มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2537/53ก/11/2ธันวาคม2537]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 บรรดากฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงระเบียบข้อบังคับประกาศและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงระเบียบข้อบังคับหรือประกาศที่มีผลเป็นการทั่วไปเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา 6 ในตำบลหนึ่งให้มีสภาตำบลสภาหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา 7 สภาตำบลประกอบด้วย สมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบล และแพทย์ประจำตำบล
และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้น เป็นสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละหนึ่งคน
มาตรา 8 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้ง ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ตาม (1) และ(2) และไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตาม (3) และ(4) ดังต่อไปนี้
มาตรา 9 ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตาม (1) และ(2)และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม(3) ถึง(11) ดังต่อไปนี้
มาตรา10ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบ
ของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 11 สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในกรณีที่สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งครบวาระแล้วแต่ยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่ให้สมาชิกสภาตำบล
โดยตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป
มาตรา 12 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
มาตรา 13 เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะครบวาระ การดำรงตำแหน่งหรือมีการยุบสภาตำบลให้มีการเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบวาระ หรือวันที่ยุบสภาตำบลแล้วแต่กรณี
มาตรา 14 เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากครบวาระ หรือมีการยุบสภาตำบล
ให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลงเว้น แต่วาระการดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่
ดำเนินการเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ ให้สมาชิกสภาตำบลผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา15 เมื่อมีการยุบและรวมเขตหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ให้สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งของ หมู่บ้านเดิมที่ถูกยุบหรือถูกรวมยังคงเป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งอยู่ต่อไปจนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงตามมาตรา12 เมื่อมีการแยกพื้นที่บางส่วนของ
หมู่บ้านใดขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ให้สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งของหมู่บ้านเดิมยังคงเป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งอยู่ต่อไปจนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลง
ตามมาตรา12 และให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งสำหรับหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสมาชิกสภาตำบลที่หมู่บ้านนั้นอยู่ในเขต ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศตั้งหมู่บ้านใหม่ และให้ผู้ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสมาชิกอื่นในตำบลนั้น เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการเลือกตั้งก็ได้
มาตรา 16 สภาตำบลมีกำนันเป็นประธานสภาตำบล และมีรองประธานสภาตำบลคนหนึ่งซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาตำบล ตามมติของสภาตำบล รองประธานสภาตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี รองประธานสภาตำบลพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามวรรคสองเมื่อ
มาตรา 17 ประธานสภาตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาตำบล และมีหน้าที่ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด รองประธานสภาตำบลมีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภาตำบลเมื่อประธานสภาตำบลไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่ประธานสภาตำบลมอบหมาย เมื่อประธานสภาตำบลและรองประธานสภาตำบลไม่อยู่ในที่ประชุมให้สมาชิกสภาตำบลที่มาประชุมเลือกกันเอง เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
มาตรา 18 ให้มีการประชุมสภาตำบลไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง การประชุมต้องมีสมาชิกสภาตำบลมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวนสมาชิกสภาตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากเว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ สมาชิกสภาตำบลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 19 สภาตำบลมีเลขานุการสภาตำบลคนหนึ่งซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นหรือจากบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 ให้นายอำเภอเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการสภาตำบลตามมติของสภาตำบล
มาตรา 20 เลขานุการสภาตำบลมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม และงานอื่นใดตามที่สภาตำบลมอบหมาย
มาตรา 21 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาชิกสภาตำบลและเลขานุการสภาตำบลเป็นเจ้าพนักงาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 22 สภาตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลตามแผนงานโครงการและงบประมาณของสภาตำบล เสนอแนะ ส่วนราชการในการบริหารราชการและพัฒนาตำบล ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่และหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 23 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายสภาตำบลอาจดำเนินกิจการภายในตำบล ดังต่อไปนี้
มาตรา 24* กำนันผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญากับสภาตำบลที่ตนดำรงตำแหน่งหรือในกิจการที่กระทำให้แก่สภาตำบลนั้น
มาตรา 25 ในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่เกี่ยวกับ
กิจการใดที่กำหนดไว้แล้วในแผนพัฒนาตำบลให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาตำบล
มาตรา 26 ในการจัดทำโครงการหรือแผนงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในพื้นที่ตำบลใดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นคำนึงถึงแผนพัฒนาตำบลนั้นด้วย
มาตรา 27 ในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลให้ประธานสภาตำบลเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการตามมติของสภาตำบลแต่สภาตำบล
