HOME • IT TODAY • ENGINEERING LINK • JOB RECRUIT • COMPUTER TIP • MY STORY • INTEREST WEBSITE • MOTOROLA PHONE TIP

 
 
หน่วยความจำ คืออะไร

หน่วยความจำหรือ RAM(Random Access Memory) นับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพและความเสถียรของเครื่องส่วนหนึ่งมาจากหน่วยความจำที่ใช้อยู่ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องยี่ห้อ ความเร็ว ประเภทและขนาดความจุของหน่วยความจำที่ใช้ อีกนัยหนึ่งหน่วยความจำเปรียบเสมือนพื้นที่บนโต๊ะทำงานของคุณถ้ามีพื้นที่มาก ก็จะสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเสียเวลาเคลียร์พื้นที่บนโต๊ะ

ขนาดความจุของ หน่วยความจำ
หน่วยความจำที่มีจำหน่ายจะมีทั้งแบบ Single Side และ Double Side หน่วยความจำแบบ Single Side หมายถึงหน่วยความจำที่มีชิพเพียงด้านเดียว ส่วนหน่วยความจำแบบ Double Side เป็นหน่วยความจำที่มีชิพทั้ง 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำแบบ SIMM หรือ DIMM จะมีวิธีการดูขนาดความจุของหน่วยความจำเหมือนกัน กล่าวคือเลขตัวแรกจะเป็นจำนวน MB ส่วนเลขตัวที่ตาม มาหลังเครื่องหมายคูณเป็นเลขจำนวนบิตที่บ่งบอกว่าเป็นหน่วยความจำประเภทใดถ้า เป็นเลข 32 จะเป็น SIMM แต่ถ้าเป็น 64 จะเป็น DIMM ให้คุณนำเลขตัวหลัง หารด้วย 8 เพื่อทำให้เป็นไบต์ แล้วคูณกับเลขตัวแรกจะได้ขนาดความจุของ หน่วยความจำนั้นออกมา เช่น ถ้าเป็น 4 x 32 SIMM ก็จะหมายถึง 4 MB x (32/8) บิต ซึ่งจะได้ 4 MB x 4 ไบต์ เท่ากับ 16 MB แสดงว่าเป็น SIMM ขนาด 16 MB แต่ถ้าเป็น 4 x 64 DIMM ก็จะเป็น DIMM ที่มีขนาด 4MB x 8 ไบต์ เท่ากับ 32 MB

DRAM (Dynamic Random Access Memory)
ถือเป็นหน่วยความจำชนิดแรกๆที่มีการผลิตกัน DRAM จะทำงานได้ช้าเพราะ DRAM ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้งเพื่อรักษาข้อมูลภายในให้คงอยู่เราเรียกการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำๆนี้ว่า การรีเฟรช(ชาร์จไฟใหม่) ข้อมูลจะต้องมีการ refresh ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายกระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที แต่ในขณะที่เกิดขึ้นนั้นระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ซึ่งเราเรียกช่วงเวลานี้ว่า wait state ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่โปรเซสเซอร์ไม่ได้ทำงานอะไร เนื่องจากต้องรอจนกว่าหน่วยความจำจะทำงานเสร็จ ถึงแม้ว่า DRAM จะเป็นหน่วยความจำที่ช้าแต่ก็มีผู้นำมาใช้เพราะมีราคาถูกถ้าเทียบกับหน่วยความจำชนิดอื่น

EDO DRAM (Extended Data Output DRAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่า FPM DRAM เพราะ EDO สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลที่เป็นคำสั่งหรือค่าต่างๆกับแคชภายใน CPU ได้ ทีละบล็อค ซึ่ง FPM DRAM จะทำได้ทีละไบต์เท่านั้น และโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในขณะที่ DRAM ถูก refresh ได้ ซึ่งเท่ากับว่าไม่มี wait state ทำให้ EDO สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลได้มากกว่า FPM ด้วยระยะเวลาที่เท่ากัน จึงทำ ให้ EDO ทำงานได้เร็วกว่า EDO สามารถทำงานกับความเร็วบัส ได้ถึง 66 MHz แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว EDO สามารถใช้กับความเร็วบัสได้ สูงขึ้นไปถึง 83.3 MHz ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถโอเวอร์คล็อก CPU Pentium MMX ได้เป็น 83.3 MHz * 3 โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ถึง SDRAM เฉพาะ EDO ก็พอเพียง EDO จะทำงานได้ดีเมื่อใช้กับแคชที่เป็นแบบ Pipeline Burst

SDRAM (Synchronous DRAM)
สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ทันทุกช่วงสัญญาณนาฬิกาของ CPU ซึ่งจะทำให้ CPU สามารถประมวลผลได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยหน่วยความจำ SDRAM สนับสนุนความ เร็วบัสได้ถึง 100 MHz และมี Access Time เพียง 10 ns

หน่วยความจำที่ใช้กับการ์ดแสดงผล
VRAM (Video RAM) มีหลักการทำงานคือสามารถแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ ได้พร้อมๆกับ การประมวลผลคำสั่งในโปรเซสเซอร์ของการ์ดแสดงผลทำให้การแสดงผลสามารถทำได้ราบรื่น
WRAM (Window RAM) สามารถรับข้อมูลเข้ามาและส่งออกไปได้ในเวลาเดียวกันทำให้ WRAM มีความสามารถในการทำงานสูงกว่า VRAM
SGRAM (Synchronus Graphic RAM) มีความเร็วในการทำงานสูงพอๆกับ SDRAM แต่ SGRAM จะใช้สำหรับการ์ดแสดงผล
MDRAM (Multibank Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้กับการ์ดแสดงผลที่มีความเร็วในการทำงานสูง มาก สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นกิกะไบต์ต่อวินาที

กลับหน้าแรกของโฮมเพจ