WWW

เว็บเป็นตัวย่อของคำว่า World Wide Web เป็นเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่มีการขยายตัวของผู้ใช้อย่างรวดเร็ว การออกแบบเว็บมีจุดมุ่งหมายเชิงแนวความคิดดังนี้

เว็บจึงเป็นแนวคิดของการเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีสายใยการเชื่อมโยงแบบไม่มีขอบเขตจำกัด การพัฒนาเว็บจึงเป็นแนวทางที่ตอบสนองการใช้งานในยุคเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นับวันจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
จุดเริ่มต้นของเว็บบนอินเตอร์เน็ตได้เริ่มเกิดขึ้นที่ห้องปฏิบัติการวิจัย อนุภาคทางฟิสิกส์ (particle physics) ที่ CERN ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งคือ Tim Berners-Lee ปัจจุบันเขาเป็นผู้อำนวยการ World Wide Web Consortium อยู่ที่ MIT
การเริ่มต้นของเว็บในปัจจุบัน เริ่มมาจากการที่อินเตอร์เน็ตได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว มีผู้ใช้กันกว้างขวางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1990 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น โดยคณะนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ มหาวิทยาลัย CERN ได้ประชุมปรึกษาหารือที่จะสร้างระบบไฮเปอร์เท็กซ์ที่ใช้งานได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และรวบรวมทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกัน
จุดประสงค์ที่สำคัญในขณะนั้นต้องการให้เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ใช้งานร่วมกันจากผู้ใช้หลายๆ คนได้ การเรียกเข้าหาข้อมูลข่าวสารเรียกได้พร้อมกัน และเรียกดูส่วนใดของเอกสารก็ได้
การออกแบบระบบเว็บ จึงยึดแนวคิดที่สำคัญดังนี้

การออกแบบเว็บในขณะนั้นจึงขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีอยู่บนเครือข่าย การกำหนดสเปกที่สำคัญจึงต้องเน้นในสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยการวางรูปแบบให้ใช้งานร่วมกับระบบเดิมได้ และที่สำคัญคือ ข้อกำหนดต่างๆ ต้องเป็นอิสระไม่ขึ้นกับระบบเดิมที่มีอยู่ การกำหนดมาตรฐานที่สำคัญบนเว็บจึงต้องเน้นให้เป็นอิสระและใช้งานได้ง่าย สิ่งที่สำคัญในส่วนเว็บที่ได้กำหนดมาตั้งแต่ต้นประกอบด้วย

URI-Uniform Resource Identifier
การเรียกติดต่อจากบราวเซอร์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ จะอยู่ในรูปของ Uniform Resource Identifier หรือ URI ความจริงเราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Uniform Resource Locator (URL) หรือ Uniform Resource Name (URN) มากกว่า แต่ความหมายของ URI จะครอบคลุมความหมายของ URL และ URN ด้วย รูปแบบของ URI เป็นดังนี้

PROTOCOL://<HOST[:PORT_NUMBER]>/<FILE_NAME>

PROTOCOL บอกให้ทราบถึงวิธีการที่จะใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ต โปรโตคอลเหล่านี้ได้แก่ FTP, WAIS, Gopher, Telnet, HTTP, NEWS เป็นต้น
HOST ใช้ระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่เราต้องการจะเรียกดูข้อมูล ซึ่งสามารถระบุเป้นชื่อ เช่น khomkrich.tripod.com หรือเป็น IP Address เช่น 202.203.204.205 ก็ได้
PORT NUMBER เป็นหมายเลขพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเว็บเซร์ฟเวอร์ ดดยปกติจะใช้หมายเลข 80 หากไม่มีการระบุก็ให้ถือว่าใช้พอร์ตหมายเลข 80 นี้ แต่ก็สามารถใช้พอร์ตหมายเลขอื่นได้เช่นกัน
FILE_NAME ใช้ระบุชื่อไฟล์หรือเอกสาร HTML ที่ต้องการ หรือโปรแกรมที่ต้องการสั่งให้ทำงาน โดยระบุตำแหน่ง path ของไฟล์ด้วย