อาจมอบหมายให้สมาชิกสภาตำบลผู้อื่นดำเนินกิจการแทนเฉพาะกรณีได้ มาตรา 28 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดสภาตำบลอาจทำกิจการนอกเขตสภาตำบลหรือร่วมกับสภาตำบลองค์การ
บริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อทำกิจการร่วมกันได้เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การ
บริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับ
กิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน
มาตรา 29 สภาตำบลมีรายได้ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรให้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดดังต่อไปนี้
มาตรา 30 ทุกปีงบประมาณให้รัฐบาลจัดสรรเงินให้แก่สภาตำบลเป็นเงินอุดหนุน
มาตรา 31 สภาตำบลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
มาตรา 32 รายได้ของสภาตำบลให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร
และไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา 33 สภาตำบลอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
มาตรา 34 เงินค่าตอบแทนประธานสภาตำบลรองประธานสภาตำบลสมาชิกสภาตำบลและเลขานุการสภาตำบลให้เป็นไปตาม
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 35 งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของสภาตำบลให้จัดทำเป็นข้อบังคับตามระเบียบ
และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ถ้าในระหว่างปีงบประมาณใดรายจ่ายซึ่งกำหนดไว้ในงบประมาณไม่พอใช้จ่ายประจำปีนั้นหรือมีความจำเป็นต้องตั้ง
รายจ่ายขึ้นใหม่ระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อบังคับ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา 36 ให้กระทรวงมหาดไทยออกระเบียบว่าด้วยการคลังการงบประมาณการรักษาทรัพย์สินการจัดหาผลประโยชน์จาก
ทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมา กระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานอื่นๆของสภาตำบลให้สภาตำบลต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 37 ให้กระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการตรวจสอบการคลังการบัญชีหรือการเงินอื่นๆของสภาตำบล
มาตรา 38 นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ
ทางราชการ ในกรณีที่ปรากฏว่าการดำเนินการของสภาตำบลเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือไม่เป็นไป
ตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ นายอำเภอมีอำนาจยับยั้งการดำเนินการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวได้และรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อวินิจฉัย มาตรา 39 หากปรากฏว่าสภาตำบลกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม
หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งยุบสภาตำบลได้ตามคำเสนอแนะของนายอำเภอและเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งยุบสภาตำบลแล้ว
ให้สภาตำบลยังคงประกอบด้วยสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งทั้งหมดจนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ ในกรณีที่การยุบสภาตำบล ตามวรรคหนึ่งเป็นผลจากการกระทำของกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือแพทย์ประจำตำบลซึ่งเป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งหรือบุคคลดังกล่าวได้ร่วมกระทำการด้วย
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือแพทย์ประจำตำบลแล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากตำแหน่ง
เพราะบกพร่องในทางความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และถ้าสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง เหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งทั้งหมด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งบุคคลตามจำนวนที่เห็นสมควรเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่กับสมาชิกสภาตำบล
โดยตำแหน่งที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือแพทย์ประจำตำบลและสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่
มาตรา 40 สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ
หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยในวรรคสอง อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในประกาศนั้นให้ระบุชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ด้วย
มาตรา 41 สภาตำบลที่ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 40 ให้พ้นจากสภาพแห่งสภาตำบล นับแต่วันที่ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นต้นไป บรรดางบประมาณทรัพย์สินสิทธิสิทธิเรียกร้องหนี้และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบล ตามวรรคหนึ่งให้โอนไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 41 ทวิ* สภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลอาจรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเขตติดต่อกันภายใน
เขตอำเภอเดียวกันได้ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้นโดยให้นำมาตรา40และมาตรา41มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 41 ตรี* สภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล อาจรวมกับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มี เขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันได ้ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้น โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดเขตใหม่ของหน่วย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย ให้นำมาตรา 41 และมาตรา 42 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับกับการรวมตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
มาตรา 41 จัตวา* องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึงสองพันคนทั้งเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถที่จะ
ดำเนินการบริหารงานพื้นที่นั้นให้มีประสิทธิภาพในลักษณะขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว
โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน หรือให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้น
ทั้งนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว ให้นำมาตรา 41 และมาตรา 42 วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับกับการยุบและรวมองค์การบริหารส่วนตำบล หรือการยุบและรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
มาตรา42 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการเทศบาลอาจจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลได้โดยตราเป็น
