HOME • IT TODAY • ENGINEERING LINK • JOB RECRUIT • COMPUTER TIP • MY STORY • INTEREST WEBSITE • MOTOROLA PHONE TIP

 
 
เรื่องราวรายละเอียดของซีดีรอม

CD-ROM อาจสามารถเปรียบเทียบได้กับ floppy drive ในแง่ ที่ตัว disks นั้นถูกเคลื่อนย้ายได้ หรืออาจจะ เปรียบเทียบ มันเข้า กับ harddisk เนื่องจากความจุข้อมูล ที่ใกล้เคียงกัน (แต่ที่จริงแล้ว แผ่นซีดีรอม สามารถจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบต์ซึ่งเทียบเท่ากับ floppy disks ถึง 470 แผ่น ) อย่างไรก็ตาม CD ROM ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมา ขณะที่แผ่น floppy และhard disks เป็นสื่อแม่เหล็ก CD ROM เป็นตัวเก็บข้อมูล แบบออปติคอล (optical storage) ซึ่งใช้ แสงเลเซอร์ ในการอ่านข้อมูล แผ่น CD ROM ซึ่ง ทำ มาจาก แผ่น พลาสติกเคลือบ ด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ ที่ยิงมาให ้ สะท้อนกลับไปที่ตัวอ่านข้อมูลซึ่งเรียก PHOTO DETECTOR ตัวอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูล ที่ได้รับว่าเป็นอะไรและจะส่งค่า 0 และ 1 ที่ได้ผ่านไปยัง CPU เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป

CD ROM ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในโลกของ PC มันสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 650 เมกกะไบต์ และมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างถูก ในปัจจุบันมี CD drives อยู่ 4 แบบด้วยกันนั่นคือ
1.CD-ROM(Compact Disk Read Only Memory)ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้ง CD ROM และ CD-R
2.CD-ROM multiread ซึ่งจะอ่านได้ทั้ง CD ROM CD-R และCD-E
3.CD-R (Compact Disk Recordable) สามารถอ่าน CD-ROM และCD-R สามารถเขียนได้ 1 ครั้งบน CD-R
4.CD-E หรือ CD-RW จะอ่าน CD-ROM และ CD-R สามารถเขียนและเขียนทับได้บน CD-E

CD ROM เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่ปี 2527 โดยเริ่มมีการพัฒนามาจาก CD โดยหลักการแล้ว ทั้งตัว media และตัว drives จะเหมือนกัน ความแตกต่างจะอยู่ที่การเก็บข้อมูล ใน CD-ROM ข้อมูล จะถูก เก็บเป็น sectors ซึ่งจะสามารถอ่านแยกกันได้เหมือนกับใน hard disk ข้อดีของ CD ROM ที่เห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อ MAGNETIC (hard disk, floppy disks และ เทป)ก็คือ ความหนาแน่นของข้อมูลและอายุของข้อมูล เราสามารถบรรจุข้อมูลบนซีดีรอม ได้หนาแน่น กว่าบนสื่อแม่เหล็กมาก และแทนที่จะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มที่ ประมาณ 5 ปี เหมือน สื่อแม่เหล็กเราจะสามารถ เก็บข้อมูล บนซีดีรอมได้เป็นสิบๆปี

การอ่านข้อมูลจาก CD-ROM
เครื่องอ่าน CD จะหมุนแผ่น CD โดยมี Detector เป็นตัวตรวจจับ และควบคุมอัตราความเร็วของการหมุนให้มีความเร็วสม่ำเสมอ แล้วหัวอ่านจะเริ่มทำงานส่งแสงเลเซอร์จากเลเซอร์ไดโอด โดยมีขดลวดโฟกัสทำหน้าที่โฟกัสลำแสงเลเซอร์ให้มีขนาดเล็กลง แสงจะไปกระทบแผ่น CD โดยทะลุผ่านชั้นพลาสติกไปกระทบชั้นสะท้อนแสง ซึ่งที่พื้นผิวของชั้นนี้จะมีลักษณะนูนและเรียบสลับกัน ส่วนที่นูนเรียกว่า Pit ส่วนที่เรียบเรียกว่า Land ซึ่งจะแทนค่าเป็น 1 และ 0 ตามลำดับ แสงที่ตกกระทบ pit จะแตกกระจาย แสงที่ตกกระทบ land จะสะท้อนกลับเข้าสู่ Detector แล้วไปกระทบกับอุปกรณ์ตรวจจับแสง(Light-Sensing Diode) ที่ประสานจังหวะเดียวกันกับสัญญาณนาฬิกาของระบบ เกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า 0 และ 1 วิ่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานตามข้อมูลที่อ่านได้ต่อไป ส่วนมากข้อมูลจะถูกอ่านจาก ซีดีรอมด้วยความเร็วที่คงที่ หลักการนี้มีชื่อเรียกว่า CLV (CONSTANT LINEAR VELOCITY) เรา อาจคาดได้จากชื่อของหลักการนี้ว่า ข้อมูลจะผ่านหัวอ่านไปด้วยอัตราเร็วที่เท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นส่วนในหรือส่วนนอกของ track ซึ่ง หลักการทำงานนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยการปรับอัตราเร็วในการหมุนของ disk โดยเทียบจากตำแหน่งของหัวอ่าน การอ่านข้อมูลใน CD เพลงนั้นข้อมูลจะถูกอ่านไปตามลำดับดังนั้นจะไม่มีปัญหาในการปรับอัตราเร็วในการหมุนเหมือนในCD-ROM ซึ่งข้อมูลมีการจัดเก็บในลักษณะที่กระจัดกระจาย จึงทำให้ต้องมีการปรับอัตราเร็วในการหมุนอยู่เสมอ ทำให้เกิดการชะงักเป็นบางช่วงเวลา ในการอ่านข้อมูล และในรุ่นที่เร็วมากๆก็จะมีเสียงออกมาด้วย นี่เป็นข้อเสียของ สื่อ CD-ROM



อัตราเร็วในการหมุนและการส่งผ่านข้อมูล
ชนิดของ CD-ROM  อัตราการส่งผ่านข้อมูล อัตราการหมุนต่อนาที 
1X150 KB/SEC200-530
2X300 KB/SEC400-1060
4X600 KB/SEC800-2120
8X1.2MB/SEC1600-4240
12-24X1.8-3.6 MB/SEC2400-6360


กลับหน้าแรกของโฮมเพจ