LAN
แม่แบบของระบบเน็ตเวิร์คและการประยุกต์เครือข่ายท้องถิ่น
ระบบเครือข่ายท้องถิ่นมีการพัฒนามาเป็นระยะเวลานานแล้วโดยเฉพาะในต่างประเทศ
แต่ในประเทศไทยนั้น ระบบเครือข่ายได้รับความสนใจอย่างแท้จริงหลังจากต่างประเทศเป็นเวลานานพอสมควร อย่างไรก็ตามปัจจุบันระบบเครือข่ายท้องถิ่นได้ขยายสาขาออกหลากหลาย เรียกชื่อแตกต่างกันไป จากชื่อเดิมที่รู้จักกันในชื่อว่า
เครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมาจาก LAN (Local area Network) ยังมีใช้งานกันอยู่ ได้พัฒนากลายเป็นระบบอินทราเน็ต (Intranet) หรือบางครั้งอาจจะได้ยินการทำงานแบบกลุ่ม (Workgroup Computing) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล (Virtual Private Network) ทั้งหมดนั้นอยู่บนพื้นฐานของเครือข่ายแบบท้องถิ่นทั้งสิ้น และถ้ามองง่าย ๆ ชื่ออื่นที่ถูกกำหนดขึ้นมานั้น เกิดจากการประยุกต์เครือข่ายแบบท้องถิ่นเกือบทั้งหมด เป็นการประยุกต์ใช้งานและเรียกชื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานมากขึ้น ชื่อของเครือข่ายท้องถิ่นถูกกลืนไปทีละน้อยอย่างไรก็ตาม เมื่อต้องการอ้างถึงแนวคิดการออกแบบ และการพัฒนาจำต้องเรียกหรืออ้างถึงเครือข่ายท้องถิ่นเสมอ นอกจากการประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้ว ส่วนที่เป็นสาระของเครือข่ายแบบท้องถิ่น หรือระบบ LAN จริง ๆ ก็คือ องค์กรต่าง ๆ ต่างก็พัฒนาระบบเครือข่ายของตัวเองให้มีประสิทธิภาพและมีสมรรถนะสูงยิ่งขึ้นและผู้ผลิตทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างก็พัฒนา
ให้ผลิตภัณฑ์มีอรรถประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้นข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ นับวันเครือข่ายท้องถิ่นของแต่ละองค์กร
หรือแต่ละบริษัท เริ่มวิ่งเข้าร่วมกับเครือข่ายอภิมหาเน็ตเวิร์ค หรืออินเตอร์เน็ตมากขึ้น ในระดับพื้นฐานนั้น ให้ใช้งานอีเมล์ให้เครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่องสามารถเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ และในระดับสูงขึ้นไปบางองค์กรมี การพัฒนาเครื่องมือให้พนักงานที่ไม่ได้ปฏิบัติการในสำนักงานสามารถติดต่อกับองค์กรนั้นได้

