๑๔.ที่ว่าพระพุทธศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์นั้นมีเหตุผล
อย่างไร?
        ที่ว่ากันนั้นอันที่จริงเป็นความเห็นของนักปราชญ์ทางตะวันตกแต่มิได้หมายความว่า
พระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์หมายเพียงแต่ว่า
        "พระพุทธศาสนามีหลักการและวิธีการเป็นเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์"
        ข้อนี้นักปราชญ์ทางตะวันตกที่ศึกษาแตกฉานดีทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
ได้มีความเห็นร่วมกันว่า
"วิทยาศาสตร์ทางโลกเป็นวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุส่วน
พระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ"
        หลักการวิธีการทางพระพุทธศาสนาที่ตรงกับวิทยาศาสตร์ เช่น พระพุทธศาสนา
อธิบายหลักทั่วไปแห่งจิตใจในฐานะเป็นมูลฐานแห่งคำสอนทางพระพุทธศาสนา
โลกทางวัตถุมูลฐานแห่งวิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับจิตใจ เป็นความ
สัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา กับ สิ่งที่สะท้อนไปจากเนื้อหา ในเรื่องนี้ผู้ศึกษาสิ่งหนึ่งโดยการ
เปรียบเทียบหรืออนุมาน คือการคาดคะเนจากเหตุผลย่อมได้รับความรู้ถึงอีกสิ่งหนึ่ง
หรือหลายสิ่งด้วย
        การวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในแนวทางอันเป็นพื้นฐานของตนพระพุทธศาสนากับ
วิทยาศาสตร์ตรงกันในข้อที่ว่า
        "ความรู้ต้องได้มาด้วยการวิเคราะห์ ทดลอง หาเหตุผลอย่างมีหลักการและวิธีการ
ที่ถูกต้องและกรรมวิธีที่เหมาะสมแก่การหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ"
        การจะเชื่อถืออะไรจะต้องมีการพิสูจน์ทดสอบก่อนจึงจะเชื่อ ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย
ผลทุกอย่างที่ปรากฎนั้นจะต้องมาจากเหตุ พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีวิธี
การค้นจากผลสาวไปหาเหตุ บ้างค้นจากเหตุไปหาผลบ้างเช่นเดียวกัน
        พระพุทธศาสนาสอนว่าสรรพสิ่งมีความเปลี่ยนแปลงดำรงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
ไม่เป็นแก่นสารตัวตนอะไรที่ควรยึดถือ วิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ไปถึงความเปลี่ยนแปลง
เช่นเดียวกัน เห็นสิ่งทั้งหลายมีการเกิดดับต่อเนื่องกันซึ่งเมื่อวิเคราะห์ลงไปแล้วสารวัตถุ
ทั้งหลายคือการรวมตัวของปรมาณูอันมหาศาล ในที่สุดก็เป็นเพียงพลังงานหามีตัวตน
อะไรไม่ แม้การทำระเบิดปรมาณูก็เป็นการแยกปรมาณูเพื่อให้เกิดพลังงานนั่นเอง
        ตรงนี้ผิดกันที่ไหนรู้ไหม?
