๔๕.พุทธศาสนิกชนโง่หรือฉลาดที่ไปกราบไหว้อิฐ ปูน ต้นไม้ และการกราบไหว้พระพุทธรูปจะจัดเข้าในประเภทบูชารูปเคารพ
หรือไม่ ถ้าไม่ ต่างกันอย่างไร ?
        ความโง่ฉลาดของคนนั้นไม่ได้วัดกันด้วยการกระทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
แต่ต้องมองกันในหลายๆด้านด้วย คนเรานั้นอาจฉลาดในเรื่องหนึ่ง แต่กลับโง่อย่างหนัก
ในอีกเรื่องหนึ่งก็ได้
        หากอิฐ ปูน เป็นซากของสถานที่สำคัญ เช่นสังเวชนียสถานก็แสดงว่าเขาไม่ได้ไหว้
อิฐ ปูน แต่ไหว้เพราะอาศัยอิฐปูนนั้นเป็นสื่อ ให้น้อมรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์
เช่นเดียวกับการไหว้พระพุทธรูป เจดีย์ อื่นๆ
        หากเป็นการไหว้ อิฐ ปูน ธรรมดา นึกไม่ออกว่าใครจะไปไหว้ทำไม ?
        ถ้าจะว่าเป็นกรณีของพระพุทธปฏิมาที่สร้างด้วยอิฐ ปูน ในขณะไหว้ใครคิดว่า
ตนเองไหว้อิฐปูน ก็ต้องจัดว่าเป็นบรมโง่ทีเดียว
        พระพุทธรูปไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยอะไร ก็ตามรวมถึงพระเจดีย์ไม่ว่าจะเป็นธาตุเจดีย์
ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์หรือ อุทเทสิกเจดีย์ก็ตาม ล้วนแต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึก
ถึงพระพุทธเจ้า เวลาไหว้ใจคนจะน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยอาศัยสิ่ง
เหล่านั้นเป็นเครื่องกระตุ้นให้ระลึกถึง
        ทำไมจึงต้องสร้างเป็นรูปวัตถุเช่นนั้น?
        เพราะพระพุทธคุณเป็นนามธรรม โดยหลักทั่วไปแล้วการระลึกถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม
ล้วนๆ สำหรับคนทั่วไปแล้วทำได้ยาก เหมือนระลึกถึงคุณของพ่อแม่ หากจะมีรูปท่านอยู่
ด้วยจะให้ความรู้สึกแปลก คือ ให้ความซาบซึ้งมากกว่าที่จะคิดถึงในเชิงนามธรรม
ล้วนๆ แต่เมื่อว่าตามความจริงแล้วคนหาได้คิดอยู่เพียงรูปถ่ายของท่านไม่ รูปถ่ายท่าน
เป็นเพียงสื่อให้คิดได้ดีขึ้นเท่านั้นเอง เรื่องการกราบไหว้พระพุทธรูป เจดีย์ ที่สร้าง
ด้วยอะไรก็ตาม ผู้ไหว้หาได้ติดอยู่เพียงรูปเหล่านั้นไม่ รูปเหล่านั้นจึงทำหน้าที่เป็นสื่อทาง
จิตเพื่อได้อาศัยรำลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระพุทธคุณ
       ด้วยเหตุนี้การกราบไหว้พระพุทธรูป จึงไม่เหมือนการไหว้กราบรูปเคารพ
อย่างที่พวกนับถือรูปเคารพกระทำกัน
        ทำไมจึงไม่เหมือนกัน
        เพราะพวกสร้างรูปเคารพนั้น ผู้ที่ตนนำมาสร้างเป็นรูปไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงเป็น
แต่คิดฝันขึ้น บอกเล่าสืบต่อกันมา ส่วนมากจะเกิดขึ้นจากพวกที่ต้องการประโยชน์จาก
ความนับถือรูปเคารพเหล่านั้นของคนทั้งหลาย คนนับถือรูปเคารพจึงนับถือเพราะ
       "ความไม่รู้ จึงเกิดความกลัว"
        การไหว้รูปเคารพจึงเป็นการกระทำเพื่อ
        ๑.ประจบเอาใจรูปเคารพเหล่านั้นไม่ให้ท่านโกรธ
        ๒.ต้องการอ้อนวอน บวงสรวง ให้ท่านประสิทธิ์ประสาทสิ่งที่ตนต้องการและพิทักษ์
รักษาตน พร้อมด้วยบุคคลที่ตนต้องการให้รักษา
        แม้ว่าบุคคลบางคนจะไหว้พระพุทธรูป เพื่อต้องการขอสิ่งที่ตนต้องการอยู่บ้าง
แต่ไม่มีลักษณะของการประจบเอาใจต่อพระพุทธรูป เพื่อไม่ให้ท่านโกรธอย่างที่พวก
นับถือรูปเคารพกระทำกัน พระพุทธรูปจึงไม่เหมือนกับรูปเคารพอย่างที่บางคนเข้าใจกัน.