ขอบเขตของเครือข่ายท้องถิ่นที่กว้างมากขึ้น

คำจำกัดความง่าย ๆ ของเครือข่าย คือ การนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง พรินเตอร์ หน่วยจัดเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นเทป ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม แผ่นเก็บข้อมูลชนิดอ่านด้วยแสง (Magical Optic) สแกนเนอร์ มาต่อรวมด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการจัดการ การกำหนดนโยบายในการใช้งาน ทำให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพราะสามารถแบ่งปันกันใช้งานได้ เช่น แทนที่สำนักงานหนึ่งมีพรินเตอร์เพียงสองเครื่อง แต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 25 เครื่อง พนักงาน 30 คน เมื่อใช้ระบบเครือข่าย
ก็เหมือนกับทุก ๆ คนมีพรินเตอร์ใช้งานเหมือนกันนอกจากนี้ในระดับของซอฟต์แวร์ก็สามารถแบ่งซอฟต์แวร์กันใช้งาน
และด้านข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลหรือข้อมูลทั่วไปก็นำมาใช้งานร่วมกันได้ เป็นที่มาของคำว่า Workgroup Computing ในที่สุด
เมื่อกล่าวถึงระบบเครือข่ายแบบท้องถิ่น (Local Area network) นั้นก่อนที่จะกล่าวถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดอย่างอื่นต่อไป ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า "เครือข่ายแบบท้องถิ่น" นั้นควรมีขอบเขตแค่ไหน คำจำกัดความในหนังสือบางเล่มกล่าวว่า คือ ระบบเครือข่ายที่ใช้กันภายในอาคารเดียวกัน หรือละแวกใกล้เคียงกัน โดยการเชื่อมโยงสายถึงกัน ซึ่งขอบเขตดังกล่าวอาจจะนำมาใช้กับปัจจุบันไม่ได้ เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีของเครือข่ายปัจจุบันนั้น ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นที่นิยมและนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย อาจจะเป็นไปได้ว่า ร้านขายของชำประเภทเปิดบริการ
ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ บริการอาหารฟาสต์ฟู๊ดที่เปิดบริการแบบการให้สิทธิในการจำหน่ายในลักษณะของแฟรนไชน์ (Francine) ซึ่งมีหลายสาขาบางรายอาจประยุกต์ระบบเครือข่ายมาใช้ โดยเครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่องนั้นตั้งอยู่ที่สาขาแต่ละแห่ง ซึ่งอยู่คนละมุมเมือง ต่อเข้ายังเครื่องแม่ข่ายที่อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่ถูกกำหนดว่าเป็นศูนย์ควบคุมและปฏิบัติการซึ่งโดยภาพรวมในกรณีแล้ว ระบบดังกล่าวไม่ได้อยู่ในอาคารเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่อยู่คนละมุมเมือง แต่ต่อเชื่อมกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น
ไม่ได้เป็นเครือข่าย WAN (Wide Area network) สิ่งที่จะทำให้มองเห็นภาพความแตกต่างระหว่างเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN)
กับเครือข่ายแบบ WAN (Wide Area network) ในที่นี้ คือ อาจจะมองว่าถ้าหากเป็น LAN แล้ว ไม่ว่าระบบจะอยู่คนละอำเภอ หรือคนละจังหวัดก็ตาม แต่ระบบเครือข่ายบริหารโดยนโบายเดียวกัน หรือผู้บริหารเครือข่ายที่เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดทำระบบเครือข่ายสำหรับผู้บริหาร โดยการประยุกต์ MIS เข้ามาใช้งาน ให้ผู้บริหารแต่ละสาขาสามารถเรียกเข้าดูข้อมูลที่เครื่องแม่ข่ายซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้ กรณีนี้การบริหารเครือข่ายอยู่ในระดับนโยบายเดียวกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างบริหาร กรณีเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นเครือข่ายท้องถิ่นได้เช่นกัน
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงเครือข่ายท้องถิ่น บางครั้งต้องอนุโลมว่า ระบบไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ในที่เดียวกันแต่อาจจะอยู่คนละภาคก็ยังได้ แต่ให้มีระบบและนโยบายการบริหารทั้งหมดเป็นนโยบายเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นเครือข่ายแบบท้องถิ่นได้ โดยส่วนใหญ่ระบบเครือข่าย LAN นั้นมักมีบริษัทเดียวหรือกลุ่มองค์กรเดียวเป็นเจ้าของระบบ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวแยกสาขาออกไปมากมาย จึงต้องมีการขยายระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะเครือข่ายด้วย แต่ในแง่ของแนวคิดในการบริหารระบบแล้ว เสมือนออกจากศูนย์กลางเพียงหนึ่งเดียว