        ผิดกันตรงที่วิทยาศาสตร์แยกปรมาณูเพื่อให้เกิดเป็นพลังงานพลังงานเหล่านั้นกลาย
เป็นลูกระเบิดมหาประลัย แต่พระพุทธศาสนาแยกออกเป็นอนัตตาเสร็จแล้วไม่มีกิเลส
เป็นเหตุยึดถือว่าของเราว่าเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ว่าเป็นตัวเป็นตนของเรา จิตท่านที่แยก
ได้เช่นนี้จะทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกอย่างเดียวเช่นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
ทั้งหลาย
"ปรมาณูในพระพุทธศาสนาจึงเป็นปรมาณูเพื่อสันติอย่างแท้จริง"
        พระพุทธศาสนากล่าวถึงกฎของการดึงดูดว่าน้ำตกจากที่สูงย่อมไหลลงสู่ที่ลาดลุ่มฉัน
ใดจิตใจที่ถูกกระแสแห่งกิเลสดึงดูดไว้เรียกว่า โลกิยจิต แต่จิตนั้นอาจทำให้พ้นจาก
กระแสการดึงดูดได้ ด้วยความเพียรพยายามจนเป็นโลกุตรจิต เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่ที่ลาด
ลุ่มตามปกติ แต่อาจใช้กรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ทดน้ำขึ้นสู่ที่สูงจนถูกความร้อนแผด
เผากลายเป็นไอได
        ยิ่งในด้านจิตวิทยาอันเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งด้วยแล้ว เขากล่าวว่าให้ยกไลเมน
ขึ้นสูงกว่าสิ่งเร้า ซึ่งหมายถึงการยกจิตให้สูงกว่าอำนาจฝ่ายต่ำนั้นเองนี่เป็นเสี้ยวหนึ่ง
ของพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป
        คำสอนเรื่องทางสายกลางของพระพุทธศาสนาก็มีหลักการอันเดียวกับวิทยาศาสตร์
ให้สังเกตว่าเครื่องวัดอุณหภูมิก็ดี วัดความเร็ว ความชื้น ความดัน กระเเสไฟฟ้าเป็นต้น
ก็ดี เพื่อต้องการรักษาจุดกลางเอาไว้นั้นเอง ไม่อย่างนั้นก็ระเบิดหรือเป็นอันตรายได้
        แม้เรื่องความเกิดขึ้นของโลกพระพุทธศาสนา ถือว่าเกิดจากเหตุปัจจัยคล้ายๆกับ
ทฤษฎีหมอกเพลิงทางวิทยาศาสตร์
       วิชาจักรวาลวิทยาปัจจุบันได้ค้นพบระบบสุริยจักรวาลเป็นอันมากจนถึงกับได้พบ
ระบบหนึ่งเรียกว่า "คัทเตอร์ในเจมินี" มีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางถึง ๖ ดวง มีจักรวาล
ดารกาเป็นบริวารขึ้นต้นด้วยเลข ๒๓ ตามด้วยศูนย์ ๒๗ ตัว
        พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องนี้ไว้อย่างไรรู้ไหม?
        พระพุทธศาสนาบอกว่าจักรวาลนั้นมีมากจนใช้คำว่าอนันตจักรวาลหรือแสนโกฏิ
จักรวาลบางจักรวาลมีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ๑-๒-๓-๔-๕-๖-ถึง๗ดวง ยังล้ำหน้า
วิทยาศาสตร์ไปอีกระบบหนึ่งซึ่งวิทยาศาสตร์ยังค้นไม่พบ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมาก
แต่ที่ไม่ควรลืมคือพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ตรงกันในด้านหลักการวิธีการบาง
อย่างเท่านั้นไม่ใช่เหมือนกันทุกอย่าง เพราะฝ่ายหนึ่งเน้นหนักด้านนามธรรมฝ่ายหนึ่ง
เน้นหนักด้านรูปธรรม
อีกประการหนึ่ง "ผลิตผลที่เกิดขึ้นตามกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
มีส่วนที่ผิดกันอยู่บ้าง คือ ของวิทยาศาสตร์นั้นมีคุณอนันต์แต่มีโทษมหันต์ ส่วนผลิต
ผลที่เกิดขึ้นถูกต้องตามกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนามีคุณอนันต์อย่างเดียวไม่มีโทษ"
        นี่ว่าถึงผลิตผลที่เกิดขึ้นถูกต้องตามกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนานะหากผิดจาก
กรรมวิธีทางพระพุทธศาสนาไม่รับรอง

๑๕.พระพุทธศาสนาสอนเรื่องโลกเป็นทุกข์จะมิอาจเป็นการสอน
ให้คนมองโลกในแง่ร้ายและทำให้ใจไม่สบายไปหรือเปล่า?