พระราชกฤษฎีกา องค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตามวรรคหนึ่งให้พ้นจากสภาพแห่งองค์การบริหารส่วนตำบลนับแต่วันที่ได้ประกาศ
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลเป็นต้นไป
มาตรา 43 องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
มาตรา 44 องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 45* สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
มาตรา 46 สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
มาตรา 47* ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาตรา 13 มาตรา 14และมาตรา15 มาใช้บังคับกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลด้วยโดยอนุโลม
มาตรา47ทวิ*ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้อง
มาตรา47ตรี* สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงเมื่อ
มาตรา 48สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีประธานสภาและรองประธานสภาคนหนึ่งซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาองค์การบริหาร
ส่วนตำบล ให้นายอำเภอแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 49 ประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันที่ได้รับเลือก
เป็นประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 50 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
มาตรา 51 เมื่อตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้มี
การเลือกประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลงและให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกแทนนั้น
อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 52ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่กระทรวง
มหาดไทยกำหนด รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อประธานสภาองค์การบริหารส่วน
ตำบลไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้หรือตามที่ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
มาตรา 53ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัย หรือหลายสมัยแล้วแต่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะกำหนดแต่ต้องไม่เกิน สี่สมัย วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรกต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุม ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 54 ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุม
และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย ให้นายอำเภอเป็นผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
มาตรา 55 นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้วเมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานกรรมการบริหาร หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่อาจทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอขอให้เปิดประชุมวิสามัญให้นายอำเภอพิจารณาถ้าเห็นสมควร
ก็ให้นายอำเภอเรียกประชุมวิสามัญได้ มาตรา 56 การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้นำบทบัญญัติตามมาตรา18 วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับกับการ ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 57 ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งเป็นเลขานุการองค์การ
บริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งได้รับเลือกเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่ง จะดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร
ในขณะเดียวกันอีกมิได้ เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และการจัดการประชุมและงานอื่นใด ตามที่สภาองค์การบริหาร
ส่วนตำบลมอบหมาย
หมวด 1 สภาตำบล
ส่วนที่ 1 สมาชิกสภาตำบล
*[มาตรา 8 (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่2)พ.ศ.2538]
*[มาตรา 9(1)แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่2)พ.ศ.2538]
*[อนุ(4)ของมาตรา12แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่3) พ.ศ.2542 และวรรคสองของมาตรา12ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของสภาตำบล
ในกรณีที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล กระทำการฝ่าฝืนตามที่บัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่ง
กำนัน ผู้ใหญ่ บ้านหรือแพทย์ประจำตำบลแล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถ
ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
*[วรรคหนึ่งของมาตรา12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
ในการทำนิติกรรมของสภาตำบลให้ประธานสภาตำบล เลขานุการสภาตำบล และสมาชิกสภาตำบลอีกหนึ่งคน ร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนสภาตำบล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
ส่วนที่ 3 รายได้และรายจ่ายของสภาตำบล
เมื่อสภาตำบลจัดทำร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเสร็จแล้วให้เสนอนายอำเภอเพื่ออนุมัติ
ถ้าข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีใหม่ให้ใช้ ข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีก่อนนั้นไปพลางก่อน
ในการออกระเบียบตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้คำนึงถึงลักษณะของพื้นที่จำนวนประชากรรายได้ความคล่องตัวและความมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ของสภาตำบลด้วย
ส่วนที่ 4 การกำกับดูแลสภาตำบล
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการดำเนินการของสภาตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งการให้สภาตำบลระงับการดำเนินการดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการดำเนินการของสภาตำบล เป็นไปโดยชอบแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเพิกถอนการยับยั้งของนายอำเภอ
แต่ถ้านายอำเภอไม่รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยับยั้งหรือผู้ว่าราชการจังหวัดไม่วินิจฉัยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
ให้การยับยั้งของนายอำเภอ และอำนาจสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
หมวด 2 องค์การบริหารส่วนตำบล
การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของสภาตำบลตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทยและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
*[มาตรา41 ทวิเพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
*[มาตรา 41 ตรี เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
*[มาตรา41 จัตวาเพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
บรรดางบประมาณทรัพย์สินสิทธิสิทธิเรียกร้องหนี้พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่ง
