ร่วมใจรณรงค์   วันไม่ซื้อ

back to main page
โดย กรรณิการ์ พรมเสาร์ จากวารสารฉลาดซื้อ ปีที่ 7 ฉบับที่ 37 มิถุนายน -กรกฏาคม 2543

       พูดถึงการจับจ่ายใช้สอยแล้ว สำหรับคนในสังคมเมือง แทบจะไม่มีวันใดที่เราไม่ควักกระเป๋า ซื้อของ แต่โดยระดับเฉลี่ยของคนไทย ซึ่งคุ้นเคยกับเศรษฐกิจ พอเพียงมาตั้งแต่ยังไม่เกิดคำๆ นี้ อาจจะ เป็นเรื่องธรรมดา หากไม่ได้จ่ายเงินสักวันสองวัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา อย่างมาก ที่ประเทศ พัฒนาแล้ว อย่างอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริโภค ทรัพยากรเป็น 5 เท่าของคนแม็กซิกัน 10 เท่า ของชาว จีน และ 30 เท่าของชาวอินเดีย ได้จัดการรณรงค์เพื่อการไม่ซื้อขึ้นมาวันหนึ่งในรอบปี และที่ท้าทายกว่า นั้นก็คือ เป็นวันหลังวันขอบคุณพระเจ้า ก่อนเข้าสู่เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลแห่ง การจับจ่ายใช้สอยครั้ง มโหฬารของชาวตะวันตก
       วันไม่ซื้อหรือ Buy Nothing Day เริ่มตั้งแต่ปี 1992 แล้วที่ประเทศแคนาดา โดยองค์กรที่ชื่อ Media Foundation หรือมูลนิธิสื่อ ที่แวนคูเวอร์ บริทิชโคลัมเบีย ให้การสนับสนุน คุณจะต้อง แปลกใจ แนๆ ถ้าบอกว่า เคลลี แลสน์ ผู้อำนวยการมูลนิธินี้เป็นนักโฆษณามาก่อน
       เคลลี่ แลสน์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิ ความจริงเป็นชาวเอสโตเนีย ที่พาครอบครัวอพยพ มายังประเทศตะวันตก ตั้งแต่ปี 1944 เขาไปทำงานโฆษณาในโตเกียว อยู่นาจนกระทั่งตอนปลาย ทศวรรษ 1960 จึงย้ายมาอยู่แคนาดา และเริ่มผลิตภาพยนต์สารคดี จนราวทศวรรษ 1980 ความเป็นนัก กิจกรรมเริ่มจุดประกายขึ้น เป็นครั้งแรกหลังนั่งชมโฆษณา ของบริษัททำไม้เป็นการค้า ที่ส่งเสริมการ ตัดไม้แบบ "ตัดหมด" ในฐานะที่เป็นมาตรการ "จัดการป่า" แลสน์เดือดดานมาก เขาจึงผลิตโฆษณา ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง บอกถึงข้อเสียของการทำไม้แบบตัดหมด และความจำเป็นที่ต้อง รักษาป่าที่มีอยู่แต่เดิม ไว้แต่ทว่าสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น ของเขาปฏิเสธที่จะขายเวลาให้
       ในปี 1989 แลสน์จึงก่อตั้งมูลนิธิสื่อขึ้น มีเป้าหมายเพื่อผลิตโฆษณาทางเลือก สำหรับกลุ่ม นักศึกษาและกลุ่มสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลิตโฆษณาต่อต้านการใช้รถยนต์ให้กรีนพีชด้วย มูลนิธินี้ยังได้ตี พิมพ์ วารสารราย 3 เดือน ชื่อ Adbusters ขึ้นจำหน่าย ในราคาฉบับละ 5.75 ดอลล่าร์ มีสมาชิก 40,000 ราย รายได้ของมูลนิธิพอเลี้ยงตัวเองได้ โดยในปี 1996 มีรายได้ 500,000 ดอลล่าร์ ตอนนี้มีเจ้าหน้าที่ เต็มเวลา 5 คน