        ไม่เป็นเช่นนั้นหรอกการสอนให้รู้จักความเป็นทุกข์แห่งสรรพสิ่งนั้นเป็นการแสดง
ความจริงที่มีอยู่เป็นอยู่ เหมือนกับคนไปอยู่ในถิ่นที่อากาศร้อนจัดเราบอกเขาว่าอากาศ
ที่นี่ร้อนจัดนะ แทนที่จะเป็นการทำให้เขาไม่สบายใจหรือมองสถานที่นั้นไปในทำนอง
ไม่น่าอยู่ไม่น่าอาศัยแล้ว ทำให้คนนั้นสามารถเตรียมใจเผชิญกับความร้อนซึ่งตนจะ
ต้องประสบแน่นอน ในขณะเดียวกันเป็นการช่วยให้คนนั้นได้หาอุบายวิธีหลีกหนีความ
ร้อนด้วยการสร้างที่อยู่อาศัยใช้สิ่งช่วยขจัดความร้อนเป็นต้น บอกอย่างนี้เป็นผลดี
หรือผลเสียแก่คนฟังเล่า ?
        การที่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์นานาประการว่า
กันเต็มที่แล้วท่านแสดงว่า

"ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรจะดับ"
ซึ่งเหมือนกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า "ในโลกนี้มีแต่ความร้อนการที่เรารู้สึกว่าเรา
เย็นนั้นเป็นเพราะความร้อนลดนั้นเองแม้จะลดลงไปเลยศูนย์ก็ถือว่าเป็นความร้อน
ลดหาใช่ความเย็นไม่"
        ปัญหาเรื่องความทุกข์นั้นที่เราหลงประเด็นกันมากคือ คนส่วนมากตัดสินคำว่า"ทุกข์"
ว่าทุกข์ก็คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ดังนั้นจึงมองไม่ค่อยจะเห็นว่าคนเราเป็น
ทุกข์จริงหรือ?
        ตามหลักพระพุทธศาสนานั้นความทุกข์ที่เข้ากันนั้นเป็นอาการของเวทนาประการ
หนึ่งเท่านั้นเอง คือเป็นส่วนหนึ่งแห่งความหมายว่าทุกข์เท่านั้น ท่านได้ให้นิยามความ
หมายของคำว่าทุกข์ที่ปรากฎแก่สรรพสัตว์และสรรพสิ่งว่า
"มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาดำรงอยู่ใน
สภาพเดิมไม่ได้ มีการเบียดเบียนให้เร่าร้อน"
        ความหมายของทุกข์ในอริยสัจซึ่งเจาะจงเอาความทุกข์ที่ปรากฏแก่สิ่งมีชีวิตคือสิ่งที่
เรียกว่าทุกข์นั้น ปรากฏตัวให้เห็นในรูปของ "เบียดเบียนแต่ละอย่างเกิดขึ้นด้วยปัจจัย
ปรุงแต่งเร่าร้อนมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"
        ด้วยความหมายนี้เองจะพบว่าแม้ความสุขที่คนรู้จักว่าตนเป็นสุขนั้นเป็นอาการของ
ความทุกข์อย่างหนึ่งเพราะอะไร?
        "เพราะความสุขนั้นเกิดขึ้นด้วยปัจจัยปรุงแต่งหาได้เกิดขึ้นลอยๆไม่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะ
ทำหน้าที่เบียดเบียนความทุกข์ให้เบาลง แต่ความสุขก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสุข
เพิ่มขึ้นหรือสุขน้อยลง"
        การสอนเรื่องทุกข์จึงเป็นการบอกกล่าวความจริงให้ทราบกันไว้ตามที่เป็นจริงอย่างไร
เท่านั้นเอง ที่สำคัญที่สุดคือ คำที่เป็นภาษาอื่นนั้นผู้ศึกษาควรศึกษาความหมายของภาษา
นั้นๆให้เข้าใจคำว่า ทุกข์ เป็นภาษาบาลี ควรทำความเข้าใจให้ทราบว่าคำนี้ท่าน
นิยามความหมายไว้อย่างไร เมื่อทราบได้แล้วจะมีความเข้าใจในเจตนารมณ์แห่งคำสอน
ที่มีคำนั้นๆปรากฏอยู่ได้ชัดเจนขึ้น

๑๖.พระพุทธศาสนาสอนแก้ปัญหาชีวิตและช่วยให้พ้นทุกข์ได้
จริงหรือไม่?