ให้โอนไปเป็นของเทศบาลที่จัดตั้งขึ้นนั้น
บรรดาข้อบังคับตำบลที่ได้ใช้บังคับในเรื่องใดอยู่ก่อนแล้วให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการตราเทศบัญญัติในเรื่องนั้นขึ้นใหม่
ส่วนที่ 1 สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน
หกคน และในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงสองหมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวนหมู่บ้านละสามคน
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น อายุของสภา องค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
*[มาตรา 45 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
*[มาตรา 47 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
*[มาตรา47ทวิเพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
เมื่อมีกรณีสงสัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม(4)(5)(6)หรือ(7) ให้นายอำเภอสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว
คำวินิจฉัยของนายอำเภอให้เป็นที่สุด ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม(8) ผู้นั้นอาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งมติของ
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีมติโดยระบุ ข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือ
ข้อกฎหมายประกอบด้วยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว ในกรณีดังกล่าวยังไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา14 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ตามมาตรา 47 จนกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้มีคำวินิจฉัยแล้ว ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงตาม(9) พร้อมกัน ให้ถือว่าเป็นการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
*[มาตรา 47 ตรี เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
เมื่อประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่อยู่ในที่ประชุมให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาประชุมเลือกกันเองเป็นประธาน
ในการประชุมคราวนั้น
สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ
สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกินสิบห้าวันแต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา58*คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยประธานกรรมการบริหารคนหนึ่งและกรรมการ
บริหารจำนวนสองคนซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วเสนอให้นายอำเภอแต่งตั้งให้ปลัดองค์การบริหารส่วน
ตำบลเป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหาร
การประชุมและการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
*[มาตรา58แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่3)พ.ศ.2542]
มาตรา 59 คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
มาตรา 60 ให้ประธานกรรมการบริหารเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ประธานกรรมการบริหารหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการบริหารแต่งตั้งกรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด แต่งตั้งให้
ประธานกรรมการบริหาร
เป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับประธานกรรมการบริหารใน
ระหว่างรักษาราชการแทนด้วย
มาตรา 61* [ยกเลิกความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 62* [ยกเลิกความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 63* [ยกเลิกความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 64* กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
มาตรา 64 ทวิ* นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 64 แล้ว ความเป็นกรรมการบริหาร สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
มาตรา 65 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและกรรมการ
บริหารเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 66องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
มาตรา 68ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
มาตรา 69 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 68 นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย
มาตรา 70 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้องค์การ
บริหารส่วนตำบลมีสิทธิ
ได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่า
เป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
มาตรา 71 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบังคับตำบลเพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่
ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินห้าร้อยบาท
*ร่างข้อบังคับตำบลจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะกรรมการบริหาร หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือราษฎรในเขตองค์การ
บริหารส่วนตำบลตามกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายอำเภอให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบลตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการบริหารลงชื่อ
และประกาศเป็นข้อบังคับตำบลต่อไป
ในกรณีที่นายอำเภอไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบังคับตำบลใด ให้ส่งคืนสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายอำเภอได้รับ
ร่างข้อบังคับตำบลดังกล่าว เพื่อให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาทบทวนร่างข้อบังคับตำบลนั้นใหม่ แต่ถ้าเป็นร่างข้อบังคับตำบลที่กำหนดให้มีโทษ
ปรับตามวรรคหนึ่ง เมื่อนายอำเภอไม่เห็นชอบด้วย ให้ร่างข้อบังคับตำบลนั้นเป็นอันตกไป
เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาทบทวนร่างข้อบังคับตำบลตามวรรคสี่แล้ว มีมติยืนยันตามร่างข้อบังคับตำบลเดิมด้วยคะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ประธานคณะกรรมการบริหารลงชื่อและประกาศเป็น
ข้อบังคับตำบลได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากนายอำเภอ แต่ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ยืนยันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่าง
ข้อบังคับตำบลคืนจากนายอำเภอหรือยืนยันด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ให้ร่างข้อบังคับตำบลนั้นเป็นอันตกไป
*[วรรคสองของมาตรา 71 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 72 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีพนักงานส่วนตำบลและอาจจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น
มาตรา 73 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หรือร่วมกับสภาตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ทั้งนี้
เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน
ส่วนที่ 4รายได้และรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 74* ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์ และค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ทั้งนี้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลใด เมื่อได้มีการจัดเก็บตามกฎหมาย
ว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการบริหารมีอำนาจ
และหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจและหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่และกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และให้คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจพิจารณาชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ในเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมอบอำนาจและหน้าที่ดังกล่าว
ให้หน่วยงานอื่นของรัฐดำเนินการแทนก็ได้ และให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดในมาตรา 81
*[มาตรา 74 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 75 ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในจังหวัดใด ให้จัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา 76องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบังคับตำบลเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกิน ร้อยละสิบของภาษีอากรและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท ดังต่อไปนี้
มาตรา 77* รายได้จากค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล เงินอากร ประทานบัตร
ใบอนุญาตและอาชญาบัตรตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ค่าภาคหลวง และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่เก็บในองค์การบริหารส่วนตำบลใด ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
*[มาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 78 ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วย ปิโตรเลียม ทั้งนี้ ในองค์การบริหารส่วนตำบลใด เมื่อได้มีการจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้จัดสรรให้แก่องค์การบริหาร ส่วนตำบลนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 79เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติในองค์การบริหารส่วนตำบลใด ให้แบ่งให้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 80 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบังคับตำบลเพื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้กำหนด เป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
มาตรา 81 องค์การบริหารส่วนตำบลจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือ ค่าธรรมเนียม เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวงกรมนั้นส่งมอบให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 82 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 83 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล การกู้เงินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 84 รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลรัษฎากร
มาตรา 85 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
มาตรา 86 เงินค่าตอบแทนประธานกรรมการบริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการ สภาองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการบริหาร และเลขานุการคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 87 งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การบริหารส่วนตำบล
ให้จัดทำเป็นข้อบังคับ และจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะกรรมการบริหารตามระเบียบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
ถ้าในระหว่างปีงบประมาณใด รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้ในงบประมาณไม่พอใช้จ่ายประจำปีนั้น หรือมีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่
ระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทำข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้ว
ให้เสนอนายอำเภอเพื่อขออนุมัติ ถ้านายอำเภอไม่อนุมัติ ให้นายอำเภอส่งคืนให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพิจารณาทบทวนร่างข้อบังคับนั้นใหม่
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับดังกล่าว
ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีมติยืนยันตามร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมให้นายอำเภอ
ส่งร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลแจ้งมติยืนยัน
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งไปยังนายอำเภอเพื่อลงชื่ออนุมัติ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเป็นอันตกไป
ในการพิจารณาร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำป ีหรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องพิจารณา
ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับนั้น เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
ให้ถือว่าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการบริหารเสนอและให้ดำเนินการตามวรรคสามต่อไป
ถ้าข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้ข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีก่อนนั้นไปพลางก่อน
มาตรา 88ระเบียบว่าด้วยการคลัง การงบประมาณ การโอน การจัดการทรัพย์สิน การซื้อ การจ้าง ค่าตอบแทน และค่าจ้าง ให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานอื่น ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลให้องค์การบริหารส่วนตำบลต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ในการออกระเบียบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ ความคล่องตัวและความมีประสิทธิภาพในการบริหารงานของ
องค์การบริหารส่วนตำบลด้วย
มาตรา 89 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 37 มาใช้บังคับกับการตรวจสอบการคลัง การบัญชี หรือการเงินอื่น ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วยโดยอนุโลม
ส่วนที่ 5 การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 90 ให้นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของทางราชการในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามวรรคหนึ่ง ให้นายอำเภอมีอำนาจเรียกสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบล กรรมการบริหาร พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลมาชี้แจงหรือสอบสวน ตลอดจนเรียก รายงานและเอกสารใด ๆ จากองค์การบริหารส่วนตำบลมาตรวจสอบได้