เครือข่ายเชื่อมกับระบบโทรคมนาคม

พัฒนาการของระบบเครือข่ายแบบท้องถิ่นที่เกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งคือ การนำเอาระบบโทรคมนาคมเข้ามาใช้งานด้วย เช่น การนำ ISDN เข้ามาประยุกต์เป็นช่องทางในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของสายสัญญาณของเครือข่าย ทำให้ไม่สามารถวางสาย UTP จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่
หรือวางสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) จากกรุงเทพฯ ไปสงขลาได้ ดังนั้นจึงต้องใช้การสื่อสารเข้าช่วย บางองค์กรประยุกต์โดยการตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้แต่ละสาขาและเชื่อมโยงเข้าสู่สำนักงานใหญ่ด้วย ISDN เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ พบทั้วไปในองค์กรต่าง ๆ ที่มีสาขากระจายอยู่ตามภูมิภาค และมีปริมาณเพิ่มขึ้น

เครือข่ายท้องถิ่นในโลกพีซี

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือจะเรียกว่าพีซีนั้น ได้รับการพัฒนาทั้งจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ให้ต่อเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายท้องถิ่นหรือ LAN ได้โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อน ก็สามารถต่อเชื่อมได้ ด้วยการ์ดเครือข่าย (NIC - Network Interface Card) คอนเน็คเตอร์หรือหัวต่อที่เหมาะสม กับการ์ด และสายสัญญาณที่เหมาะสม ใช้เวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง คอมพิวเตอร์แบบธรรมดากลายเป็นเครื่องในระบบเครือข่าย
Peer-to-Peer ไปอย่างเรียบร้อยแล้ว นั้นคือ ทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
ให้ เอื้อประโยชน์ต่อการต่อเชื่อมเป็นระบบเครือข่าย ทำไมผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จึงร่วมกันพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีคุณสมบัติเอื้ออำนวยต่อการต่อเชื่อม
ระบบเครือข่าย คำตอบคือ เป็นไปตามแนวโน้มของเทคโนโลยี และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายทำให้เกิดองค์กรประเภท Paperless คือ ไร้กระดาษ แทนที่จะต้องส่งเอกสารที่พิมพ์
บนกระดาษหมุนเวียนกันไปมา ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ประสิทธิภาพของงานยังเพิ่มขึ้นในขณะที่ใช้เวลาสำหรับงานต่าง ๆ น้อยลงขณะเดียวกันองค์กรธุรกิจเองก็ต้องการหน่วยสนับสนุนที่เป็นสารสนเทศ ที่ปฏิบัติการได้รวดเร็วถูกต้อง และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพด้วย นอกจากนี้แนวความคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม หรือที่เรียกว่า Workgroup Computing นั้นได้รับความสนใจ และรับรองว่าประสิทธิภาพขององค์กรจะเพิ่มขึ้น Windows 3.11 for Workgroup เป็นซอร์ฟแวร์กึ่งระบบปฏิบัติการตัวแรกที่สนับสนุนการต่อเชื่อมเครือข่าย Windows 95, Window 98 ของไมโครซอร์ฟ
ในลำดับต่อมานั้น สนับสนุนการต่อเชื่อมเป็นเครือข่ายตั้งแต่ระดับการออกแบบพื้นฐาน ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวความคิดหรือการเติบโตของเทคโนโลยีเครือข่ายเป็นอย่างดี
สำหรับที่ทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ พนักงานอาจจะต้องการแบ่งปันแฟ้มข้อมูลกันการก๊อปปี้ข้อมูลใส่แผ่นฟล๊อปปี้ หรือการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์แล้วนำไปให้อีกคนหนึ่งอ่านทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเสียเวลาเพิ่มขึ้นหรือการที่จะต้องเข้าคิวเพื่อรอพิมพ์เอกสารจากเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ก็ทำให้ขาดประสิทธิภาพโดยเฉพาะในเวลาที่ต้องการพิมพ์งานเร่งด่วน การถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากกว่า 100 เมกะไบต์ ไปฝากไว้ที่เครื่องของเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่งทำได้ยากนอกจากใช้ความรู้เทคนิคไปถอดฮาร์ดดิสก์มา แต่เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่าย สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นคุณลักษณะขั้นพื้นฐานที่ระบบเครือข่ายรองรับ