         ได้แน่นอนโดยไม่มีข้อสงสัย คนได้รับผลจากการแก้ปัญหาและระงับความทุกข์ด้วย
อาศัยหลักธรรมของพระพุทธศาสนามามากต่อมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน คนเขาไม่
สงสัยกันแล้วในเรื่องนี้ แต่เมื่อสงสัยมาก็ขอชี้แจงว่าพระพุทธศาสนารับรองว่าหลักธรรม
ในพระพุทธศาสนาสามารถแก้ปัญหาชีวิตและช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้จริง แต่มีข้อแม้ว่า

"บุคคลนั้นจะต้องดำเนินตามหลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนานะ"
        หลักการนั้นท่านได้กำหนดเป็นเรื่องๆไป เช่นถ้าต้องการจะแก้ความเสื่อมในชีวิตก็
ต้องเว้นจากการกระทำอันเป็นทางแห่งความเสื่อมเสีย คือ อบายมุข อันได้แก่ ความเป็นนักเลงหญิง นักเลงการพนัน นักเลงดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน คบคนไม่ดีเป็นมิตร และเกียจคร้านทำการงานเป็นต้น
        หากต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต การงาน ก็ต้องดำเนินไปตามหลักการที่
จะนำคนไปสู่ความสำเร็จในชีวิตการงานก็ต้องดำเนินไปตามหลักการที่จะนำคนไปสู่
ความสำเร็จ ๔ ประการ คือ
    ฉันทะ ปลูกฝังความพอใจไม่ให้เสื่อมคลายในการงานนั้นๆ
    วิริยะ มีความเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นโดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค
    จิตตะ เอาใจใส่สนใจในเรื่องนั้นๆไม่วางธุระ
    วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลตรวจสอบในเรื่องนั้นๆ
        สำหรับวิธีการนั้นท่านกำหนดขั้นตอนที่คนควรจะทำความเข้าใจในปัญหาความ
ทุกข์เป็นต้น ให้ทราบตามความเป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว ให้ลงมือปฏิบัติให้เหมาะสม
แก่กรณีนั้น ขั้นตอนนั้น หมายเอาการวิเคราะห์ในเรื่อง นั้นตามลำดับดังนี้
        อะไร? คือให้ทราบปัญหาหรือความทุกข์เป็นต้นว่าเป็นอะไรแน่
        มาจากไหน? คือการศึกษาให้ทราบถึงสาเหตุอันเป็นมูลฐานและปัจจัยร่วมแห่ง
ปัญหาความทุกข์เหล่านั้นให้ทราบว่า อะไรเป็นสาเหตุแท้จริง และปัจจัยร่วม
ซึ่งจำเป็นจะต้องขจัดให้หมดไป
        เพื่ออะไร? เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ตนมุ่งหวังอันเป็นความสุข ความเจริญ ซึ่งเกิดจากการทำลายสาเหตุแห่งปัญหาและความทุกข์เป็นต้น
        โดยวิธีอย่างไร? ได้แก่การนำเอาหลักการแก้ปัญหาแก้ความทุกข์ในเรื่องนั้นๆ
ตามที่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้มาใช้ให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
        ได้โปรดเข้าใจว่าพระพุทธศาสนานั้นเปรียบเหมือนโอสถพิเศษที่สามารถบำบัดโรค
ได้ตามสมควรแก่โลกที่เกิดขึ้น แต่การรักษาโลกคนจำเป็นต้องทราบอาการ สมุฏฐาน เป้าหมายและกรรมวิธีในการรักษาและยาที่จำเป็นต้องใช้โดยถูกต้องไม่ผิดพลาด
ก็สามารถแก้โรคนั้นๆได้ฉันใด หลักธรรม พระพุทธศาสนา ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันฉันนั้น
        ดังนั้นท่านจึงแสดงว่าพระธรรมเป็นโอปนยิโกคือเป็นข้อที่คนจะต้องน้อมเข้ามาหา
ตนหรือน้อมตนเข้าไปหาจึงจะได้รับผลจากพระธรรมในระดับต่างๆตามสมควรแก่การ
ปฎิบัติ.