๑.ในสมัยพระเวสสันดรปล่อยให้ให้พระนางมัทรีออกป่าหาอาหาร
 มาเลี้ยงเป็นการเอาเปรียบผู้หญิงและหาความสุขบนเรี่ยวแรง
ของผู้หญิงใช่หรือไม่?
       น่าสังเกตว่าในอดีตกาลไม่นานนักพระเวสสันดรเป็นภาพจำลองชีวิตของบุคคลที่ยึด
มั่นในอุดมคติอันสูงส่ง ใครๆก็นิยมฟังเรื่องพระเวสสันดรกันและต้องการที่จะเลียน
แบบพระองค์ จนเรื่องพระเวสสันดรชาดกกลายเป็นชาดกที่มีอิทธิพลในความรู้สึกนึกคิด
ของคนเป็นเวลานาน
       ความรู้สึกในทำนองอคติต่อพระเวสสันดรในอดีตไม่มีปรากฏแพร่หลายอย่าง
ปัจุจุบัน เมื่อคนจะพูดถึงพระเวสสันดรก็จะพูดด้วยความนิยมนับถือ แม้จะพูดในทำนอง
ปฏิเสธก็จะพูดในกรณีที่ตนทำไม่ได้ เช่นมีคนมาขออะไรในสิ่งที่ตนไม่อาจให้ได้
เขาจะปฏิเสธว่า         "ฉันไม่ใช่พระเวสสันดรนี่"
        แต่ในปัจจุบันมีคนมองพระเวสสันดรไปในทำนองอคติมากขึ้น คำถาม การพูดถึง เขียนถึงพระเวสสันดรที่ออกมาในทางลบเพิ่มขึ้น
        ทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนไปเช่นนี้
       ข้อที่เป็นไปได้อย่างยิ่งคือ คนสมัยก่อนนั้นท่านเข้าใจ การกระทำของพระเวสสันดร
ว่าท่านทำด้วยเจตนาอย่างไร ทำเพ่ออะไร การทำเช่นนั้นคนสมัยนั้นสามารถทำได้ ใน
ระดับหนึ่ง จึงมีแต่คนพยายามทำความดีให้ใกล้เคียงพระเวสสันดร คนในอดีตจึงมีความ
เห็นแก่ตัวน้อย
        ปัจจุบันคนเห็นแก่ตัวมากขึ้น การตัดสินคนอื่นจึงใช้ความนึกคิดของตนเป็นฐาน
การคัดค้านจึงเกิดขึ้นมาก
        การพูดถึงในอดีต เราต้องยอมรับทุกอย่างที่เป็นอดีตด้วย การที่พระนางมัทรีหา
อาหารมาถวายเราต้องมองจุดต่างๆ
        ๑.สังคมในสมัยนั้น งานอย่างนั้นเป็นงานของแม่บ้าน สามีมีหน้าที่หาทรัพย์
        ๒.พระเวสสันดรขณะนั้น เป็นฤาษี จึงเป็นสิ่งที่ผู้หวังบุญควรทำ
หากเหตุการณ์กลับกัน พระนางมัทรีอยู่อาศรม ให้พระเวสสันดรหาอาหาร ความดีงาม
ของพระนางจะหาได้จากที่ไหนกัน
๒.การที่พระเวสสันดรยกราชโอรสราชธิดาให้เป็นทานแก่คนอื่น
นั้นไม่เป็นการกระทำที่โหดร้ายเกินไปหรือ?
