เน็ตเวิร์ก
    ก่อนที่เครื่องพีซีจะมีแพร่หลาย เครื่องพีซีเป็นเพียงเทอร์มัสโง่ ๆ ที่ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ส่วนกลางเท่านั้น โดยคอมพิวเตอร์ส่วนกลางจะเป็นเครื่อง
    คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่บรรจุอยู่ในตู้ลึกลับจำนวนมากมายวางเรียงราย จนแน่นห้องแอร์เย็นเฉียบ ห้องซึ่งไม่มีใครเข้าไปได้นอกจากคน
    ในชุดเสื้อขาวยาวจรดเข่า
    ระบบคอมพิวเตอร์ในระยะนั้นดูเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหมือนพระเจ้า อาศัยอยู่ในบริเวณหวงห้าม จะอนุญาตให้เฉพาะแต่นักบวชหรืออีกนัยหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ MIS (Managament infonmation System) เท่านั้นที่เข้าไปได้สื่อสารกับพระเจ้าของเขาได้ ผู้ใช้ธรรมดาจะติดต่อกับพระเจ้าโดยตรงไม่ไ ด้เขาจะต้อง นั่งต่อหน้าเทอร์มินัล ป้อนข้อมุล ใช้โปรแกรมที่เจ้าหน้าที่ MIS เขียนให้ใช้สวดมนต์
    หรือสาปแช่งคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่ต้องการสื่อสารกับพระเจ้าก็จะต้องส่งแผ่นดิสก์บรรจุโปรแกรมผ่านนักบวช MIS ทั้งหลาย เพื่อให้เขานำ
    โปรแกรมดังกล่าวไปติดต่อหรือรันกับพระเจ้าอีกทีจากนั้นสักอาทิตย์หรือกว่านั้น ผู้ใช้ก็จะได้รับผลการประมวลที่อยู่ในรูปของกระดาษต่อเนื่อง
    ที่พิมพ์ข้อมูลว่าเกิด error ที่นั่นที่นี่เต็มไปหมด
    ความหายนะของคอมพิวเตอร์ชนิดรวมศูนย์ (centralized computer) เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีถือกำเนิด ผู้ใช้พีซีดูจะมีอิสรภาพเหนือสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้ เขาจะใช้หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ก็ได้ที่เขาชอบ เขาสามารถใช้ข้อมูลส่วนตัวได้มากเท่าที่ต้องการ โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใช้และซอฟต์แวร์ แทนที่จะแคร์เจ้าหน้าที่ MIS หรือแอบด้อม ๆ มอง ๆ คอมพิวเตอร์พระเจ้าเหล่านั้นโดยแตะต้องอะไรไม่ได้
    ซอฟต์แวร์บางอย่างรวมทั้งงานบางอย่างที่เคยทำได้เฉพาะเครื่องเมนเฟรมหรือมินิ ก็สามารถทำได้บนเครื่องพีซีธรรมดา พีซีที่ตั้งทำงานเดี่ยว ๆ ทำให้เขามีความสุขภายใต้ข้อมูลชนิดตั้งเดี่ยว ๆ ด้วยเช่นกัน แต่งานในบริษัทไม่ได้เป็นเช่นนั้น เขายังคงต้องติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนร่วมงาน บ่อยครั้งที่ข้อมูลถูกแก้ไปใหม่ แต่เขาไม่ได้รับข้อมูลใหม่นั้น
    ความต้องการที่จะติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมุลระหว่างกันหรือใช้ข้อมูลร่วมกัน ทำให้เกิดเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายขึ้น ภายใต้ความเป็นเครือข่าย ผู้ใช้ก็ยังคงใช้พีซีของเขาเบบตั้งเดี่ยว ๆ ได้อยุ่ ในขณะเดีวยกันก็สามารถใช้ข้อมูลบางอย่างร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย เขาสามารถใช้เครื่องพิมพ์กองกลาง เขายังอาจติดต่อสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลางบนเมนเฟรม หรือเครื่องมินิอื่น ๆ ได้อีกด้วย แม้จะเข้าหาข้อมูลได้จำกัดจำเขี่ย เช่นเดิม แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่ได้กำหนดไว้แล้วว่าผู้ใช้ต่อไป หาใช่เจ้าหน้าที่ MIS แต่อย่างใด
    ความลึกลับของการใช้เน็ตเวิร์กมีมากมาย ซึ่งจะไม่สาธยายไปเสียทุกเรื่อง เพราะถ้าทำเช่นนั้นจริง คงจะไม่พอเขียน เราจะพูดถึงโครงสร้างของเน็ตเวิร์กแบบคร่าว ๆ พูดถึงเรื่องเน็ตเวิร์กติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างไร และมันสร้างระบบป้องกันตนเองหรือข้อมูลได้อย่างไร และอื่น ๆ ดังที่เราจะกล่างถึงต่อไปนี้
    แลนชนิดต่าง ๆ ทำงานอย่างไร?
    เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลนมีการต่อทางกายภาคหลายรูปแบบ อาจจะประกอบด้วยเครื่องพีซีต่อกัน ต่อกับเมนเฟรมหรือมินิก็ได้ โดยอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ะละจุดนั้น ก็มีทั้งที่เป็นสายเลือด อย่างสายทองแดงบิตเกลียว (twsted-wire cable) ใยแก้วนำแสง สายโทรศัพท์ ไปจนถึงแสงอินฟราเรดหรือคลื่นวิทยุ การต่อแลนเข้าด้วยกันนั้น ก็มีภูมิลักษณะ (topology) ที่แตกต่างกันหลายชนิด แต่ที่เด่น ๆ เห็นจะได้แก่ แบบบัส (bus) โทเคนริง (tokenring) และแบบดาวหรือสตาร์ (star)คำว่าภูมิลัษณะในที่นี้ นอกจากจะหมายถึงโครงสร้างทางกายภาคแล้ว ยังหมายถึงกลไกหรือวิธีการที่เครื่องแต่ะละเครื่องใช้ติดต่อกันด้วย
    สำหรับวิธีการโต้ตอบหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับลึกกว่าภูมิลักษณะแลน ที่ระบบแลน ข้อมูลหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้เรียก ขอมักจะเก็บไว้ที่ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (file server) ซึ่งมักจะเป็นเครืองพีซีที่มี
    ความสามารถสูงและมีฮาร์ดดิสก์ชนาดใหญ่ที่มีใครใช้เป็นอภิสิทธิ์ส่วนตัว ไฟล์เซร์ฟเวอร์นี้เองที่คอยเป็น
    คนบริการให้ผู้ใช้แลนสามารถดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์กองกลางมาใช้หรือทำงานได้ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังอาจ
    สามารถใช้พรินเตรอ์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งหมายถึงเครื่องพิมพ์ธรรมดาที่ต่ออยู่กับพีซีเครื่องหนึ่ง เพื่อทำงานพิมพ์โดย
    เฉพาะ หรือออาจะหมายถึงเครื่องพิมพ์ที่มีการออกแบบให้ใช้กับแลนโดยเฉพาะก็ได้ โดยภายในเครื่องพิมพ์จะมีการใส่ระบบพีซีรวมเข้าไว้แล้ว
    คำศัพท์อีกคำที่น่ารู้จักภายในแลนก็คือ โหนด (none)ซึ่งหมายถคงเครื่องพีซีใด ๆ แต่ละเครื่องที่ต่อยู่กับ
    เลนโหนดต่าง ๆ เหล่านนี้จะมีการส่งข้อมูลให้กันและกันได้ โดยเลนจะทำหน้าที่นำข้อมูลจากพีซีโหนด
    หนึ่งไปสู่อีกโหนดหนึ่ง โดยเครื่องพีซีโหนดที่ไม่เกี่ยวจะไม่ได้รับข้อมูล แต่จะให้ได้รับพร้อมกันทุกโหนด
    หนึ่งไปสู่อีกโหนดหนึ่ง โดยเครื่องพีซีโหนดที่ไม่เกี่ยวจะไม่ได้รับข้อมูล แต่จะให้ได้รับพร้อมกันทุกโหนด
    ก็ได้ถ้าผู้ใช้ต้องการ สำหรับรายละเอียดของเลนชนิดต่าง ๆ จะกล่าวถึงต่อไปนี้
