไม่สามารถทำการเกษตรใด
ๆ ได้
หลังจากที่รัฐบาลออสเตรียได้สนับสนุนให้ทุนแก่รัฐบาลไทย
ผ่านกรมพัฒนาที่ดินพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการสำรวจและพัฒนาที่ดินในปี
พ.ศ. 2524 2527 (จบโครงการ)
โดยจัดสร้าง ถนน
คลองส่งน้ำและอ่างเก็บน้ำ
สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้ทำการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรได้ทำกินอย่างทั่วถึง
สามารถพลิกฟื้นทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ
เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของดินทุ่งกุลาร้องไห้แห่งนี้
ทำให้ข้าวหอมมะลิที่ผลิตได้มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ
ทุ่งกุลาร้องไห้จึงกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียง
เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ดดังคำขวัญที่ว่า
ทุ่งกุลาสดใส
ต้นไม้สำคัญของท้องถิ่น
ไม้ดอกประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
อินทนิลบก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lagerstroemia macro carpa Wall
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง
ความสูงประมาณ 8
- 20 เมตร กิ่งมีขนาดใหญ่และปลายกิ่งมักจะขึ้นข้างบน
ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาลอ่อนค่อนข้างเรียบหรืออาจจะมีสะเก็ดของเปลือกเป็นแผ่นบาง
ๆ ติดอยู่บ้างเล็กน้อย
บริเวณลำต้นมีปุ่มปม
ใบเดี่ยวขนาดใหญ่และหนาปลายใบทู่
หลังใบเขียวเข้มและเป็นมัน
ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่
เมื่อดอกบานกลีบดอกแยกออกจากกัน
ดอกมีหลายสีในแต่ละช่อดอกปกติมีสีม่วงสด
พอกลีบดอกใกล้จะร่วงสีจางซีดลงเป็นสีม่วงอ่อน
ๆ
จนเกือบจะเป็นสีขาวผลัดใบในเดือนกุมภาพันธ์
จากนั้นใบอ่อนจึงเริ่มผลิพร้อมทั้งช่อดอก
ดอกเริ่มทยอยบานติดต่อกันทั่วไปตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
เพิ่มความสวยงามให้กับจังหวัดร้อยเอ็ด
ไม้เกี่ยวกับประวัติเมืองร้อยเอ็ด
กุ่มน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rataeva voxburghii R.Br.
ลักษณะทั่วไป
ขึ้นอยู่ตามริมแม่น้ำ
ลำห้วย คลอง หนอง บึง
ทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ
สูงไม่เกิน 15 เมตร
เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน
เปลือกค่อนข้างเรียบ
สีเทา อมขาว
ใบเป็นช่อแยกออกเป็น 3
แฉกเล็ก ๆ คล้ายใบปาล์ม
ปลายแฉกแหลมสีเขียวหนาทึบ
ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบ
จะออกดอกพร้อมกับผลิใบใหม่
ผลกลมรี หรือรูปไข่กลับ
สีเทาอมขาว ผิวแข็ง
ภายในมีเมล็ดกลม ๆ เล็ก
ๆ
จำนวนมากลำต้นใช้ทำลูกชะเนาะขันหวาย
ดอกและใบอ่อนใช้ดองรับประทาน
ไม้มงคลประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
กระบก
พันธุ์ไม้พระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ
50 ปี
เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่
ผลัดใบ ลำต้นเปราะ
ตรงโคนมักเป็นพูพอน
เปลือกสีเทา
ใบหนาเกลี้ยง โคนใบมน
สอบเรียวไปทางปลายใบ
ดอกสีขาวปนเขียวอ่อน
มีขนนุ่ม ๆ ประปราย
ผลกลมรี
ผลแก่ออกสีเหลือง
เมล็ดแข็ง เนื้อในสีขาว
มีรสมัน เนื้อแข็งมาก
ใช้ทำครก สากกระเดื่อง
ฯลฯ และนิยมใช้ทำถ่าน
เนื้อในเมล็ดรับประทานเป็นอาหารได้
- เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
- งานบุญผะเหวด
ไปกินข้าวปุ้น
เอาบุญผะเหวด
ฟังเทศน์มหาชาติ
เป็นคำที่กล่าวติดปากของชาวร้อยเอ็ด
งานบุญผะเหวดเป็นงานบุญใหญ่ประจำจังหวัด
จัดขึ้นที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
ร้อยเอ็ด
ตรงกับวันศุกร์
วันเสาร์
และวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม
ของทุกปี
ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่
พ.ศ. 2534
ในงานประกอบด้วยขบวนแห่
13 กัณฑ์
มีการตกแต่งขบวนแห่ตามเนื้อเรื่องของพระเวสสันดรชาดกอย่างสวยงาม
และที่ประทับใจสำหรับผู้พบเห็น
คือ ขบวนกัณฑ์จอบ
กัณฑ์หลอน
จากทุกสารทิศที่แห่มาถวายจตุปัจจัยในช่วงที่พระสงฆ์
กำลังเทศน์มหาชาติ
โดยแต่ละคุ้มแต่ละหน่วยงาน
แต่ละองกรทั้งภาครัฐและเอกชนจะจัดกัณฑ์จอบ
กัณฑ์หลอนของตนมาถวายรวมปีละหลายแสนบาท
นอกจากนั้นภายในบริเวณงานและตามหน้าบ้านเรือน
บริษัทร้านค้าต่าง
ๆ
ในเขตเทศบาลยังได้ตั้งซุ้มข้าวปุ้น
(ขนมจีน)
ไว้คอยบริการแก่ผู้มาร่วมงาน
และประชาชนทั่วไปที่ผ่านไปมาได้รับประทานกันอย่างเต็มอิ่ม
งานบุญผะเหวดจึงนับว่าเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด
- ประตูเมืองสาเกตนคร
เมื่อปี
พ.ศ. 2541
คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
สมัยนายบรรจง
โฆษิตจิรนันท์ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างประตูเมืองสาเกตนครขึ้น
ที่ถนนสุนทรเทพทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบึงพลาญชัย
ด้วยเหตุปัจจัยสำคัญคือ
1.