๔๖.ชาวพุทธเป็นคนเกียจคร้าน ไม่จริง คือไม่เอาจริง
        ความเกียจคร้านเป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องการความสะดวก
สบาย กิน นอน เที่ยว อยากได้อะไรก็ขอให้ได้มา โดยไม่ต้องใช้ความเพียรพยายามจน
เกิดเป็นลัทธิสวดอ้อนวอน บวงสรวง ขอในสิ่งที่ตนต้องการจากสิ่งที่ตนเคารพนับถือ
แม้ว่าคนเจริญมาถึงมีศาสนา การขอร้องอ้อนวอนก็ยังมีอยู่
        แม้ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นอันมาก เช่นเครื่องคิดเลข ก็เป็นการผลิตขึ้น
เพื่อสนองความต้องการสะดวกสบายของคน เมื่อความเกียจคร้านเป็นสัญชาติญาณ
ปกติของคน จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะนำมาเกี่ยวกับศาสนาใด เพราะคนเกียจคร้านมี
ทุกศาสนา แต่คำสอนให้คนเกียจคร้านไม่มีในศาสนาของโลกทุกศาสนา
        ดังนั้นในด้านของความเป็นจริงแล้ว เราต้องยอมรับว่าทุกศาสนาสอนให้คนช่วยตน
เองมีความหมั่นขยัน เสียสละ เป็นต้น หากคนในศาสนานั้นๆจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
กับที่ศาสนาได้สั่งสอนไว้ ก็เป็นเรื่องของคนไม่เกี่ยวกับศาสนาแม้แต่นิดเดียว.

๔๗.คนไทยเป็นชาวพุทธเกือบทั้งประเทศแต่ทำไมจึงมีคน
ดื่มเหล้ากันมาก และมีขโมยมาก ข้อนี้แสดงว่าศาสนาพุทธ
ยังไม่ดีจริง ?
        อ้าว ทำไมว่าอย่างนั้นละ? ไม่ขาดเหตุผลไปหน่อยหรือ ?
        เรื่องคนไทยในประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนากันเกือบทั้งประเทศนั้นจริงอยู่
แต่เราไม่ควรลืมว่าการลักขโมยก็ดี การดื่มสุราก็ดี เป็นข้อห้ามในพระพุทธศาสนา
การที่คนไม่ทำตามศาสนาที่ตนนับถือ เราจะถือว่าเป็นความผิดของคนหรือศาสนาละ ?
        ข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างดังนี้ ภายในแผ่นดินนั้นมีทรัพยากรอันมีค่ามหาศาล ใครๆก็
ทราบ แต่ไม่มีใครนำเอาทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ คนคงยากจนขัดสน
เหมือนเดิม เราจะถือว่าการที่คนยากจนนั้นเป็นความผิดของแผ่นดินหรือ  ?
        เรื่องข้อห้ามทางศาสนาและคำสอนในทางศาสนาก็เช่นเดียวกัน ศาสนาและผู้เผย
แผ่ศาสนา ทำได้เพียงชี้ทางแห่งความเสื่อมและความเจริญให้เหมือนหมอตรวจโรคพบ
สมุฏฐานแล้วจ่ายยาให้แก่คนป่วยกำหนดให้รับประทานตามขนาดตามเวลา แต่คนป่วย
กลับไม่นำพา เมื่อเขาไม่หายจากโรคหรืออาการของเขาหนักขึ้น เราจะถือว่าเป็นความ
ผิดของหมอของยาหรือ ? เรื่องศาสนาดีจริง แต่ผลเสียทางสังคมที่ออกมานั้นเป็นเพราะ
        "คนทำดีไม่ถึงหลักของศาสนา แม้เพียงศีล ๕ประการก็มีคนรักษาได้น้อย"
        ปัญหาเรื่องอาชญากรรมต่างๆนั้น สาเหตุของปัญหามีหลายด้าน เราจะพุ่งไปที่ด้าน
ใด ด้านหนึ่งไม่ได้ เช่นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา เป็นต้น การแก้จึง
ควรแก้ในหลายๆด้าน และต้องมีการร่วมมือประสานงานกัน ไม่ใช่มาคอยนั่งค่อนขอด
นินทากันอยู่ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ใครเลย.

๔๘.ทำอย่างไรจึงจะทำให้ชาวบ้านเข้าวัด ไม่เบื่อวัด หรือเข้าใจ
ผิดในการเข้าวัดเหมือนในขณะนี้ ?
