ปี่ที่ 1 ฉบับที่ 1(ตุลาคม-ธันวาคม 2543)
บก.แถลง
        สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน’’ADR NEWS 6/1”ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งจะนำเสนอ บท ความ เกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และสรุปรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการ ใช้ยา ที่ได้รับจากโรงพยาบาลในเครือข่าย พบส.6/1(ขอนแก่น/เลย/สกลนคร/กาฬสินธุ์) ตั้งแต ่เดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2542

Hypersensitivity จาก PGS

Case study โดย ภญ. กิตติยา ปิยะคิลป์ โรงพยาบาลขอนแก่น

        ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์นะคะ ก็ขอรายงาน case APR ที่พบที่ รพ.ศูนย์ขอนแก่น ซึ่งเป็น อาการ อัน ไม่พีงประสงค์จาการใช้ยา PGS ค่ะ ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กหญิงอายุ 10 ปี มา admit ด้วย อาการไม่รู้ สึกตัว ภายหลังเกิดอุบัติเหตุไม้ตกใส่ศรีษะ ผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคประจำตัวอื่นๆ แพทย์ วินิจฉัยว่าเป็น hematoma in lt temporal region with meningitis complication ผู้ป่วยได้รับ การรักษาด้วยยา ดังต่อไปนี้

                                                 PGS 2 mu iv q 4 hr
                                                 Dilantin 100 mg 1 cap q 12 hr
                                                 MTV 1 tab tid pc

 

        หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาได้ 14 วัน  ผู้ป่วยเริ่มมีอาการผื่นคันตามตัว ขณะกำลังฉีดยา PGS แพทย์จึง สั่งให้ CPM 1 amp stat ก็พบว่าผู้ป่วย มีอาการดีขึ้นแต่ยังไม่หยุดใช้ยา PGS หลังจาก นั้น เมื่อให้ยา PGS ผู้ป่วยก็จะมีอาการผื่นคันขึ้นทุกครั้ง โดยลักษณะ ทางคลินิกพบผื่นคันแดง ทั่วตัว (generalzied erythrematous rash)นอกจากอาการทางผิวหนังแล้ว ผู้ป่วยยังมีอาการไข้ และชีพจร เต้นเร็วด้วย จากข้อมูลทั้งหมด ผู้ป่วยรายนี้ แพทย์วินิจฉัยว่าแพ้ยา PGS และเมื่อประเมินโดยใช้ Naranjo’s Algorithm พบว่าเป็น Probable ADR โดยอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เป็นไป ตามการบริหาร ยา อาการแสดงที่เป็นไม่ใช้อาการที่เกิดจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และอาการ จะเกิด ขึ้นหลังจากที่ได้ PGS และเมื่อหยุดยา อาการดังกล่าวก็จะหายไป และกลับเป็นซ้ำเมื่อใช้ยานั้นอีก

        สำหรับอาการแพ้ยาในกลุ่ม penicillins นั้น พบว่ามีอุบัติการณ์มากกว่า 1% ในผู้รายนี้จะเป็น การแพ้ยาแบบ Type 3 Hypersensitivity  โดยกลไกการแพ้ยาแบบนี้จะต้องอาศัยกลไกทางแบบ ภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะ แสดง อาการ สำหรับการรักษาอาการแพ้แบบนี้ สามารถหายได้เองเมื่อหยุดยา แต่ก็ควรรักษาตามอาการ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องทรมานมากนัก เช่น ใช้ยาแก้แพ้ CPM เป็นต้น ซึ่งสำหรับในผู้ป่วยรายนี้แพทย์ได้สั่งให้หยุดยา PGS และให้ CPM 1 tab tid จนกระทั่งอาการผื่นคันหายไป ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

Type3 Hypersensitivity: ปฏิกิริยาการแพ้ยาแบบที่ 3

        อาจเรียกปฏิกิริยาการแพ้ยาแบบนี้ว่า ปฏิกิริยา immune complex เกิดจากยาจับกับโปรตีน ในร่างกายและทำหน้าที่เป็น antigen กระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody คือ IgG โดยใช้เวลา ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เมื่อได้รับยาในครั้งต่อมา IgG จะจับกับantigen เป็น complex อยู่ในกระแส เลือดและไปเกาะที่เนื้อเยื้อต่างๆ เช่น ผนังด้านในของหลอดเลือดฝอย เมื่อมีการกระตุ้น complement จะมีการทำลายเนื้อเยื่อเหล่านั้น เซลล์จะเกิดผลดังนี้
                 1.มีการทำลายหลอดเลือด
                 2.มีการทำลายเกร็ดเลือด และมีการปล่อย vasoactive amine ทำให้เพิ่มการผ่านเข้าออกของหลอดเลือด
                 3.จากการปล่อย complement ซึ่งเป็นสารช่วยดึงเม็ดเลือดขาว ทำให้มีการ สะสมเม็ดเลือดข่าวบริเวณนี้เพื่อเข้ามากิน immune complex และมีการปล่อยเอนไซม์ lyxosomal ทำให้เกดการทำลายเซลล์ และเนื้อเยื่อใกล้เคียง มีการสะสมของไฟบริน

