อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
exx พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงเป็นมหาราช ๙ พระองค์

ภาพมงคลแปด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกี่ยวกับความกล้าหาญ

หุ่นจำลองขนาดย่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ภาพจิตรกรรมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ความเป็นมาของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

ิการที่ประเทศไทยดำรงความเป็นเอกราช มีสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ให้คนไทยภาคภูมิใจอยู่ได้จนทุกวันนี้ เนื่องจากมีผู้กล้าหาญเป็นจำนวนมาก สละเลือดเนื้อและชีวิตของตนเป็นชาติพลีสืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย บรรพชนเหล่านั้น นับว่ามีบุญคุณต่อลูกหลานไทยอย่างใหญ่หลวง คนไทยทุกคนจึงควรรำลึกอยู่เสมอว่า ถ้าปราศ จากท่านแล้ว เราคงไม่มีแผ่นดินอาศัยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตราบเท่าทุกวันนี้ เพื่อเป็นการ รำลึกถึงผู้กล้าหาญที่เสียชีวิตในการรบครั้งสำคัญ ๆ ทางรัฐบาลจึงได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อ บรรจุอิฐของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา ที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พิทักษ์ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๖ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศสและสงครามมหาเอเชียบูรพา ต่อมาได้มีการสู้รบเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี สงคราม เวียดนาม การป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย รวมทั้งผู้ที่เสียชีวิตในการป้องกันรักษา ความมั่นคงภายใน บรรดาผู้ที่เสียชีวิตเหล่านี้มีทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเป็นประจำทุกปี สำหรับอิฐ ของผู้พลีชีพเพื่อชาติเหล่านี้ยังคงเก็บรวบรวมไว้ และยังมิได้จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์ เพื่อบรรจุอิฐอย่างสมเกียรติ ดังนั้น พลเอก สายหยุด เกิดผล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น จึงได้ พิจารณาจัดทำโครงการจัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติเป็นส่วนรวมขึ้น และได้นำ โครงการนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ขออนุมัติหลักการโครงการจัดสร้าง ฯ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ ที่ ประชุมมีมติเห็นชอบและอนุมัติหลักการให้จัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ ได้ตามที่ กระทรวงกลาโหมเสนอ ต่อมาคณะกรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ได้รับ โครงการนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปีด้วย กระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ เรียกว่า คณะกรรมการจัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ โดยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน รองเสนาธิการทหาร รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น กรรมการ เจ้ากรมการศึกษาวิจัย (กรมยุทธศึกษาทหาร ในปัจจุบัน) เป็นกรรมการและ เลขานุการ หัวหน้ากองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมการศึกษาวิจัย (ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร ในปัจจุบัน) เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ อนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมดอนเมือง ช่วงถนนวิภาวดีรังสิตบรรจบกับถนนพหลโยธิน พื้นที่ ๓๘ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ เป็นสถานที่ จัดสร้างอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

๑. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ และจารึกนามผู้กล้าหาญ เหล่านี้ไว้ให้สถติถาวรสืบไป

๒. เพื่อเป็นสถานที่แสดงประวัติวีรกรรม และเหตุการณ์รบครั้งสำคัญต่าง ๆ

๓. เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นแล้วใน อดีต อันเป็นผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย

์ ๔. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

หลังจากได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดสร้างแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานชื่ออนุสรณ์ที่จะ ก่อสร้างเพื่อเป็น "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๖

แผนการดำเนินการจัดสร้าง

คณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ได้พิจารณาแบ่งขั้นตอน ในการดำเนินการออกเป็น ๓ ขั้น คือ

ขั้นที่ ๑ ศึกษาพิจารณาหนทางปฏิบัติและทำโครงการก่อสร้าง วางรูปแบบ และออกแบบอาคาร

ขั้นที่ ๒ ก่อสร้างอาคาร ตกแต่งภายในและบริเวณโดยรอบ

ขั้นที่ ๓ ส่งมอบอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ให้แก่หน่วยที่รับผิดชอบ

กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้มอบให้กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัย แห่งชาติ รับผิดชอบทำแผนโครงการ และถมดิน เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ในขณะเดียวกันก็ได้ทำการจัดประกวดแบบอาคารโดยเปิดโอกาสให้สถาปนิก สำนักงานบริษัทเอกชน ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษา มีโอกาสส่งแบบเข้าประกวดได้

การจัดประกวดแบบอาคารครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคม สถาปนิกสยาม ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดแบบ ซึ่งปรากฎว่า ผลงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นแบบที่ชนะเลิศการประกวด โดยมีลักษณะคล้ายป้อมค่ายหอรบของไทยสมัยโบราณ ประกอบด้วยอาคาร ๓ หลังคือ

อาคารประกอบพิธี ใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาทรงไทย ภายในเป็นห้องโถงขนาดใหญ่สำหรับจัดพิธี ด้านหน้าอาคารเป็นลานประกอบ พิธี ใช้สำหรับวางพวงมาลาในโอกาสสำคัญ ๆ

อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร  เป็นอาคารแปดเหลี่ยม มี ๕ ชั้น สำหรับจัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์และหุ่นแสดงเครื่องแบบ เครื่อง หมายยศ

อาคารภาพปริทัศน์ เป็นอาคารแปดเหลี่ยม ฝาผนังภายในโค้งเป็นวงกลม วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ผู้เข้าชมภายในอาคารสามารถ มองเห็นภาพเขียนได้โดยรอบ

หลังจากได้มีการประกวดแบบ ปรับพื้นที่และทำสัญญาว่าจ้างเขียนแบบแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้เตรียมการจัดสร้างลานประกอบพิธีขึ้นเป็นส่วนแรกก่อน โดย นำความขึ้นกราบบังคมทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรง ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๖ เวลา ๑๖.๓๐ น. และได้ ดำเนินการก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ กองบัญชาการทหารสูงสุด มี ปัญหาด้านงบประมาณ จึงต้องลดวงเงินในการก่อสร้าง และระงับการก่อสร้างลงบางส่วน การก่อสร้างอาคารที่แล้วเสร็จจึงมีเพียงลานประกอบพิธี อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ ทหาร และชั้นล่างของอาคารภาพปริทัศน์เท่านั้น หลังจากนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้มอบอนุสรณ์สถานแห่งชาติให้ กรมการ ศึกษาวิจัยรับผิดชอบเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๘ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๒ กองบัญชา การทหารสูงสุด ได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้ก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ให้เสร็จ สมบูรณ์ตามรูปแบบที่กำหนด พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เล็ง เห็นความสำคัญของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จึงได้เร่งรัดกำกับดูแลการก่อสร้าง รวมทั้งการจัด และตกแต่งอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างใกล้ชิด จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ สามารถนำความกราบ บังคมทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์สถานแห่งชาติได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗

You are visitor #

Sign My Guestbook
View My Guestbook
Guestbook by Lpage

1