วิวัฒนาการกิจการโทรศัพท์ในประเทศไทย

(คัดลอกบางตอนจากวิทยานิพนธ์ เรื่องการพัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยมุ่งเน้นการฝึกอบรมของนายเสนาะ ธีวรากร
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ ในครั้งที่เข้าศึกษาวิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการ
ทหารบกชั้นสูง พ.ศ.๒๕๒๘)

นิยามศัพท์
อดีตกาลที่ผ่านมากว่า 100 ปี ยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ของถ้อยคำต่างๆ ที่ใช้ในกิจการสื่อสารของประเทศไทย
และเมื่อประเทศไทยได้นำกิจการสื่อสารประเภทต่างๆเข้ามาใช้ แรกเริ่มจะเรียกชื่อกิจการสื่อสารแต่ละประเภท
ทับศัพท์ แล้วมาบัญญัติเป็นภาษาไทยภายหลัง อาทิเช่น

เมื่อมีการขยายกิจการโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ ข้ามประเทศ และข้ามทวีปได้ทั้วโลก กิจการ
สื่อสารทั้งหมดนี้จึงรวมเรียกว่า " กิจการโทรคมนาคม "

ประวัติความเป็นมา

การโทรเลข

การสื่อสารทางโทรเลขในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2412 โดยนายแฮรีริส และนายเปเดอร์สิน
เจ้าพนักงานเดินสายโทรเลขของอังกฤษ ได้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสนอขอสัมปทานตั้งบริษัทอังกฤษทำการสร้างและดูแลรักษาเส้นทางสายโทรเลขตามหัวเมือง มณทลต่างๆ

ภายในพระราชอาณาจักรสยาม โดยกำหนดเส้นทางสายแรกจากกรุงเทพฯลงไปหัวเมืองตะวันตก เรื่อยไปจนถึงเมืองปีนังต่อมาในปี พ.ศ.5418นายแฮรีริส ได้ยื่นเรื่องราวเสนอขอพระบรมราชานุญาตสร้างทางสายโทรเลขอีกครั้งหนึ่ง โดยเสนอว่าบริษัทอังกฤษจะส่งเครื่องมือ เครื่องใช้ในการจัดสร้างสายโทรเลขมาให้

เพียงขอความร่วมมือจากรัฐบาลไทยในการร่วมกันจัดสร้าง แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ไม่พระราชทาน
พระบรมราชานุญาตให้ เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยกับการที่บริษัทอังกฤษเอาเปรียบประเทศไทยมาก และพอดีกับ
รัฐบาลได้ดำริตกลงสร้างสายโทรเลขเอง มีอำนาจสิทธิขาดสร้างได้แต่เพียงผู้เดียวจึงไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาต และได้ให้นายแฮนรีริสทำความเข้าใจกันใหม่ ในเรื่องสัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

  1. รัฐบาลไทยจะสร้างสายโทรเลขภายในพระราชอาณาจักรขึ้นเอง ถ้าบริษัทอังกฤษต้องการจะต่อสายโทรเลข
    มาเชื่อมกับสายของไทยแล้ว ก็ให้ตกลงทำสัญญากัน
  2. สายโทรเลขที่รัฐบาลจะสร้างขึ้นนั้น จะสร้างให้ดีมีมาตรฐานเหมือนอย่างประเทศอินเดียและยุโรปใช้กันอยู่
  3. รัฐบาลจะหาผู้ควบคุมดูแลการสร้างสายโทรเลขที่มีความชำนาญ และความสามารถเป็นอย่างดี
  4. เส้นลวดที่ใช้เดินสายโทรเลขนั้น ต้องอยู่ในความเห็นชอบของรัฐบาลว่าจะกำหนดให้ใช้อย่างไร
  5. เจ้าพนักงานที่จะมาทำหน้าที่รับส่งโทรเลข ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นอย่างดี
  6. ถ้าบริษัทอังกฤษตกลงจะต่อสายโทรเลขกับไทยแล้ว รัฐบาลไทยจะเรียกเก็บเงินค่าส่งข่าวตามความเหมาะสม
  7. รัฐบาลไทยมีสิทธิที่จะต่อสายโทรเลขของตนให้ไปเชื่อมกับบริษัทใดก็ได้

BACK ... HOME ... NEXT