    กลับสู่ด้านบน


    บัสเน็ตเวิร์ก (Bus Network)
    1. ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นระบบรถเมล์ประจำทาง ซึ่งวิ่งประจำหรือไม่ประจำแล้วแต่ ข้อสำคัญก็คือ ใครจะเข้ามาใช้ก็ได้ทั้งสิ้น ไม่เลือกชั้นวรรณะ ใครมาถึงก่อนก็ใช้ก่อน และสามารถเข้าถึงไดด้วยกันก็คือ ไปยืนรอที่ป้ายรถเมล์ จากรูป เราก็จะเห็นว่าพีซีทุกเครื่องสามารถเข้าถึงระบบบัสได้เท่า ๆ กัน ไม่มีวรรณะ บัสมีลักษณะเป็นสายยาวที่ทำให้โหนดทุกตัวต่อถึงกันได้หมด โดยแต่ละโหนดจะมีแอดเตรสเฉพาะ มีอุปกรณ์รับ ข้อมูล (transceiver)
    ซึ่งก็อยู่บนการ์ดเลนนั่นเอง ข้อสังเกตการ์ดเลนชนิดเดียวกันนี้ ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือกับพีซีธรรมดาก็ได้ไม่แตกต่างกัน
    2. เมื่อเครื่องที่โหนด C ต้องการส่งข้อมูลให้กับโหนด E มันจะกระจายสัญญาณออกไปทั่วทั้งสายบัส โดยสัญญาณข้อมูลที่มันกระจายออกไปทั่วบัสนั้น ประกอบด้วยแอดเดรสของผู้รับและผู้ส่งตัวข้อมูลจริง และข้อมูลสำหรับตรวจสอบความผิดพลาด
    3. แต่ะละโหนดจะตรวจสอบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นของตนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็จะไม่สนใจ
    4. เมื่อโหนด E ตรวจจับได้ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นของตน มันจะอ่านข้อมูลเข้ามาและส่งสัญญาณให้กับผู้ส่งได้รับรู้ว่าตนได้รับข้อมูลแล้ว ซึ่งข้อมูลนั้นจะประกอบด้วย แอดเดรสของผู้ส่ง และข้อความบางอย่าง
    5. กรณีที่โหนดตั้งแต่ 2 โหนด ส่งข้อมูลออกมาพร้อม ๆ กันหรือเกิดการชนกันของข้อมูล ทำให้เกิดการกวนกันของสัญญาณข้อมูล ซึ่งผู้ส่งทั้งสองจะสามารถตรวจจับปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
    กลับสู่ด้านบน

    โทเคนริงเน็ตเวิร์ก (Token - Ring Network)
    1. ทุกโหนดในเน็ตเวิร์กชนิดนี้ต่อเข้ากับวงจรเดียวกัน ภายในวงจะมีโทเคน (Token) เพียง 1 ชิ้น เสมือนเหรียญเงินที่หมุนทอยทั่ววงเน็ตเวิร์ก เพื่อคอยรับพ่วงข้อมูลจากโหนดหนึ่งไปสู่อีกโหนดหนึ่ง อนึ่งขณะที่ยัง ไม่มีโหนดไหนต้องการส่งข้อมูลโทเคนจะว่างและสั้น มีเฉพาะข้อมูล
    ที่บอกว่าโทเคนกำลังว่างอยู่โทนเคน หนึ่งเดียวนี้จะวิ่งเข้าไปหาแต่ละโหนด เข้าไปที่การ์ดแลนแต่ละการ์ด ออกมาแล้วเข้าไป