"วันไม่ซื้อ
ไม่ได้บอกว่าไม่ควรซื้อสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ
แต่ต้องการสื่อเพียงว่า
ให้รู้จักคิดก่อนซื้อว่าเราซื้ออะไร
และมีผลกระทบอะไรบ้าง ทั้งต่อตัวเอง สังคม และสภาพแวดล้อม"

       ทำไมจึงต้องมีวันไม่ซื้อขึ้นมา หลายคนคงสงสัยเช่นนี้?
       ในฐานะนักโฆษณาที่หันมาผลิตโฆษณาทางเลือก แลสน์อาจจะเห็นว่าสื่อโฆษณาต่างๆ ที่มีอยู่ทุก วันนี้เกิดขึ้นเพื่อชักจูงโน้มน้าวให้มนุษย์ซื้อ การรณรงค์วันไม่ซื้อจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการต่อต้าน การโฆษณากระแสหลักสำหรับแลสน์
        นอกจากนี้สำหรับกลุ่มผู้ร่วมรณรงค์อื่นๆ อาจมองที่เรื่องของการบริโภคจนเกินขนาด วันไม่ซื้อ ไม่ได้บอกว่าไม่ควรซื้อสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ แต่ต้องการสื่อแต่เพียงว่า ให้รู้จักคิดก่อนซื้อ ว่าเราซื้ออะไร และ มีผลกระทบอะไรบ้างทั้งต่อตัวเเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม การซื้อ ของเราทำให้คุณภาพชีวิต ของเราดีขึ้น หรือเปล่า และที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ก็เพราะเป็นเทศกาลซื้อแหลก วันไม่ซื้อ จึงเป็นสัญลักษณ์ เตือนผู้คนให้หยุดคิดว่า ความหมายของวันคริสต์มาสที่แท้จริงคืออะไร ถึงวันนี้ธุรกิจ ใหญ่ๆ ได้กลายมา เป็น ผู้กำหนดความหมายของวันคริสต์มาสไปแล้ว ให้เหลือแค่การ ซื้อของขวัญ ให้กัน และกัน ซึ่งเราทุกคน รู้ดี เพราะคนทั่วโลกแม้ไม่ใช่คริสเตียน ก็ตามต่าง ก็เฉลิมฉลอง เทศกาล นี้ด้วย การซื้อของขวัญ
       การรณรงค์ครั้งหนึ่งที่เวอมองต์ผู้รณรงค์ได้ทำบัตรของขวัญขึ้น 600 ใบ แจกจ่ายให้ผู้ที่เดินผ่าน ไปมาแถวย่านค้าขาย ถนนเชิร์ชกลางเมืองเบอร์ลิงตัน บัตรของขวัญดังกล่าวคือ "ของขวัญเวลา" นั่นคือ การมอบเวลาเป็นของขวัญแก่ผู้ที่ได้รับเป็นสัญลักษณ์ บ่งบอกว่า เวลา คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ควรมอบให้ เป็นของขวัญแก่คนที่เรารักในเทศกาลที่มีความหมายเช่นนี้
       ที่โตเกียวซึ่งเพิ่งเริ่มรณรงค์ในปี 1999 มานี้ ใช้ซานตาคลอสเป็นสัญลักษณ์ โดยผู้รณรงค์แต่ง ตัว เป็นซานตา นั่งสมาธิแบบเซ็นในท่าดอกบัว เป็นเวลา 8 ชั่วโมงเต็มถนนสายที่ผู้คน นิยมมา ช็อปปิ้ง
มาก ที่สุด เพื่อบอกว่า "การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากที่ที่คุณนั่งอยู่" พร้อมกับแจกเอกสาร 1,500 ชุด ปรากฎว่าสื่อ ในท้องถิ่นและนักว็อปปิ้งที่ผ่านไปมาให้ความสนใจมาก วัดความสนใจได้จากสื่อ ที่มีราย งาน ออกมา อย่างล้นหลาม ในเชิงที่ค่อนข่างเป็นบวก
       การรณรงค์เพื่อการไม่ซื้อสากล หรือ International Buy Nothing Day นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ อะไร ที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานร่วม มีแต่ค่านิยมร่วมซึ่งก็คือ การชลอกระแสบริโภคนิยม อย่างน้อย ปี ละครั้ง ให้คนเรารุ้จักพอ ให้ข้อมูลว่าประเทศที่ร่ำรวยบริโภคมากเพียงใด ทำลายทรัพยากรมากแค่ไหน เตือนเรา ว่าโฆษณาสินค้าทั้งหลายนั้น มีความประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ ต้องการให้เราเชื่อว่า ความสุขอยู่ที่สิ่ง ของที่สามารถซื้อหามาได้