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด
โดยจำลองเอาประตูเมืองสาเกตนครสมัยโบราณ
ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง
มาเป็นแบบในการจัดสร้าง
2.
เพื่อเป็นประตูจำลองเมืองสีพี
ในนิทานเรื่องพระเวสสันดรชาดก
ใช้ประกอบในการจัดงานประเพณีบุญผะเหวด
(บุญมหาชาติ)
ซึ่งเป็นประเพณีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
โดยงบประมาณในการดำเนินงานครั้งแรก
สภาเทศบาลตั้งงบสนับสนุน
ต่อมามีผู้บริจาคก่อสร้างแทน
คือ พลอากาศเอกเกษม
ทวีวัฒน์ จำนวน 1,700,000
บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนบาท)
ขนาดก้วาง 10 เมตร
สูง 22 เมตร
โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบควบคุมการก่อสร้าง
เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ 2541
และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2542
ให้ชื่อประตูว่า สาเกตนคร
เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ดสืบไป
- พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี
เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานพรที่นับว่าสูงที่สุด
ในประเทศไทยประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาภิรามอันเป็นวัดที่สำคัญ
แห่งหนึ่งตั้งอยู่ติดกับคูเมืองร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปองค์นี้
พระราชปรีชาญาณมุณีเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดและเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม
ได้ริเริ่มสร้างขึ้นและมีพิธีวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันที่ 4
มกราคม พ.ศ. 2514
องค์พระภายนอกปูด้วยกระเบื้องโมเสกสีน้ำตาล
เริ่มวางรากฐานองค์พระเมื่อ
พ.ศ. 2516 มีส่วนสูง 67
เมตร 55 เซนติเมตร
เฉพาะองค์พระมีส่วนสูง
50.50 เมตร หรือ 101 ศอก
องค์พระถึงช่วงไหล่
มีความกว้าง 12.50
เมตร พระศอสูง 4
เมตร พระกรรณยาว 3
เมตร พระเกศสูง 5.20
เมตร ตุ้มพระเกศมี
675 ตุ้ม
ฯพณฯ
ธานินทร์
กรัยวิเชียร
องคมนตรี
ทำพิธีเบิกพระเนตร
เมื่อวันที่ 24
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
ด้านหลังองค์พระเป็นเจดีย์
ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ที่ได้อัญเชิญมาจากอินเดียด้วยพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี
เป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่
สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล
จึงมีนาม
เรียกขานอีกอย่างหนึ่งว่า
พระเจ้าใหญ่
เป็นที่เคารพของชาวจังหวัดร้อยเอ็ดและของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
รวมทั้งนักทัศนาจรมักจะแวะมาสักการะอยู่มิได้ขาด
- ผ้าไหม
จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างต่อเนื่อง
ครอบครัวในชนบทจะมีกี่ทอผ้าพื้นเมืองแทบทุกหลังคาเรือนชาวบ้านมีฝีมือในการทอผ้าสืบทอดกันมาเป็นอย่างดี
โดยทั่วไปชาวร้อยเอ็ดนิยมทอผ้ามัดหมี่
ทอยกดอกด้วยดิ้นเงิน
ดิ้นทอง และทอแบบขิด
ที่มีลวดลายสวยงาม
ชื่อเสียงของผ้าไหมร้อยเอ็ด
เป็นที่รู้จักของชาวไทย
และชาวต่างประเทศ
โดยเฉพาะผ้าไหมที่ทอโดยนางพยอม
สีนะวัฒน์
ซึ่งส่งไปประกวดระดับนานาชาติ
ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ต่อมานางพยอม สีนะวัฒน์
ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์-การทอผ้า
ผ้าไหมร้อยเอ็ด
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เพราะทอด้วยไหมพื้นเมืองซึ่งมีเส้นใยใหญ่กว่าปกติ
ย้อมด้วยสีธรรมชาติ
และสีเคมี มีความทนทานเป็นเลิศ
ผู้ที่ต้องการซื้อผ้าไหมที่มีคุณภาพจะต้องสั่งจากจังหวัดร้อยเอ็ด
นับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัด
หน้าแรก