    อีกการ์ดหนึ่งเช่นนี้เรี่อย ไปและเป็นวงรอบไม่สิ้นสุด
    2. เมื่อโหนดหนึ่ง ๆ ต้องการส่งข้อมูล โหนดจะนำโทเคนซึ่งงวิ่งผ่านมันเข้ามาแก้ไขข้อมูลกำหนดสถานะของโทเคนว่าได้ถูกใช้แล้ว (แสดงว่าโหนดอื่นห้ามใช้ในช่วงนี้) พร้อมทั้งนำข้อมูลใส่พ่วงท้ายโทเคนนั้นนำข้อมูลใส่พ่วงท้ายโทเคนนั้นด้วย ตัวข้อมูลนี้ประกอบด้วยแอดเดรสหรือ
    ที่อยู่ของผู้รับข้อมูลจริง และรหัสตรวจสอบความผิดพลาด
    3. ในการส่งข้อมูล สัญญาณไฟฟ้ามักจะถูกลดทอนสัญญาณไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น ถูกลดทอนเพราะความต้านทานของสายไฟ หรือวงจรไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อโทเคนผ่านการ์ดแลนของโหนดใด โหนดนั้นจะมีหน้าที่เป็นผู้ทวนสัญญาณด้วย เพื่อคงรักษาแรงดันสัญญาณให้คงที่สม่ำเสมอตลอดเวลา
    4. โหนดที่ไม่ได้เป็นผู้รับจะไม่มีสิทธิ์รับข้อมูลที่มากับพ่วงโทเคนไว้ ครั้นเมื่อผ่านการ์ดแลนของโหนดที่เป็นผู้รับโหนดผู้รับจะทำการรับ
    ข้อมูลจากนั้นส่งผ่านโทเคนให้หมุนต่อไป
    5. เมื่อโทเคนย้อนกลับมาสู่โหนดผู้ส่งโหนดจะลบข้อมูลออก พร้อมรีเซ็ดข้อมูลแสดงสถานะของ โทเคนให้แสดงว่า "ว่าง" อีกครั้ง
    กลับสู่ด้านบน

    สตาร์เน็กเวิร์ก (star Network)
    1. โหนดของเน็ตเวิร์กชนิดนี้ ต่อในลักษณะกระจายออกจากสถานีศูนย์กลางหรือฮับ (hub) ทุกโหนดจะมีสายไฟฟ้าสำหรับต่อเข้ากับฮับโดยแยกต่างหาก ไม่ได้ใช้ร่วมกันเหมือนแบบที่แล้ว ๆ มา
    2. แต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลออกมาพร้อมกันได้ โดยข้อมูลจะประกอบด้วยข้อมูลจริง แอดเดรสของผู้รับและรหัสตรวจสอบความผิดพลาด
    3. สถานีศูนย์กลางมีหน้าที่สวิตซ์หรือสับรางให้แต่ละโหนดเชื่อมเข้าหากันตามแอดเดรสที่ข้อมูลนั้นต้องการไป โดยจะสับรางให้ข้อมูลผ่านมันได้ครั้ง
    ละหนึ่งชุดเท่านั้น เพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดการชนกันภายในสถานีศูนย์กลาง
    4. เพื่อป้องกันโหนดใดโหนดหนึ่งจองใช้สถานีศูนย์กลางตลอดเวลา ทำให้โหนดอื่นไม่ได้ใช้สถานีสับรางจะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลท่อนสั้น ๆ เท่านั้นสำหรับข้อมูลที่เหลือจากการส่งในครั้งแรก จะต้องรอจนกว่า สถานีศูนย์กลางจะอนุญาตในครั้งต่อไป
    กลับสู่ด้านบน

    เน็ตเวิร์กสื่อสารกันอย่างไร?