        การตัดสินว่าโหดร้ายหรือไม่นั้นต้องตัดสินที่เจตนาเพราะ"กรรมเป็นเครื่องส่อเจตนา"
เรื่องการให้โอรส ธิดา มเหสี เป็นทานมีคนวิพากย์วิจารณ์กันมากเหตุผลเหมือนกับที่กล่าว
ในข้อก่อนคือ "คนตัดสินปัญหาด้วยอาศัยการเห็นแก่ตัวของตนเป็นมาตรวัดการกระทำของ
คนอื่น"
        อันที่จริงการให้พระชาลี กัณหา เป็นทานแก่ชูชกนั้นพระเวสสันดรได้เผยเจตนา
ของพระองค์ ให้พระโอรสและพระธิดาทรงทราบแล้ว และทั้งสองพระองค์ก็เห็นด้วย
จึงยินยอมไปกับชูชกทั้งๆที่ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า
"เด็กๆสมัยก่อนสามารถเข้าใจเหตุผลเรื่องบารมีดีกว่าผู้ใหญ่บางคนในปัจจุบัน"
การให้โอรสธิดาเป็นทานของพระเวสสันดรจึงอาจสรุปได้เป็นประเด็นๆดังนี้
๑)เป็นเรื่องของปุตตทารบริจาค
อันเป็นทานบารมีระดับหนึ่งที่มีเงื่อนไขผูกพันอยู่กับการจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าคือ
พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นจะต้องมีพื้นฐานทางการ
เสียสละสูงมาก แม้ชีวิตก็อาจสละได้การให้บุตรธิดาเป็นทาน จึงเป็นเรื่องที่พระองค์
จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่งคือ
"ถ้าสามารถบริจาคบุตรธิดาเป็นทานได้ก็จะเป็นปัจจัยแห่งการตรัสรู้ได้หาก
สละไม่ได้ก็ไม่ได้ปัจจัยแห่งการตรัสรู้อันทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้เป็นพระ
พุทธเจ้าได้"
สรุปว่า
ถ้าต้องการเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยสัตว์โลกให้ได้ก็ต้องสละบุตรธิดาเป็น
ทานได้ หากสละบุตรธิดาเป็นทานไม่ได้ก็เป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้"
ซึ่งเงื่อนไขที่คนต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับคนที่มีอุดม
การณ์เพื่อทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อคนมาก เช่น ทหารผู้ต้องไปราชการสงคราม
ถ้าต้องการทำหน้าที่ของทหารก็ต้องทอดทิ้งลูกเมียไว้ที่บ้าน หากต้องการอยู่ที่บ้านก็เลิก
ไม่ต้องเป็นทหาร จะเป็นทหารผู้ปฏิบัติราชการสงครามอยู่ภายในบ้านด้วยนั้นไม่ได้
แม้คนทำงานเพื่ออุดมคติอย่างอื่นเช่น ตำรวจ แพทย์ พยาบาล ครู เป็นต้นก็ต้องเป็น
ผู้พบกับการเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ
๒)เป็นเหตุผลที่บิดาผู้รักและหวังดีต่อบุตรธิดาจะต้องกระทำ
เพราะพระเวสสันดรเองไม่ทราบว่าการผนวชเป็นดาบสของพระองค์จะยุติลงเมื่อไร
พระโอรสธิดานั้นยังเยาว์วัยยังมีอนาคตจำเป็นจะต้องได้รับการศึกษาในบ้านเมือง
เมื่อชูชกมาขอจึงให้ไป ซึ่งสามารถตีค่าไถ่กลายเป็นเศรษฐีได้ทันที ชูชกแกจะโง่จนถึงกับ
นำพระราชกุมาร ราชกุมารีทั้งสองไปเป็นคนใช้หรือ เปล่าเลยชูชกทราบดีว่าค่าไถ่ขนาดนี้
คนอื่นไม่มีใครเขาไถ่หรอก นอกจากพระเจ้าสัญชัยแห่งเชตุดรผู้เป็นพระอัยกา
ซึ่งตามเรื่องก็เป็นเช่นนั้น ถ้ามองในจุดนี้การให้ทานของพระเวสสันดรแทนที่จะเป็นผลดี
แก่ชูชกฝ่ายเดียวกลับได้ประโยชน์มหาศาลทั้งแก่พระองค์ พระญาติวงศ์ทั้งมวล ตามเนื้อเรื่องในนครกัณฑ์
๓)เพื่อป้องกันอันตรายแก่พระโอรสธิดา
เพราะการอยู่ในป่าอาจเกิดอันตรายได้ ทั้งเป็นการสร้างความกังวลในการบำเพ็ญเพียร
ของพระองค์และเป็นการขัดขวางโอกาสแห่งการศึกษาของพระโอรส พระธิดา การส่งกลับเมืองด้วยวิธีให้แก่ชูชกแบบมีค่าไถ่ไปด้วยจึงเกิดผลอย่างสมบูรณ์แก่คนทุกฝ่าย
อาจจะมีข้อโต้แย้งว่าถ้าเป็นเช่นนั้นทำไม่จึงนำพระโอรส พระธิดาเข้าป่ามาด้วย
ไม่เอาไว้ในเมืองกับพระอัยกาเสียเลยเล่า?
ข้อนี้เราพบว่าเหตุการณ์ตอนนั้นมีกระแสการต่อต้านสูงมากโดยเหตุผลจำเป็นต้องผ่อน
คลายสถานการณ์ให้อ่อนความรุนแรงลงทั้งการพรากจากในลักษณะนั้นรุนแรงเกินกว่า
ที่จะเพิ่มการพลัดพรากจากลูกเข้าไปอีก แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านมานานพอสมควรแล้ว
ทุกคนกลับได้ความคิดที่สมเหตุสมผลขึ้นทุกอย่างจึงดำเนินไปตามคัลลองที่ถูกที่ควรเสีย
ทีและผลก็ออกมาเช่นนั้นจริงๆ