HTTP-Hypertext Transfer Protocol
ในช่วงปี ค.ศ. 1989 การใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมีมาตรฐานการใช้หลายแบบ แบบที่รู้จักกันดีในเรื่องการโอนย้ายข้อมูลคือ FTP แต่ระบบการโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรโตคอล FTP เป็นวิธีการส่งข้อมูลเป็นไฟล์ ไม่เหมาะกับการใช้งานบนเว็บ เพราะความเร็วของการรับส่งข้อมูลมีจำกัด การโอนย้ายข้อมูลบนเว็บจึงต้องออกแบบให้เหมาะสมและสามารถใช้งานร่วมกันในระบบได้ดี โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้วย URI ที่กำหนดขึ้นมา ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบโปรโตคอลใหม่ที่จะใช้กับเว็บและตั้งชื่อโปรโตคอลนี้ว่า HTTP โดยโปรโตคอลนี้เชื่อมโยงการโอนย้ายข้อมูลบนเครือข่ายตามรูปแบบของไฮเปอร์เท็กซ์
HTTP เริ่มใช้งานครั้งแรกด้วย HTTP เวอร์ชั่น 0.9 เมื่อปี ค.ศ. 1990 ใช้กับการรับส่งข้อมูลแบบตัวอักษรเท่านั้น ต่อมาพัฒนาเป็น HTTP/1.0 (RFC 1945) เมื่อปี ค.ศ. 1992 โดนนำมาตรฐาน MIME มาใช้งานร่วมด้วย จึงสามารถรับส่งข่อมูลแบบมัลติมีเดียได้ ทำให้บริการ WWW ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในขณะนี้ได้พัฒนาเป็น HTTP/1.1 ซึ่งนำเสนอเป็น Propose Standard โดย RFC 2068 ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1997

HTML-Hypertext Markup Language
คณะผู้ออกแบบเว็บที่มหาวิทยาลัย CERN ได้ออกแบบรูปฟอร์มมาตรฐานของไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในขณะนั้นได้มีมาตรฐานเกี่ยวกับไฮเปอร์เท็กซ์และการใช้ในเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือกันอยู่บ้างแล้ว เช่นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตที่มีไมโครซอฟท์เป็นแกนหลัก ได้วางมาตรฐานกลางชื่อ SGML สำหรับไฮเปอร์เท็กซ์ แต่คณะผู้ออกแบบเว็บเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้บนเครือข่ายขณะนั้น เพราะข้อจำกัดที่ใช้งานทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องความเร็วของการเรียกข้อมูล ดังนั้นจึงออกแบบมาตรฐานขึ้นใหม่ และกำหนดใช้เป็นมาตรฐานกลางของไฮเปอร์เท็กซ์ โดยใช้ชื่อ HTML-Hypertext Markup Language ผลปรากฏว่ามาตรฐาน HTML เป็นมาตรฐานที่เข้าใจได้ง่าย และมีผู้ตอบรับในเรื่องการสร้างเว็บกันอย่างรวดเร็ว พัฒนาการของ HTML จึงเริ่มต้นตั้งแต่ 1990 เป็นต้นมา
หลักการของ HTML เป็นหลักการที่ง่าย ใช้แฟ้มข้อมูลที่เก็บเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์เป็นแบบเท็กซ์ไฟล์ ดังนั้นการเขียนจึงใช้เอดิเตอร์หรือโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ใดๆ ก็ได้ ตัวเอกสารที่เป็นข้อความเก็บเป็นแบบรหัส ASCII ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การกำหนดคำสั่งลงในเอกสารใช้วิธีการ "ติดป้ายประกาศ" หรือเรียกว่า Markup tag ในที่นี้จะเรียกย่อๆ ว่าแท็ก (tag) ลักษณะของแท็กมีวิธีการติดที่หัวและท้ายของข้อความที่ต้องการประกาศ เช่น ถ้าต้องการเน้นข้อความให้เป็นตัวหนาหรือตัวดำ (Bold-face) ก็ใช้แท็ก <B> และปิดท้ายด้วย </B> ดังตัวอย่างเช่น

<B>Internet</B>

เมื่อนำข้อมูลนี้ไปแสดงที่บราวเซอร์ก็จะเห็นเฉพาะข้อความ ส่วนของแท็กที่ประกอบหัวท้ายจะไม่ปรากฏ
รูปแบบของเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์มีรูปแบบที่ใช้แท็กบอกประกาศ โดยใช้แท็ก <HTML> เป็นตัวเริ่ม และปิดท้ายด้วย </HTML> และแยกเอกสารออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนหัวใช้แท็ก <HEAD> </HEAD> และตัวเอกสารที่ใช้แท็ก <BODY> </BODY> ส่วนหัวเป็นที่บอกรายละเอียดบางอย่างที่เป็นภาพรวมของทั้งแฟ้มนี้ ส่วนตัวข้อความเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อเรื่อง เราสามารถกำหนดส่วนชื่อเรื่องคือใช้แท็ก <TITLE> </TITLE> เพื่อบอกชื่อเรื่องของเอกสาร
เราใช้แท็กซึ่งเป็นรูปแบบที่ชัดเจนและมีขั้นตอนและรูปแบบที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม การวางแท็กเหล่านี้จะต้องมีหลักการ

