JavaScript เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงลักษณะการทำงานของเว็บไซท์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
JavaScript จัดเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ แต่ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
ใช้งานได้รวดเร็วกว่า Java มาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มหัดเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ เพราะไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมมากเหมือนกับการใช้
Java
JavaScript เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง
Sun และ Netscape โดยทาง Netscape Communications Corp. ตัดสินใจที่จะเพิ่มความสามารถเรื่องสคริปต์ไว้ใน
Netscape Navigator 2.0 โดยเริ่มแรกตั้งชื่อภาษาว่า LiveScript แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
JavaScript แทน ซึ่ง JavaScript นี้ก็มีความสามารถมากขึ้นด้วย
JavaScript ไม่ถือเป็น Java ขนาดเล็กหรือเป็น
Java สำหรับมือสมัครเล่น คือแตกต่างกันอย่างชัดเจน เราสามารถใช้ JavaScript เขียนโปรแกรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม
Web Browser ให้มากขึ้น สำหรับ Browser ที่เข้าใจ JavaScript ตัวแรกก็คือ Netscape
Navigator 2.0 แต่ก็มีอีกหลายๆ ตัวที่กำลังพัฒนาให้สามารถเข้าใจ JavaScript ได้
ดังนั้น JavaScript จึงทำงานในลักษณะไคล์เอ็นต์ไซท์บน Netscape Navigator 2.0 แต่จริงๆ
แล้วเราสามารถเขียนโปรแกรมด้วย JavaScript ให้ทำงานในลักษณะเซิร์ฟเวอร์ไซท์ได้เหมือนกับโปรแกรม
Common Gateway Interface (CGI)
JavaScript จะช่วยลดงานเขียนโปรแกรมที่ยุ่งยากลงได้
เพราะผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาเขียน Java Applet เพราะสามารถใช้ JavaScript สำหรับงานง่ายๆ
บางอย่างได้ เช่น การคำนวณง่ายๆ หรือการควบคุมฟังก์ชันบางอย่างของตัว Web Browser
ได้เอง เราจะแทรกคำสั่งของ JavaScript ไว้ในตัว HTML ซึ่งเมื่อ Netscape โหลดเพจ
HTML นั้นขึ้นมาแล้ว โค้ดส่วนที่เขียนด้วย JavaScript ก็จะถูกแปลและทำงานได้เองบนตัว
Netscape ที่มี Runtime ของ JavaScript อยู่ ดังนั้นงานเหล่านั้นจึงสามารถทำได้สำเร็จบนไคล์เอ็นต์
(ในที่นี้คือ Netscape) โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เราโหลดเพจนั้นมาอีกที
ทำให้งานต่างๆ รวดเร็วขึ้นมาก
ความแตกต่างระหว่าง JavaScript และ Java
ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ JavaScript หรือ LiveScript นั้นต่างจาก Java Applet และ
Application มาก อย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ โปรแกรมที่เขียนด้วย JavaScript
จะต้องฝังตัวอยู่ในไฟล์ HTML โดยแทรกตัวรวมไปกับส่วนต่างๆ ของข้อมูลที่แสดงบนเว็บเพจ
ในขณะที่โปรแกรมที่เขียนด้วย Java จะต้องแยกเขียนไว้เป็นไฟล์ .java ต่างหาก
ซอร์สโค้ดที่เขียนด้วย JavaScript จะถูกแปลได้ด้วยตัว
Runtime ที่มีอยู่ในตัว Netscape เพื่อทำงานได้โดยตรง ในขณะที่ตัว Applet จะต้องผ่านการแปลด้วยคอมพายเลอร์ของ
Java ก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้ ผู้ใช้อาจรู้สึกว่า JavaScript ทำงานช้ากว่า Applet
แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ต่างกัน เนื่องจากตัว Java runtime ในตัว Browser นั้นมีประสิทธิภาพพอสมควร
โปรแกรมเมอร์ภาษาซี ปาสคาล หรือ Java
โดยมากจะคุ้นเคยกับการที่ต้องประกาศชนิดของตัวแปรก่อนที่จะใช้งานอย่างชัดเจน เช่น
ต้องระบุไปว่าตัวแปรเป็น String หรือ Integer เลย แต่ใน JavaScript จะคล้ายกับภาษา
Perl นั่นคือ ไม่จำเป็นต้องประกาศชนิดตัวแปรก่อนใช้ แต่ในระหว่างการใช้งานนั้นโปรแกรมเมอร์จะต้องรับผิดชอบการใช้ตัวแปรเหล่านั้นเอง
โดยไม่พยายามเปลี่ยนแปลงชนิดตัวแปรจากชนิดที่เป็นอยู่เดิม ดังนั้นจึงเป็นการลดรายละเอียดในการเขียนโปรแกรมลง
แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งก็เท่ากับเป็นการบังคับให้ไม่สามารถใช้ JavaScripเขียนโปรแกรมที่ยุ่งยากไปในตัว
เพราะในโปรแกรมที่ขนาดใหญ่ การดูแลความถูกต้องของตัวแปรจะยุ่งยากเพิ่มมากขึ้น
โปรแกรมที่เขียนด้วย JavaScript จะมีลักษณะเป็นออบเจ็กต์เบส
นั่นคือ เราสามารถเรียกใช้ออบเจ็กต์ต่างๆ ที่มีอยู่แล้วมาประกอบในการเขียนโปรแกรมได้
แต่ไม่ต้องสร้างคลาสหรืออินเฮอริเทนซ์คุณสมบัติต่างๆ ของคลาสมาใช้ให้ยุ่งยาก ในขณะที่โปรแกรมที่เขียนด้วย
Java จะเป็นออบเจ็กต์โอเรียนเท็ด ต้องประกาศคลาสอย่างชัดเจน และต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด
การตรวจสอบเมื่อมีการเรียกใช้ออบเจ็กต์ใน
JavaScript จะกระทำในระหว่างที่โปรแกรมทำงานในลักษณะที่เรียกว่า Dynamic binding
แต่ถ้าเป็นโปรแกรม Java การตรวจสอบนี้จะทำตั้งแต่ตอนคอมพายล์โปรแกรมแล้ว เรียกว่า
Static binding เพราะฉะนั้นความผิดพลาดต่างๆ จะถูกพบก่อนที่โปรแกรมจะต้องทำงานจริง
ก็นับว่าปลอดภัยมาก สำหรับเรื่องการควบคุมความปลอดภัยของเครื่องในส่วนไคล์เอ็นต์ไซท์นั้น
ทั้งโปรแกรมที่เขียนด้วย JavaScript และ Java Applet ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงบนฮาร์ดดิสก์ได้
ความจริงแล้ว Java Applet สามารถทำงานได้บนพื้นที่บางส่วนของเว็บเพจเท่านั้น
แม้ว่า Applet แต่ละตัวจะสามารถติดต่อกับ Applet อื่นบนเพจเดียวกันได้ก็ตาม แต่เราไม่สามารถใช้
Applet แก้ไขข้อความต่างๆ ที่อยู่บนเพจหรือควบคุมลักษณะของเพจนั้นได้ง่ายๆ ดังนั้น
JavaScript จึงถูกนำมาเพื่อในจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ นั่นคือ ผู้เขียน HTML สามารถติดต่อกับผู้ใช้
และสั่งให้แก้ไขเนื้อหาภายใน HTML เพจใดก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องเขียน Applet
ที่ยุ่งยาก
ลอกมาจากหนังสือ Internet Magazine ฉบับที่ 01