๑๗.ศาสนาคริสต์สอนให้รักคนอื่นเหมือนกับรักตนเองแต่ศาสนา
พุทธสอนให้อยู่คนเดียวเป็นการเห็นแก่ตัวเอาตัวรอดใช่ไหม?
        คนโบราณนั้นท่านมีความคิดเห็นคมคายมาก เมื่อท่านเห็นว่าใครพูดอะไรโดยขาด
เหตุผลความเป็นจริงท่านจะตำหนิว่า  "ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด"
        เรื่องปัญหาข้างต้นนั้นเป็นการพูดแบบมองไม่ตลอดสายทั้งฝ่ายศาสนาคริสต์และพระ
พุทธศาสนา เพราะคำสอนระดับศาสนานั้นจะต้องมองให้ตลอดสายว่าอะไรเป็นอะไร
และเป็นคำสอนในระดับใด จึงจะไม่เกิดความสับสนในการทำความเข้าใจสำหรับการ
สร้างความรู้สึกต่อคนอื่นนั้นพระพุทธศาสนาไม่สอนเพียงแต่ให้สร้างความรู้สึกอันดี
ต่อคนเท่านั้น แต่ก้าวไกลไปถึงสรรพสัตว์โดยใช้คำว่า
สพเพ สตตา แปลว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
        แต่ท่านไม่ใช้คำว่าให้สร้างความรัก เพราะความรักนั้นในความหมายของพระพุทธ
ศาสนาท่านใช้คำว่า เปมะ แปลว่า ความรัก มีลักษณะที่ไม่ควรสร้างให้มากนักเพราะว่า
        "ความรักมีลักษณะต้องการได้รับการตอบสนองคือให้คนอื่นรักตนตอบถ้าเขาไม่รัก
ตอบก็กลายเป็นโทสะคือความโกรธ ประทุษร้าย ในลักษณะที่เรียกกันว่า รักมากแค้นมาก หากคนหรือสิ่งที่รักพลัดพรากจากไปจิตจะกลายเป็นความเศร้าโศกแต่ในกรณีที่รักมากไป
จิตก็จะกลายเป็นอคติคือมีความลำเอียงเพราะเหตุว่ารักใคร่กัน"
        พระพุทธศาสนาสอนให้คนมี
        เมตตา คือความปรารถนาดีต่อกันต้องการที่จะเห็นคนและสัตว์ทั้งหลายอยู่อย่าง
ไม่มีเวรมีภัยไม่เบียดเบียนกัน มีความสุขตามสมควรแก่ฐานะของตน
        กรุณา คือเหมือนเห็นคนอื่นเศร้าโศกประสบความผิดหวังเป็นต้น ก็ช่วยเหลือเขาตาม
กำลังที่จะช่วยได้
        มุทิตา  ในกรณีที่เห็นคนอื่นเขาได้รับความสุขความเจริญให้แสดงความยินดีต่อเขา
แทนที่จะไปริษยาเขา
        ในกรณีที่คนสัตว์ที่เราควรจะแสดงเมตตา กรุณา มุทิตา นั้นต้องประสบความพิบัติ
ไม่อยู่ในวิสัยที่จะใช้ธรรมะอีก๓ ข้อนั้นได้ ท่านสอนให้ทำใจเป็น
        อุเบกขา คืออย่าไปแสดงความยินดีหรือยินร้ายในความพิบัติอันนั้นของเขาด้วย
การทำความรู้สึกว่า
        "คนเรามีกรรมเป็นของๆตนจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม
เป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยใครทำกรรมอันใด ไว้ดีหรือชั่วก็ตามเขาจะต้อง
เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น"
        การทำความรู้สึกได้เช่นนี้ จะช่วยให้คนไม่ต้องไปว้าวุ่นในสิ่งที่ตนไม่อาจทำอะไร
ได้ทั้งเป็นการป้องกันจิตตนไว้ไม่ให้ตกไปเป็นอคติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ ประการ คือ
        ลำเอียงเพราะรักใคร่กันเป็นการส่วนตัว เรียก ฉันทาคติ
        ลำเอียงเพราะไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว เรียก โทสาคติ
        ลำเอียงเพราะความกลัวเป็นเหตุ             เรียก ภยาคติ
        ลำเอียงเพราะความเขลา                        เรียก โมหาคติ
        สำหรับในกรณีที่สอนให้อยู่คนเดียวนั้นใช้ในกรณีที่ต้องการบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อ
เสริมสร้างพื้นฐานทางจิตให้อยู่ในสภาพพร้อมจะใช้เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เป็นต้นตามสมควรแก่สัตว์แก่บุคคล จนถึงทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเสลในที่สุดเท่านั้น
เมื่อปรับจิตได้แล้วหรือ แม้เมื่อสละกิเสลจนจบสิ้นหน้าที่ส่วนตนแล้ว เวลาแห่งชีวิต
ต่อจากนั้นได้ใช้ไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์เป็นหลัก
เป็นธรรมดาประการหนึ่ง คือจะเป็นใครก็ตามหากต้องการทำตนให้เป็นประโยชน์
แก่ตนเองและสังคม เขาจะต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งแห่งชีวิตเพื่อสร้างคุณสมบัติอันเหมาะสม
สำหรับทำงานเพื่อสังคมในช่วงนั้น คนที่สติสัมปชัญญะมีเหตุผลมากพอจะไม่ว่าเขา
เห็นแก่ตัวหรือเอาตัวรอดแน่