        เอคำถามนี้ออกจะชอบกลอยู่นาไม่เข้าใจว่า ผู้ถามมีความเข้าใจคำถามของตน
อย่างไรบ้างเพราะว่าโดยปกติแล้วคนที่เข้าวัด ย่อมไม่เบื่อวัด การที่เขาพยายามสละกิจ
การงานของตนไปวัด เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าเขามิได้เบื่อวัด ถ้าเขาเบื่อเขาก็ต้อง
ไม่เข้าวัด การที่เขาเข้าวัดแสดงว่าเขาไม่เบื่อการกระทำมีการยืนยันความรู้สึกอยู่
อย่างนี้จะให้เขาเข้าว่าอย่างไร ?
        ในกรณีของคนบางคนที่แสดงออกมาว่าตนเบื่อวัดไม่อยากเข้าวัดนั้นอาจจำแนก
ออกได้หลายพวก เช่น
       - พวกที่พูดเพื่อแสดงว่าตนนั้นดีวิเศษเหลือเกิน วัดเป็นสถานที่ไม่คู่ควรแก่การเข้า
ไปของตนจึงบอกว่าตนเบื่อวัด
       - พวกที่ไม่พร้อมจะเข้าวัดเพราะการงาน หรือเพราะการอยากสนุกเป็นต้นแต่หาก
จะอ้างอย่างนั้นทำให้มีข้อโต้แย้งได้ จึงโยนความไม่ดีไปให้วัดเป็นทำนองว่า
        ที่จริงฉันนะมีศรัทธาในศาสนามากอยากเข้าวัด เมื่อก่อนเคยเข้าประจำแต่เห็น
ความไม่เหมาะสมไม่ควรภายในวัด จึงเบื่อไม่อยากเข้าว่าเขานั่น พวกนี้คือองุ่นเปรี้ยว
อย่างที่รู้ๆกัน
        -พวกหนึ่งนั้นเป็นคนมีอัธยาศัยประณีตเข้าไปในวัด เห็นความไม่เรียบร้อย เช่นการ
วางตัวไม่เหมาะสมของผู้ที่อยู่ในวัด วัดขาดความเป็นระเบียบสกปรกรกรุงรัง การเรี่ยไร
หลายรูปแบบที่น่าเลื่อมใสบ้าง ไม่น่าเลื่อมใสบ้างซึ่งส่วนมากแล้ว ไม่น่าเลื่อมใส
การขัดแย้งผลประโยชน์กันในด้านต่างๆของพวกที่ไม่เข้าถึงหลักอันแท้จริงของศาสนา
ตลอดถึงการอรรถาธิบายธรรมออกนอกแนวทางพระศาสนาเป็นต้น
        เนื่องจากเป็นคนรักพระศาสนาปรารถนาที่จะเห็นความเรียบร้อย สวยงาม เหมาะสม
แก่ศาสนาสถานและศาสนาบุคคล เมื่อไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการจึงเกิดอาการเบื่อ
หน่ายไม่ต้องการที่จะเข้าวัด
        คนประเภทนี้เป็นพวกที่ควรแก่การสนใจที่สุดการจะแก้ไขนั้นอาจทำได้ด้วย
        ๑.หากสำนึกว่าศาสนานั้นไม่ใช่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาที่จะ
ต้องร่วมกันแก้ไข การปลีกตนออกไปจึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ควรร่วมมือกันแก้ไขด้วยเหตุผล
และวิธีการที่เหมาะสม
        ๒.คนที่อยู่ภายในวัดต้องสำนึกว่าตนเองเป็นเหมือนเจ้าหน้าที่ทางศาสนาต้องพฤติ
ตนและกระทำการต่างๆ ในส่วนที่เป็นความรับผิดชอบให้ดี
        ๓.พยายามอย่าใช้วิธีกล่าวโจมตีหรือเกณฑ์ให้คนนั้นคนนี้ทำเพียงอย่างเดียว ใครมี
ความรับผิดชอบศาสนาใด จุดใด ควรทำหน้าที่ของตนให้ดีตามควรแก่ฐานะนั้นๆ
        อย่าลืมว่าปัญหาที่เกี่ยวกับชาติศาสนานั้น เป็นปัญหาร่วมกัน การจะแก้จึงควรร่วมมือ
กันแก้ การถือว่าธุระไม่ใช่หรือชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์ ไม่ควรใช้ไปทุกกรณี หากทำได้เช่นนี้ผล
ดีจะเกิดขึ้นแต่อย่าเล็งผลเลิศจนถึงกับ
        "ต้องการจะให้ทุกคนที่นับถือศาสนาพุทธเข้าทำบุญในวัด เพราะเป็นไปไม่ได้และไม่มี
ความจำเป็นมากขนาดนั้น ขอเพียงให้คนสนใจในศีลธรรมปฏิบัติตามศีลธรรมกันตาม
ควรแก่ฐานะก็เป็นเพียงพอแล้ว"