ส่วนราชการ

ฝ่ายปกครอง

ฝ่ายเทศกิจ


ฝ่ายทะเบียน

ฝ่ายโยธา


ฝ่ายรายได้

ฝ่ายศึกษา


ฝ่ายการคลัง

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล


ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม

ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ


หน่วยสัสดี

สำนักงานสรรพากร

bkhae@hotmail.com Tel. 803-6882,803-6825




ฝ่ายปกครอง
ฝ่ายปกครองให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การสอบสวนรับรอง
เป็นการสอบสวนรับรองในหน้าที่ของนายอำเภอ เช่น การสอบสวนรับรอง
ความไม่ตรงกันของเอกสารทางราชการ อาทิ ชื่อตัว ชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน
กับใบแสดงคุณวุฒิทางการศีกษา หรือโฉนดที่ดิน ไม่ตรงกัน ซึ่งอาจผิดไปเลย
หรือสะกด การันต์ ผิดพลาด เรียกว่า
การรับรองบุคคลเดียวกัน
การขอรับบริการ ต้องนำ บัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนบ้านเอกสารที่ไม่ตรงกันทุกฉบับ พร้อมถ่ายเอกสาร จำนวน 1 ชุด
และพยานอย่างน้อย 2 ปาก
การรับรองความโสด
หรือมีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า การรับรองสถานภาพสมรส
เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อ ทางการของต่างประเทศในการ
ขอจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ หรือใช้ประกอบหลักฐานอื่นใด
ผู้ขอรับบริการจะต้องนำหลักฐานแสดงตัว คือบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนบ้าน และพยานอย่างน้อย 2 ปาก เช่นเดียวกับการรับรอง
บุคคลเดียวกัน แต่ถ้าเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ก็ให้นำหลักฐาน
ดังกล่าวมาด้วย กรณีผู้ร้องพำนักอยู่ต่างประเทศไม่อาจมาดำเนินการ
ด้วยตนเองได้ ก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทนได้
แต่ต้องไปลงนามมอบอำนาจต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานฑูตหรือสถานกงสุลไทย
การรับรองความประพฤติ
กรณีที่มีหน่วยงานใดต้องการให้มีการรับรองความประพฤติ
ของบุคคล เช่น วัดต้องการหนังสือรับรองความประพฤติของ
ผู้ต้องการบวชหรือหน่วยงานต้องการหนังสือรับรองของผู้ที่จะขอ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผู้ขอรับบริการจะต้องนำหลักฐาน
และพยานบุคคลมาแสดงและให้ถ้อยคำ เช่นเดียวกับการรับรอง
ความเป็นโสด
นอกจากการสอบสวนรับรองในกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ฝ่ายปกครองยังมีหน้าที่สอบสวนรับรองในกรณีดังต่อไปนี้
การสอบสวนรับรองทายาท
การสอบสวนรับรองการมอบอำนาจ
การสอบสวนรับรองสถานที่เกิดหรือสถานที่ตาย

2. การรับเรื่องราวร้องทุกข์
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน
ตลอด 24 ชั่วโมง เรื่องราวร้องทุกข์ที่สำนักงานเขตให้บริการ
และแก้ไขปัญหาหรือประสานงานการแก้ไขปัญหาประกอบไปด้วยงาน
ในหน้าที่ของสำนักงานเขต และงานในหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น ปัญหาสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ หรือความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน หมายเลขโทรศัพท์ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เขตบางแค
803-6882 หรือ 803-6825 ต่อ 106

3. ศูนย์อุบัติภัย
ศูนย์อุบัติภัย เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุอุบัติภัย ปฏิบัติงานคล้ายคลึงกับ
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์แต่การปฏิบัติงานเน้นหนักการรับแจ้งเหต
และประสานงานการแก้ปัญหาอุบัติภัยในกรณีเร่งด่วนศูนย์อุบัติภัย
จะปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับ ศูนย์ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
ที่มีสมาชิก อปพร. ปฏิบัติงานประจำ



ฝ่ายเทศกิจ
ฝ่ายเทศกิจให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในหน้าที่ของ
กรุงเทพมหานครมีฝ่ายเทศกิจ รับผิดชอบดำเนินการ

2. การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิด
กรณีที่มีการกระทำความผิดที่กฎหมายให้ทำการเปรียบเทียบปรับได้
และเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ กทม.
เช่น การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดกรณีผู้ค้าหาบเร่-แผงลอย
หรือ การเปรียบเทียบปรับกรณีการทิ้งขยะ ในที่สาธารณะ

3. การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการจราจร
เจ้าหน้าที่เทศกิจที่ผ่านการฝึกอบรมอาสาจราจร มีหน้าที่สนับสนุน
สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ ในการจัดการจราจร เพื่ออำนวยความ
สะดวกให้ประชาชน เกี่ยวกับการสัญจรไปมาของประชาชน



ฝ่ายทะเบียน
ฝ่ายทะเบียน ให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ทะเบียนราษฎร
ประกอบด้วยการแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน
การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน โดยมีเงื่อนไข การขอรับบริการ ดังนี้
การแจ้งเกิด จะต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
การแจ้งการตาย จะต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่ตาย
การแจ้งการย้ายที่อยู่ จะต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า
การขอเลขหมายประจำบ้าน ต้องขอภายใน 15 วันนับแต่สร้างเสร็จ
การแจ้งรื้อบ้าน ต้องแจ้งรื้อภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันรื้อเสร็จ
ผู้รับบริการ ต้องนำหลักฐาน บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
และหรือเอกสารอื่นใด ที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณา หรือพยานบุคคล
กรณีที่ ขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน หรือการขอเลขหมายประจำบ้าน ต้องมี
หนังสืออนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร ประกอบการพิจารณาด้วย