    การส่งข้อความบนเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายหนึ่ง ๆ ไม่ได้เป็นกระบวนการง่าย ๆ แค่เพียงแต่ส่งอักษรเท่านั้นการสื่อสารของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มักจะเกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลากชนิด
    ทั้งพีซี เครื่องแมคอินทอช (macintosh) เมนเฟรม หรือมินิ ซึ่งล้วนมีมาตรฐานการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของ
    ตนเองไม่เหมือนผู้อื่นดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเราสามารถส่งข้อมูลข้ามเครื่องได้จริง จึงทำให้มีการกำหนด
    มาตรฐานอะไรสักอย่างที่เครื่องทุกแบบเข้า ใจเป็นสากลและสามารถปฏิบัติตามได้ จุดนี้จึงเป็นที่มาของโมเดล OSI (Open System Interconnection) โมเดล 7 ชั้นที่ประกอบด้วยมาตรฐานแบบแผน (scheme)
    ที่ระบุถึงชนิด ลักษณะการทำงาน (operation) และวิธีการประยุกต์ใช้ (implementation) ซึ่งบอกว่าเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ยี่ห้อหรือชนิดอะไร อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิด
    อนึ่ง รูปแบบของ OSI นั้นจะแบ่งความซับซ้อนของเน็ตเวิร์กออกเป็นชั้น ๆ ตามหน้าที่และบทบาทของมันแต่ละชั้นหรือเลเยอร์ (Layer) ของ OSI จะสามารถติดต่อหรือให้บริการโดยตรงเฉพาะกับชั้นที่อยู่ด้านบนและล่างของมันเท่านั้น ไม่สามาถกระโดดติดต่อข้ามชั้นได้

    การสื่อสารของเน็ตเวิร์ก
    1. ชั้นบนสุดหรือแอปพลิเคชั่นเลเยอร์ (application layer) เป็นเพียงฉากเดียวของการสื่อสารที่ผู้ใช้จะ
    สามารถเห็นได้ ผู้ใช้จะไม่มีทางรู้ว่าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นได้เตรียมข้อมูลเพิ่อส่งไปตามเครือข่ายอย่างไร หน้าที่ของเลเยอร์ชั้นบนสุดนี้ก็คือ การแปลงข้อความที่มนุษย์อ่านออกเข้าใจได้ให้เป็นข้อมูลเชิงบิต
    (ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ) และใส่เฮดเดอร์(header) ที่ระบุถึงคอมพิวเตอร์ผู้รับและผู้ส่งเท่านั้น
    2. พรีเซนเตชันเลเยอร์ (presentation layer) ดูแลข้อมูลให้เป็นอยู่ในรูปแบบที่ซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ เครื่องรับสามารถทำความเข้าใจได้ เลเยอร์นี้จึงทำหน้าที่แปลภาษา ย่อขนาดข้อมูล หรือกระทั่งเข้ารหัสหลับข้อมูล นอกจากนี้มันยังใส่เฮดเตอร์เพิ่มเติมเพื่อระบุรูปแบบของภาษาชนิดและวิธีการเข้ารหัส หรือย่อขนาดข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ปลายทางรับรู้ด้วย
    3. เซลซันเลอเยอร์ (session layer) เป็นผู้เปิดการสนทนาหรือการสื่อสาร โดยจะกำหนดขอบเขตการสนทนาว่า
    จุดไหนคือจุดสุดท้ายของการสนทนา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดด้วยว่าจะคุยสนทนา ในลักษณะใด แบบพูดทีละคน (half - duplex) หรือแบบแย่งพูดพร้อมกัน (full - duplex) รายละเอียดประเภทนี้จะถูกบรรจุไว้
    ในเฮดเตอร์ที่สร้างจากเลเยอร์นี้อีกที