การประยุกต์ที่หลากหลายเพื่อการใช้งานเครือข่าย

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยแนวคิดแล้ว "ระบบเครือข่าย" มีแนวคิดคือ ทำอย่างไรให้สามารถนำอุปกรณ์มาต่อเชื่อมกัน ในระดับคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เอง ก็ใช้งานพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือใช้งานแอพพลิเคชันร่วมกัน หรือในระดับอุปกรณ์ต่อพ่วง ก็สามารถทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงใช้งานได้กับทุก ๆ คน
สิ่งที่เหมือนกันในทุก ๆ เครือข่ายคือ ต้องมีระบบการเดินสาย ซึ่งมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แก่ สายสัญญาณ ชุดกล่องรวมสัญญาณ (HUB) การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) และซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนระบบเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดนั้นถูกเปรียบเหมือนกระดูกสันหลัง (Back Bone) ซึ่งหน้าที่หลักคงไม่แตกต่างจากกระดูกสันหลังจริง ๆ เท่าไรนัก เพราะทำหน้าที่ในการค้ำจุน แยกแยะสัญญาณ ควบคุมงานและให้โครงร่างแก่ระบบเครือข่าย
ข้อแตกต่างของระบบเครือข่ายแต่ละแห่งคือ วิธีการใช้งานเนื่องจากงานเครือข่ายนั้น ก็เหมือนกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจ ธุรกิจซึ่งขายหุ้นก็ย่อมมีลักษณะและความต้องการของตัวเองอย่างหนึ่ง ธุรกิจการเงินการธนาคารก็อีกอย่างหนึ่ง หรือธุรกิจการบริการ เช่น บริการสายการบิน โรงแรม เหล่านั้นก็มีความต้องการของตัวเองเฉพาะ เมื่อจะกำหนดหรือวางระบบเครือข่าย สิ่งที่ผู้วางระบบต้องทราบก็คือ ต้องการอะไร และทำอย่างไรจึงจะเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองได้

องค์ประกอบของระบบเครือข่าย

1. Back Bone หรือกระดูกสันหลัง ได้แก่ อุปกรณ์ต่อเชื่อมและควบคุมการกระจายสัญญาณ เปรียบเสมือนระบบควบคุมประสาทในร่างกายมนุษย์ ได้แก่ เราต์เตอร์ (Routher) กล่องรวมสาย (Hub) กล่องแยกสลับสัญญาณ (Switching) และเครื่องแม่ข่ายซึ่งเป็นเสมือนหัวใจหลัก ใน Back Bone
2. สายสัญญาณ (Cabling) เปรียบกับร่างกายมนุษย์ก็เหมือนเส้นเลือดนำเอาเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบเครือข่าย สายสัญญาณจะนำสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายและแม่ข่ายหรือระหว่างลูกข่ายด้วยกันมาต่อเชื่อมกัน
3. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) ทำหน้าที่เป็นวงจรล่าม คอยส่งและแปลสัญญาณ โดยเป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อตกลงร่วมกัน เรียกว่าโปรโตคอสการ์ด เครือข่ายที่มีความสามารถมาก ๆ จะทำหน้าที่แยกแยะและควบคุมการส่งสัญญาณได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพด้วย
4. ซอฟต์แวร์สนับสนุนระบบเครือข่าย ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงทั้งสามภาคข้างบนที่กล่าวมานั้น ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายได้ ซึ่งซอฟต์แวร์นั้น จะดำเนินการควบคุมในระดับพื้นฐานคือ ฮาร์ดแวร์ตลอดไปจนถึงระบบซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่จะส่งข้อมูลถึงกันและกัน ซึ่งการทำงานในขั้นตอนดังกล่าวนั้น เป็นไปตามระดับชั้นของข้อตกลงที่เรียกว่าโปรโตคอล

เรื่องนี้ยังมีต่อ
เรื่องราวต่าง ๆ ของระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนแรก

Back