      1. ใช้สัญลักษณ์ < และ >เป็นตัวกำกับแท็ก รูปแบบของแท็กจึงอยู่ในเครื่องหมาย < > เช่น </H1> <HEAD>
      2. แท็กที่ใช้ส่วนใหญ่จะต้องใส่ไว้ทั้งด้านหัวและท้ายกำกับข้อความ เช่น <B> และปิดท้ายด้วย </B>
      3. ตัวอักษรเล็กใหญ่ไม่สำคัญ ดังนั้นแท็กที่ใช้จึงใช้ได้ทั้งแบบตัวอักษรเล็กและใหญ่ เช่น <B> </b>
      4. การวางแท็กจะต้องวางซ้อนกันให้เป็นระบบ ไม่คร่อมข้ามกัน เพราะอาจเกิดปัญหาได้ เช่น <H4> <B> ... </B> </H4>

หลังจากที่พัฒนาเว็บด้วยมาตรฐาน HTML และการเข้าถึงไฮเปอร์เท็กซ์ใช้ HTTP รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งและแอดเดรสด้วย URL ทำให้เว็บขยายวงไปบนอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
ลองมาดูลำดับการเจริญเติบโตของเว็บตั้งแต่จุดเริ่มต้น และการขยายตัวในลักษณะแบบต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว
ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1990 คณะผู้ดำเนินการได้สร้างระบบเว็บแบบไฮเปอร์เท็กซ์ท ี่CERN โดยใช้โปรโตคอล HTTP และให้แสดงผลแบบ WYSIWYG ในรูปแบบบราวเซอร์ โดยพัฒนาขึ้นบนเครื่อง NeXTStep ซึ่งเป็นเครื่องที่แสดงผลได้ดี

จากนั้นมาการขยายตัวของเว็บเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราเพิ่มไม่น้อยกว่า 10 เท่าต่อปี
การขยายของเว็บทำให้เกิดการพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างที่ตามมาอย่างรวดเร็ว การใช้งานบนเครือข่ายผ่านทางเว็บมีแนวโน้มที่จะเหมือนการใช้โทรศัพท์ที่โทรฟรี กล่าวคือ ใครจะเรียกเข้าหาข้อมูลอะไรเมื่อไรก็ได้ การเติบโตเช่นนี้จึงมีผู้พัฒนาให้ใช้งานตามเทคโนโลยีใหม่หลายๆ อย่าง ส่งผลให้เกิดความไม่เข้ากันของระบบที่ตามมา
การวางรากฐานทางด้าน URI, HTTP และ HTML เป็นรากฐานหลักแต่ก็ยังไม่รองรับการใช้งานทั้งหมด เช่น การใช้งานในรูปแบบมัลติมีเดียสมัยใหม่ ที่ต้องการการโต้ตอบด้วยเสียงปฏิสัมพันธ์ การแสดงผลแบบ 3 มิติ ที่เรียกว่า VRML-Virtual Reality Markup Language การรองรับไบต์โค้ดของภาษาจาวา
สิ่งที่ตามมาอีกประการหนึ่งคือ มีความพยายามที่จะใช้เว็บในเรื่องของธุรกิจมากขึ้น จึงต้องหันมาพัฒนาในเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
ในปี ค.ศ. 1994 ได้มีการตั้งคณะกรรมการที่เรียกว่า WWW Consortium เพื่อพิจารณารูปแบบมาตรฐานให้ระบบทั้งหมดทำงานร่วมกันได้ คณะกรรมการนี้ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัย MIT มีหน้าที่ศึกษาและหาทางพัฒนารูปแบบการใช้เว็บให้ได้ประโยชน์ และตอบสนองความเจริญก้าวหน้าของเครือข่ายต่อไป

ลอกมาจากหนังสือ Internet Magazine ฉบับที่ 10
Internet Magazine ฉบับที่ 14
Internet Magazine ฉบับที่ 33