        ลักษณะที่เป็นแบบฉบับของอาการแพ้แบบนี้คือ Serum sickness เนื่องจากมักพบการ แพ้ แบบนี้เมื่อมีการฉีด serum ที่ไม่ใช ่ของ ตนเองเข้าไปในร่างกาย เช่น การฉีดเซรุ่มต้านบาดทะยัก Serum sickness มีอาการดังนี้ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นลมพิษ มีผื่น maculopapula rashes ต่อมน้ำเหลืองโต arthritis และปวดข้อ อาจมีเกล็ดเลือด ต่ำทำให้เกิด เป็นจ้ำเลือด ตาม ร่างกาย เมื่อ หยุดยาอาการจะหายใน 2-3 ชม. ถึง 4 วันแต่ถ้าอาการรุนแรงอาจต้องใช้เวลา นานหลาย สัปดาห์ serumsickness อาจทำให้เกิด อาการแทรกซ้อนคือ neuritis nephritis carditis และ polyarteritis nodusa ตัวอย่างยาที่ทำให้เกิด serum sickness คือ Antisrum Penicillin group sulfonamides gr. Streptomicin Antithyroid

อาการทางผิวหนังอื่นๆที่เกิดจาก type 3 hypersensitivity คือ ผื่นลมพิษ curaneous vascutitis erythema multiforme นอกจากนี้ยังมีอาการทางผิวหนังที่อาจเกิดจาก Type 3 hypersensitivity แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดคือ Erythema nodusm Fixed drug eruption และ Maculopapular

การรักษา ควรรักษาตามอาการ โดย

-อาการคัน ใช้ยาแก้แพ้ เช่น CPM Brompheniramine
-อาการปวดข้อ ใช้ยา aspirin 0.6-1.5 g ทุก 4 ชม ถ้ายังไม่หายให้กิน prenisolone 30 mg/d

แล้วค่อยๆลดปริมาณลงเมื่ออาการดีขึ้นความรุนแรงในการเกิดการแพ้ต่อไป

        
สรุปรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่ได้รับจากโรงพยาบาลต่างๆในเครือข่าย พบส.6/1 (ขอนแก่น/เลย/สกลนคร/กาฬสินธุ์) ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2542 จำนวนทั่งสิ้น 161 รายงาน โดยแยกประเภท ดังนี้

แยกตามเดือนที่ได้รับรายงาน

     1.เดือนตุลาคม 97 รายงาน
     2. เดือนพฤษจิกายน 38 รายงาน
     3. เดือนธันวาคม 26 รายงาน

แยกตามแหล่งที่ได้รับข้อมูล

1.จังหวัดขอนแก่น รวม 82 รายงาน
     1.1 รพ.ขอนแก่น 12 รายงาน
     1.2 รพร. กระนวน 20 รายงาน
     1.3 รพ. มัญจาคีรี 15 รายงาน
     1.4 รพ.พล 8 รายงาน
     1.5 รพ.ภุเวียง 1. รายงาน
     1.6 รพ.เปือยน้อย 2 รายงาน
2. จังหวัดเลย รวม 71 รายงาน
     2.1 รพ. เลย 11 รายงาน
     2.2 รพ.เอราวัณ 3 รายงาน
     2.3 รพ.เชียงคาน 4 รายงาน
     2.4 รพ.ด่านซ้าย 15 รายงาน
     2.5 รพ.วังสะพุง 10 รายงาน
     2.6 รพ. ปากชม 3 รายงาน
3.จังหวัดสกลนคร รวม 8 รายงาน
     3.1 รพ.สกลนคร 6 รายงาน
     3.2 รพ.โพนนาแก้ว 2 รายงาน
4. จังหวัด กาฬสินธุ์ ไม่มีรายงาน

แยกตามความรุนแรง

1. น้อย: หายเป็นปกติได้อง 66รายงาน
2. ปานกลาง: รักษาหายเป็นปกติ 85 รายงาน
3. รุนแรง : เสียชีวิต/พิการ 6 รายงาน
4. ไม่ระบุ 4 รายงาน

แยกตามอายุและเพศของผู้ป่วย

อายุ(ปี)

ชาย

หญิง

ไม่ทราบ

รวม

ไม่ทราบ

3

2

1

6

<15

6

9

-

15

16-30

16

21

1

38

31-45

16

28

-

44

46-60

12

25

-

37

>60

7

14

-

21

รวม

60

99

2

161


        จากรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการให้ยาทั้งหมด กลุ่มยาที่สงสัยว่าทำให้เกิดการ แพ้ยามากที่สุดคือ Systemic Antibiotics และยากลุ่ม Penicillins ก็ยังเป็นยาที่ทำให้เกิด อาการ แพ้ได้มากที่สุด ทำให้เกิดอาการตั้งแต่ผื่นแพ้ ,Erythema multifurme,Fixed drug eruption , Chest pain, edema Stevens Jonhson Symdrome จนถึง Anaphylactic shock นอกจาก นี้ยาที่ใช้กันบ่อยๆ เช่น paracetamol, Diclofenac, Niclosamide , Diazepam ก็ทำให้เกิดการ แพ้แบบ Anaphylactic shockได้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มการติดตามแล้วเฝ้าระวังการใช้ยาให้มากขึ้น

        ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เครือข่าย 6/1 ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความ ร่วมมือในการติดตามและรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับ ความ ร่วมมือเช่นนี้ต่อไป

        ท่านใดที่มีความประสงค์จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านทางจดหมายข่าว “ADR NEWS 6/1” ฉบับนี้ สามารถติดต่อได้ที่ ภก. อภิญญา อารยะศิลปษร ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น 40170 โทร 043-251302 ต่อ121

contact web admin : Mr.Prachasan Saenpakdee     [Top] [Back] [Home]