2. ทะเบียนชื่อตัว ชื่อสกุล
ประกอบด้วยการขอตั้ง ชื่อตัว ชื่อสกุล ผู้รับบริการต้องนำ บัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนบ้าน ขอรับบริการ โดยชำระค่าธรรมเนียม 25 บาท กรณีขอเปลี่ยน ชื่อตัว
ชำระค่าธรรมเนียม 50 บาท กรณี เปลี่ยนชื่อสกุล

3. ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ผู้ที่มีสัญชาติไทย ที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขี้นไป จนถึง อายุ 70 ปี ต้องขอมีบัตร
ประจำตัวประชาชน และจะต้องขอมี ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่
มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
บัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ
บัตรประจำตัวประชาชนหายหรือชำรุด
นับแต่ได้สัญชาติไทยหรือพ้นจากได้รับการยกเว้น
หลักฐาน ที่ต้องนำมาขอรับบริการ สูติบัตร ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีขอมีบัตรครั้งแรก หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านฉบับ
เจ้าบ้าน กรณีบัตรเดิมหมดอายุ หรือชำรุด หรือทะเบียนบ้านเพียงอย่างเดียว
กรณีบัตรหาย หรือได้รับสัญชาติไทยหรือพ้นจากการได้รับการยกเว้น

4. ทะเบียนครอบครัว
ทะเบียนครอบครัว ประกอบด้วย ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร
ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม การบันทึกฐานะครอบครัว
การบันทึกฐานะภริยา ผู้รับบริการจะต้องนำ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน
ฉบับเจ้าบ้าน และหรือหลักฐานเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องไปขอรับบริการ

5. ทะเบียนพินัยกรรมและทะเบียนปกครองอื่น ๆ
ทะเบียนส่วนนี้ประกอบด้วย ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนมัสยิด
ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม
ผู้ขอรับบริการจะต้องนำหลักฐาน ไปขอรับบริการ เช่นเดียวกับการขอรับบริการ
ทะเบียนครอบครัว

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับทะเบียนเพิ่มเติม




ฝ่ายโยธา
ฝ่ายโยธาให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร
สำนักงานเขต มีหน้าที่อนุญาตปลูกสร้างอาคารไม่เกิน 4 ชั้น ภายในพื้นที่รับผิดชอบ
ผู้รับบริการ นอกจากนำหลักฐาน บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน จะต้องนำ
แบบแปลนอาคารที่จะปลูกสร้าง การคำนวณ พร้อมหลักฐานวิศวกรผู้ออกแบบอาคาร
และผังบริเวณ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารของเจ้าของที่ดิน กรณี
ที่ดินเป็นของบุคคลอื่นมาประกอบการพิจารณาอนุญาตด้วย

2. การระบายน้ำ
รวมถึงการลอกท่อระบายน้ำสาธารณะ การระบายน้ำกรณีมีน้ำท่วมขังบริเวณต่าง ๆ

3. การประสานงานสาธารณูปโภค
ประกอบด้วยการประสานงาน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เกี่ยวกับการติดตั้งระบบ
สาธารณูปโภค




ฝ่ายรายได้
ฝ่ายรายได้ ให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การจัดเก็บภาษีป้าย

2. การจัดเก็บบำรุงท้องที่

3. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะ






ฝ่ายศึกษา
ฝ่ายศึกษา ให้บริการ รับแจ้งเด็กเข้าเกณฑ์ โดยมีเงื่อนไขการให้บริการ ดังนี้
รับแจ้งเด็กที่มีอายุย่าง 8 ปีบริบูรณ์เข้าเกณฑ์ การศึกษาภาคบังคับ
ผู้รับบริการ จะต้องนำสูติบัตร ทะเบียนบ้าน ของเด็ก ไปยื่นเป็นหลักฐานด้วย









ฝ่ายการคลัง

ฝ่ายการคลัง เป็นฝ่ายที่ไม่มีงานให้บริการประชาชนโดยตรงอย่างชัดเจน
เป็นแต่เพียงรับชำระเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมที่ผ่านการประเมินจาก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายรายได้ และ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลแล้ว เท่านั้น










ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การขออนุญาตประกอบกิจการค้า
ประเภทของการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ จะต้องขออนุญาตประกอบกิจการ
โดยผู้ขอรับบริการ จะต้องนำหลักฐาน บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน
ใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี) ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)

2. การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ
หากมีเหตุเดือดร้อนรำคาญ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุดังกล่าวได้โดยตรง
ที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมฯ หรือแจ้งผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์

3. การสุขาภิบาลร้านอาหารหรือร้านแต่งผม
ประชาชนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความสะอาด ของร้านอาหารหรือร้านแต่งผม
หรือปัญหาสุขาภิบาลอื่น ๆ เช่นการบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการ สามารถ
แจ้งฝ่ายสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

4. งานการแพทย์ฝ่ายป้องกันอื่น ๆ
เช่น การป้องกันโรคระบาด ด้วยการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งอาจเป็น การป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก
โรคอุจจาระร่วง ด้วยการประสานการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การกำจัด
สุนัขจรจัด ผู้ขอรับบริการอาจติดต่อได้โดยตรง




ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การออกบัตรสวัสดิการฯ (สปร.)
เป็นบัตรสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลฟรี สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือ
ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ควรได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูล ผู้รับบริการ ต้องนำหลักฐาน