๑๘.ศาสนาของพระเจ้าย่อมดีกว่าศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนา
ของคน
        เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับศรัทธาของคนแต่ละศาสนา ซึ่งนักศาสนาที่ดีไม่ควรก้าวก่ายวิจารณ์
นอกจากการเปรียบเทียบตามหลักของศาสนาเปรียบเทียบ แต่ไม่ควรจะทำในเชิงยกตน
ข่มท่านให้เสียคุณลักษณะของศาสนิกที่ดีในศาสนานั้นๆ ในทัศนะของชาวพุทธนั้นย่อม
มีความภาคภูมิใจในการที่ศาสดาของตนเป็นคนๆหนึ่งที่ใช้ความเพียรพยายามแบบ
คนประสบความสำเร็จแบบคน

ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาโดยมนุษย์ ของมนุษย์ เพื่อมนุษย์
        จากความรู้สึกนี้นำไปสู่ความเข้าใจว่าคนเราด้วยกันย่อมเข้าใจกันและกันดีคำว่า
ศาสนาอาจหมายถึงการปกครองด้วยก็ได้ ดังนั้นศาสนาที่ตรัสรู้และสั่งสอนโดยคนนั้น
จึงเป็นเหมือนกับ
        "ประเทศไทยที่มีคนไทยเป็นประมุข  มีคนไทยทำการบริหาร  มีคนไทยเป็นข้า
ราชการ  มีคนไทยอยู่ภายใต้การปกครองย่อมจะดีกว่ามีคนต่างชาติมาเป็นประมุข  มีคนต่างชาติมาบริหาร  แต่มีคนไทยเป็นผู้ถูกปกครอง"
        หากใครจะชอบอย่างหลังก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริงๆแต่คนไทยทั่วไปคงไม่ยินดี
ด้วยกับการปกครองแบบนั้น คนที่นับถือพระพุทธศาสนามีความรู้สึกอย่างนี้จึงไม่รู้สึก
ว่าตนมีปมด้อยที่ควรน้อยใจแต่ทั้งศาสนา ศาสดา สถาบันต่างๆทางศาสนาล้วนแต่
ก่อให้เกิดความภาคภูมิแก่คนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาในความเป็นคนธรรมดาๆนี้เอง

๑๙.พระพุทธศาสนาสอนให้พึ่งตนเองช่วยตนเองสู้พึ่งพระเจ้า
ไม่ได้ พึ่งตนเองดีกว่า หรือพึ่งพระเจ้าดีกว่า?
        การเปรียบเทียบว่าอะไรดีกว่าอะไรนั้น ย่อมขึ้นกับความพอใจ ศรัทธาของคนๆนั้น
เป็นสำคัญเหมือนเราถาม "ระหว่างปลาร้า กับ น้ำมูดูอะไรอร่อยกว่ากัน"
        ถามคนอีสานก็ต้องตอบว่า น้ำมูดูอร่อยสู้ปลาร้าไม่ได้คนทางสงขลา ปัตตานี ก็ต้องตอบว่า น้ำมูดูอร่อยกว่า พอมาถามคนภาคกลางเข้าเขาอาจจะตอบว่า
"ผมว่าสองอย่างนั้น สู้น้ำพริกปลาทูไม่ได้นะ"
        เรื่องการพึ่งสิ่งที่ตนเคารพเป็นสรณะก็เหมือนกัน ใครมีความศรัทธามีความฝังใจ
ในศาสนาธรรมของศาสนาใด ก็ชอบที่จะยึดมั่นในศาสนาของตนและที่ไม่ควรลืม คือ
พระพุทธเจ้านั้นทรงอยู่ในฐานะผู้บอกทางแห่งความสุขอันควรเดินไป กับทางแห่งความ
ทุกข์อันควรละเว้นให้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่ตนจำนงหวังเป็นเรื่องที่แต่
ละคนจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่มีการดลบันดาลในพระศาสนานี้จะรักษาคุ้ม
ครองเป็นที่พึ่งของคนได้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่า
        "พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเหมือนร่มใหญ่ป้องกันคนผู้กั้นร่มไม่ให้เปียกฝน
ในเวลาฝนตกฉะนั้น"
        แม้ว่าจะมีร่มอยู่ในมือหากไม่กั้นร่มไว้เหนือศีรษะเวลาเปียกฝนจะไปตำหนิร่มไม่ได้
ฉันใดพระธรรมในพระศาสนานี้จะรักษาได้เฉพาะผู้ประพฤติธรรมฉันนั้น
        แม้พระเจ้าเองก็เถอะอย่างที่เคยกล่าวมาในข้อก่อนว่า

"จงช่วยตัวของเจ้าก่อนแล้ว พระเจ้าจึงจะช่วยเจ้า"
        ถ้าพระเจ้าสามารถช่วยแม้คนที่ไม่พร้อมจะช่วยตนเองได้แล้ว ลูกของพระเจ้าสองพระ
องค์คงไม่ทำสงครามล้างผลาญกันอยู่ในเลบานอนในปัจจุบันนี้หรอก
        ข้อนี้หาได้เป็นความบกพร่องของพระเจ้าไม่แต่เพราะลูกหลานเหล่านั้นไม่ยอมช่วย
ตนเองก่อนเลยแล้วจะโทษใครกันเล่า ?