       วันไม่ซื้อ จึงเป็นวันแห่งการแสดงความรู้จักพอ เพื่อขยายสารอย่างเดียวกันนี้ให้เบ่งบานในใจนัก ช็อปปิ้งทั้งหลายให้รู้จัก "พอ" อย่างน้อยก็หนึ่งวัน
       สำหรับการรณรงค์เพื่อการไม่ซื้อ หนึ่งวันในรอบปีนี้ ดำเนินงานมาได้ 7 ปี เต็มแล้วนับจากเริ่ม ครั้ง แรก โดยทุกปีจะกำหนดเอาวันศุกร์หลังเทศกาลของคุณพระเจ้า เป็นวันไม่ซื้อ วันขอบคุณพระเจ้า จะถือ เอาวัน พฤหัสบดี ที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปีเป็นสำคัญ พอพ้นจากวันนี้ก็จะเริ่ม กิจ กรรม รณรงค์ เพื่อการไม่ซื้อ 24 ชั่วโมง วิธีการของแลสน์ก็ใช้วิธีแบบนักโฆษณานั่นคือ ผลิต โฆษณา เพื่อการไม่ซื้อขึ้น เรามาดูกันว่าลัทธิพาณิชนิยมกลัวการไม่ซื้อกันแค่ไหน
       โฆษณาเพื่อรณรงค์วันไม่ซื้อ ของแลสน์ได้รับการปฏิเสธ จากเครือข่ายยักษ์ คือ เอ็นบีซี ของ เจนเนอรัล อิเล็คทริค และ ซีบีเอส ของเวสติ้งเฮาส์ เอ็นบีซี บอกว่าไม่อยากรับโฆษณา ที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อผลประโยชน์ ทางธุรกิจอันถูกต้องชอบธรรมของตน ส่วนซีบีเอส ระบุ ในจดหมายตอบปฏิเสธว่า Buy Nothing Day เป็นกิจกรรมที่สวนทางกับนโยบายทางเศรษฐกิจ ของสหรัญอเมริกา
       แลสน์มีงบประมาณสำหรับโฆษณาชิ้นนี้เพียง 15,000 ดอลล่าร์ เท่านั้น ซึ่งหากออกอากาศก็เป็น ช่วงเวลาเพียงแวบเดียว แต่เขา ก็ไม่รังเกียจที่จะมีคนไม่กี่คนได้เห็นโฆษณาจองเขา แต่ก็ไม่มีเครือข่าย ไหนยอมรับเลย เขาก็เลยยื่นเรื่องซ้ำเพื่อของซื้อเวลา 30 วินาที สำหรับโฆษณา "สัปดาห์แห่งการปิดทีวี" เสียเลย
       แลสน์บอกว่าเขามาจากเอสโตเนีย ประเทศที่ไม่ยอมให้ใครพูดจาต่อต้านรัฐบาล แต่ที่อเมริกา เหนือนี้เขาพบว่า ไม่อาจพูดจาในเชิงต่อต้านสปอนเซอร์ได้ ซึ่งก็ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน
       คุณเชื่อหรือไม่ว่าในปีที่สามของการรณรงค์ จึงมีผู้ยอมออกอากาศให้ คือ ซีเอ็นเอ็น : เคเบิลนิวส์ เน็ท เวอร์ค เฮดไลน์นิวส์ ในอัตรา 10,000 ดอลล่าร์ โดยให้เหตุผลว่า "เราน่าจะให้เวลาที่จำหน่าย เป็นการค้าอยู่แล้วกับประเด็นที่แย้งกับสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้บ้าง"
       ไม่เพียงแต่ในอเมริกาเท่านั้น ในฝรั่งเศส ก็เจอปัญหาทำนองนี้เช่นกัน แม้จะได้ออกอากาศ แต่ก็ไม่มีใครเห็นด้วย โฆษณาวันไม่ซื้อในฝรั่งเศส มีความยาว 30 วินาที ออกอากาศครั้งเดียวหลัง เที่ยงคืนของวันสุกดิบก่อนวันไม่ซื้อ เพราะมูลนิธิสื่อในฝรั่งเศสมีงบประมาณแค่นี้
       เหตุผลของสถานีก็ชัดเจนเป็นต้นว่า ตรงข้ามกับผลประโยชน์เรา หรือเป็นปรปักษ์ต่อหน้า ที่ของ เนื้อ ที่การโฆษณา และจริยธรรมของเรา (อืม..ม) สถานีแห่งที่สามทีแรกก็ยอมรับ แต่ต่อมาปฏิเสธ ตาม คำ แนะนำของ Bureai of Advertising Verification หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่กลั่นกรอง สื่อของรัฐ ว่าการโฆษณาแบบนี้ถือเป็นการเรียกร้อง ประชาชนให้คว่ำบาตร (การซื้อ) มากกว่าจะเป็น ประกาศที่เป็นบริการแก่สาธารณชน จึงไม่สมควรให้ออกอากาศ!