    4. ทรานสปอร์ตเลเยอร์ (transport layer) ทำหน้าที่ป้องกันข้อมูลไม่ให้เกิดความผิดพลาด สร้างข้อมูลตรวจสอบ
    ความผิดพลาดที่เรียกว่า checksum (เป็นการบวกทางคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่งซึ่งสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ภายในข้อมูล) มีหน้าที่สร้างชุดสำเนาหรือแบ็กอัปเผื่อในกรณีต้องส่งข้อมูลซ้ำอีกครั้ง เฮดเดอร์ที่เกิดจากเลเยอร์นี้จะ
    ระบุตำแหน่งและลำดับที่ของข้อมูลซ้ำอีกครั้ง เฮดเดอร์ที่เกิดจากเลเยอร์นี้จะระบุตำแหน่งและลำดับที่ของ
    ข้อมูล checksum ที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของข้อมูล
    5. เน็ตเวิร์กเลเยอร์ ทำหน้าที่แยกข้อมูลที่ต่องเรียงกันเป็นสายยาว ให้อยู่ในรูปของแพ็กเกต หรือเป็นท่อน ๆ โดยแต่ละท่อนจะมีการใส่เฮดเดอร์ระบุลำดับที่ของแพ็กเกจ และแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ผู้รับ ในเน็ตเวร์ก
    6. เดต้าลิงก์เลเยอร์ ทำหน้าที่แนะนำวิธีการส่งข้อมูล จะทำการแบ่งข้อมูลออกเป็น 8-N-1 หรือ 7-E-1 ตามแต่โปรแกรมสื่อสารข้อมูลจะระบุ (8=ข้อมูลชนิด 8 บิต , N=ไม่มีพาริตี้บิต ถ้าเป็น E=even parity bit, 1=ใช้ 1 บิตหยุด) นอกจากจะแบ่งข้อมูลและสร้างรหัสตรวจเช็กข้อมูลแบบพาริตี้แล้ว ยังทำสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าข้อมูลที่ส่งไปจะถึงมือผู้รับโดยไม่เสียหาย
    7. ฟิสิคัลเยอร์ (physical layer) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิดอลให้สามารถส่งผ่านตัวกลางแต่ละชนิดไปได้ เช่น แปลงเป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งไปตามสายโทรศัพท์
    8. โหนดชั่งคราว (intermediate node) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ จากนั้นส่งต่อข้อมูลไปยังโหนดอื่น การส่งต่อจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โหนดนี้จะทำหน้าที่ดูด้วยว่าจราจรบนสายเน็ตเวิร์กพร้อมใช้หรือไม่ด้วย
    9. ที่โหนดผู้รับจะแปลงข้อมูลจากเลเยอร์ล่างสุด ย้อนขึ้นบน ฟิสิคัลเยอร์แปลงสัญญาณให้อยู่ในรูป "บิต" เดต้าลิงก์ตรวจสอบข้อมูล ส่งสัญญาณยืนยันกลับว่าได้รับข้อมุลแล้ว รวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแพ็กเกต เน็ตเวิร์กเลเยอร์นับจำนวนแพ็กเกตว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วรวมแพ็กเกตให้อยู่ในรูปแบบเซกเมนต์ทรานสปอร์ต เลเยอร์ตรวจความถูกต้องโดยเทียบกับข้อมูล checksum ที่ส่งมา จากนั้นตัดข้อมูลตรวจสอบออกจากเซกเมนต์
    ของข้อมูล เซสซันเลเยอร์ศึกษาวิธีการพูดคุย แล้วรักษาข้อมูลไว้จนกว่าเลเยอร์ต่อไปได้รับข้อมูลเรียบร้อย
    พรีเซนเตชันเลเยอร์ถอดรหัสหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เข้าใจ
    แล้วส่งให้แอปพลิเคชั่นเลเยอร์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่คนเข้าใจ
[<< Back to Golf's Homepage ]