มาตรา 91* เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประโยชน์ของประเทศ
เป็นส่วนรวม นายอำเภอจะรายงานเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและ
ให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย
เมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือถือว่ามีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นใหม่ภายในสี่สิบห้าวัน
*[มาตรา 91 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 92* หากปรากฏว่าคณะกรรมการบริหารกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพ
ของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งให้คณะกรรมการบริหารทั้งคณะหรือ
กรรมการบริหารบางคนพ้นจากตำแหน่งได้ตามคำเสนอแนะของนายอำเภอ ในกรณีนี้ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการเลือกสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นกรรมการบริหารใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่ง
*[วรรคสองของมาตรา 92 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
บทเฉพาะกาล
มาตรา 93 ให้ถือว่าบรรดากรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เฉพาะที่อยู่ในเขตตำบลตาม พระราชบัญญัตินี้เป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 หรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 94 บรรดาบทกฎหมายใดที่อ้างถึงกรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิให้หมายถึงสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับ เลือกตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 95 สภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13
ธันวาคม
พ.ศ. 2515 ใด มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อสภาตำบลที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างดำเนินการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่ง มิให้นำมาตรา 6 มาใช้บังคับแก่ตำบลดังกล่าว
และให้สภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจนถึงวันที่มีการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรก
เมื่อจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้โอนบรรดาสิทธิในงบประมาณหรือเงินอุดหนุน ทรัพย์สิน สิทธิ
สิทธิเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม
พ.ศ. 2515 ไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งขึ้นนั้น
ในวาระเริ่มแรกเป็นเวลาสี่ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมิให้นำความในมาตรา 58 วรรคสอง มาใช้บังคับกับ
องค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่ง หรือตามพระราชบัญญัตินี้ และให้กำนันเป็นประธานกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บัญญัติ บรรทัดฐาน
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-ุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สภาตำบลซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำให้การบริหารงานไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน สมควรปรับปรุงฐานะของสภาตำบล
และการบริหารงานของสภาตำบลเสียใหม่ ให้สามารถรองรับการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการยกฐานะสภาตำบล
ซึ่งมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
หมายเหตุ:-ุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติ
ในเรื่องอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล และของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ
บริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2538/48ก/1/28 พฤศจิกายน 2538]
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
บทเฉพาะกาล
มาตรา 22ในวาระเริ่มแรกเป็นเวลาสี่ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมิให้นำ บทบัญญัติมาตรา 47 ทวิ (2) เฉพาะลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 9 (6) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 9 (6) ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ก็ให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 9 (6) นับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา 23 บรรดาสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและกรรมการบริหารซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่งว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ไม่ต้องดำเนินการเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
และให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งว่างลงตามวรรคสอง และเป็นประธานกรรมการบริหารหรือกรรมการบริหารด้วย
ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอยู่เป็นประธานกรรมการบริหารหรือกรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลงให้ประธานกรรมการบริหารหรือกรรมการบริหารซึ่งได้รับการเลือกขึ้นแทนนั้นดำรงตำแหน่งได้เท่าวาระ
ที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 24ในกรณีที่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นสมาชิกโดยตำแหน่งพ้นจากสมาชิกภาพ ไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ และบรรดากิจการที่สภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลดังกล่าวได้กระทำไปในอำนาจหน้าที่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีผลใช้บังคับได้
มาตรา 25ในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำ
กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยอนุโลมทั้งนี้ ให้อำนาจหน้าที่ของ
ผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ และยกเว้นไม่ต้องเรียกเก็บเงินประกัน
การสมัคร
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 45 ให้ถือเขตหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นเขตเลือกตั้ง ใบสมัครและบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา 26 องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเหตุจะต้องยุบและรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหรือหน่วยการบริหารราชการ
ส่วนท้องถิ่นตามมาตรา 41 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัตินี้
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามมาตรา 41 จัตวา ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ได้วางหลักการจัดองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักการปกครองตนเองยิ่งขึ้นและให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น สมควร
จัดระเบียบบริหารราชการท้องถิ่นระบบองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2542/40ก/1/20 พฤษภาคม 2542]