ลัทธิบริโภคนิยมกำลังครองโลก
หากเราไม่ช่วยกันทำอะไรสักอย่าง
เพื่อเตือนสติกันและกัน
ในที่สุดโลกของเรา
ก็อาจจะเป็นเหมือนโฆษณา

       ต่อมาเรื่องนี้ก็กลายเป็นประเด็นร้อน พอสื่อรู้ว่าโฆษณาชิ้นนี้ ถูกเซ็นเซอร์ก็หยิบยกขึ้นมา พูดถึงกันเป็นการใหญ่ ผลก็คือโฆษณาเพื่อวันไม่ซื้อได้รับการออกอากาศ ซ้ำอีกมากว่า 25 ครั้ง ใน 9 สถานี แถมฟรีเสียด้วย... ยิ่งกว่านั้นหนังสือพิมพ์ชื่อดังๆ สถานีวิทยุทั้งหลาย ต่างก็หยิบยกเรื่องนี้มาพูด กันสนั่นเมือง
       ปัจจุบันนี้ประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม รณรงค์วันไม่ซื้อ มากกว่า 30 ประเทศ จากแคนาดา อเมริกา ไปอังกฤษ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ ปานามา บราซิล อิสราเอล ถึง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้เหล่านี้ เป็นต้น และมี แนว โน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เห็นพร้องต้องกันว่า ลัทธิบริโภค นิยม กำลังครองโลก หากเราไม่ช่วยกันทำอะไรซักอย่าง เพื่อเตือนสติกันและกัน ในที่สุดโลกของเราก็อาจ จะเป็นเหมือน โฆษณา Buy Nothing Day ปี 1999 ในฝรั่งเศส ที่แสดงภาพตุ๊กตาดินเหนียว ซึ่ง บิลกำลังนั่งสวาปาม อะไรต่อมิอะไรอย่างไม่หยุดปาก จนมีเสียง แครกก! ดังขึ้น กล้องแพน ไปจับ ที่ก้น เข้าบิล ลูกโลกที่บิล นั่งอยู่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เนื่องจากน้ำหนักการบริโภค ทิ้งให้ เจ้าบิล นอนช็อค อยู่ที่พื้น พร้อมกับ มีเสียงบรรยายขึ้นว่า "หวังให้มนุษย์ทุกคนเปลี่ยนแปลง จิตสำนึกในทุกการกระทำ และทุกวัน ร่วมรณรงค์วันไม่ซื้อ 26 พฤศจิกายน 1999"
       ความสุขเป็นสภาวะที่ได้มาโดยไม่ต้องหาซื้อ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับรถยนต์ หรือเสื้อผ้า และ กระ เป๋าถือชั้นดี มียี่ห้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล ที่จะรักษาโรค หรือ แก้ปัญหา ได้ทุก ปัญหาโดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาจิตใจมนุษย์
       ร่วมรณรงค์วันไม่ซื้อได้ที่ตัวคุณเอง    


web admin :esarn43@hotmail.com
1188-6433505